สรุปมติที่ประชุม กสทช. 24/2554

รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 24/2554
วันพุธที่ 10 สิงหาคม 2554  เวลา  09.30  น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12  อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

 
1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์          ประพิณมงคลการ      ประธานกรรมการ
2.  รองศาสตราจารย์สุธรรม       อยู่ในธรรม              กรรมการ
3.  นายสุรนันท์                       วงศ์วิทยกำจร           กรรมการ
4.  พันเอก นที                        ศุกลรัตน์                 กรรมการ 
5.  รองศาสตราจารย์พนา          ทองมีอาคม              กรรมการ
6.  นายฐากร                          ตัณฑสิทธิ์               รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการกสทช. 

เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.
1.  นายอารักษ์                  โพธิทัต                       ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักการประชุมและเลขานุการ
2.  นางดวงเดือน                เสวตสมบูรณ์                ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการและติดตามประเมินผล
3.  นายบุญยิ่ง                   โหมดเทศน์                  ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนมติและรายงานการประชุม
4.  นางอรุณ                      วงศ์ศิวะวิลาส                ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนงานวาระการประชุม
5.  นางสาวจิรประภา            สุดสาคร                      ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
6.  นางสาวสุภาวดี               สดศรี                         ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
7.  นางสาวจุฑาสินี              คำบำรุง                       ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
8. นางสาวณัฐจิรา                ขันทอง                       ปฏิบัติหน้าที่พนักงานปฏิบัติการประจำส่วนงาน กทช.สุธรรมฯ

ผู้ชี้แจง
1.  นายดำรงค์                    วัสโสทก                      ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ
2.  พันเอกสมมาส                สำราญรัตน์                  สำนักกิจการกรรมการ
 
ระเบียบวาระที่  1  :   เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่  1  :   เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
 
1.   Mr.Toshiyuki Yokota  Director-General for International Affairs Global ICT Strategy Bureau ของกระทรวง Ministry of Internal Affairs and Communications (MIC) มีหนังสือแจ้งมาว่า ประเทศญี่ปุ่นได้ผ่านการ Switch-over ของ Terrestrial Television Broadcasting อย่างสมบูรณ์จากระบบ Analog เป็นระบบ Digital  Broadcasting ทั้งหมดแล้ว ตามรายละเอียดของเอกสารที่แจกในที่ประชุม โดยสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามแผนเดิมที่วางไว้ได้ แม้จะเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวคือในวันที่ 24 กรกฎาคม 2554 ดังปรากฏตามที่ระบุไว้ในเอกสารหน้าที่ 2 คงยกเว้นแต่เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้นที่ถูกกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ก็ยังไม่ Switch-over ทีเดียวนัก แต่ในพื้นที่อื่นก็ Switch-over หมด โดยมีผู้ใช้ถึง 120 ล้านคน
2.  จะมีการจัดสัมมนาเรื่อง ICT Deployment โดยเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ Professor Hitoshi Mitomo ประเทศญี่ปุ่น กับ Professor Erik Bohlin มหาวิทยาลัย Chalmers University ประเทศสวีเดน โดยมีระยะเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2554
3.  เรื่องข้อตกลงที่เคยลงนามร่วมกับมหาวิทยาลัยวาเซดะ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการด้าน ICT โดยเฉพาะทางด้าน Media  จะมีการจัดสัมมนาขึ้นในวันที่ 7 กันยายน 2554 ซึ่งจะมีการสาธิต (Demonstration) IPTV แก่แขกรับเชิญ คิดว่าท่าน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ทุกท่าน คงได้รับเชิญ สำหรับเรื่อง IPTV ที่จะมีการนำมาสาธิต (Demonstration) ที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 8 กันยายน 2554 ก็จะมี Forum และมีการแสดงสาธิตด้วย ทั้งนี้ โดยได้เชิญวิทยากรจากทางฮิตาชิ และจากทางกลุ่มสุมิโตโมเข้าร่วมด้วย รวมทั้งจะมีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยมาเข้าร่วม สำหรับสถานที่จัดงานนี้ คือที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หาก กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ท่านใดมีเวลาก็ขอเชิญเข้าร่วมด้วย
4.  นอกจากนี้ ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. (นายฐากรฯ) ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงกำหนดการพิธีลงนามถวายพระพรในวันพรุ่งนี้เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถประจำปี 2554 จึงขอเรียนเชิญท่านประธานฯ และ กสทช. ทุกท่าน ในเวลาประมาณ 09.30 น. โดยจะมีประธาน กสทช. , กสทช. และท่านรองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมลงนามถวายพระพรในครั้งนี้ รวมทั้งจะมีการแจกต้นกล้าไม้ให้กับประชาชนทั่วไปด้วย         
มติที่ประชุม  รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และรับทราบกำหนดการพิธีลงนามถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถประจำปี 2554 ในวันที่ 11 สิงหาคม 2554 เวลาประมาณ 09.30 น. ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. (นายฐากรฯ) รายงานต่อที่ประชุม
ระเบียบวาระที่   2  :   เรื่องรับรองรายงานการประชุมรับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 23/2554 วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2554
ระเบียบวาระที่   2   :   เรื่องรับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 23/2554 วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2554

มติที่ประชุม   รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่  23/2554 วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ  โดยหาก กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ท่านใดมีข้อแก้ไข ขอให้แจ้งสำนักงาน กสทช.เพื่อแก้ไขภายใน 3 วัน หากพ้นกำหนดแล้วไม่มี กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ขอแก้ไข ให้ถือว่ารับรอง
ระเบียบวาระที่  3  :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 23/2554 วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2554
ระเบียบวาระที่  3  :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 23/2554 วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2554
 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่  23/2554 วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา  
กลุ่มเรื่องที่ กทช. เสนอ
4.1     การปฏิบัติตามมาตรา 79 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553: กทช.สุธรรม, กม.
4.2     การจัดทำไปรมาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นสำหรับการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
 : กทช.สุธรรม
4.3     การจัดการประชุม ITS Asia-Pacific Regional Conference : กทช.สุธรรม
4.4     การจัดทำดีวีดีสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พลิกตำนานสยาม” : กทช.สุธรรม
4.5     ข้อติดขัดในการออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมสำหรับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและสถานทูต การอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม : กทช.พนา
4.6     แนวทางการพิจารณาเรื่อง MVNO : กทช.สุธรรม
กลุ่มเรื่องที่สำนักงานฯ เสนอ          
กลุ่มเรื่องกฎหมาย
4.7     การขอลดค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่ม (มูลนิธิระนองสงเคราะห์) : กม.
กลุ่มเรื่องใบอนุญาต     
ก. การขอรับใบอนุญาต/การขอขยายระยะเวลา
4.8     รายงานผลการดำเนินการและขอขยายระยะเวลาในการเปิดให้บริการของ บริษัท ดีแทค อินเตอร์เนต เซอร์วิส จำกัด : ปก.
4.9     บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตให้บริการต่อโดยไม่ยกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง (บริการ medium-MVNO) : ปก.
4.10   การขอขยายระยะเวลาการใช้บริการโครงข่ายระบบ GSM 900 MHz เพื่อให้บริการโทรศัพท์ทางไกลชนบทระบบ Wireless Local Loop : WLL ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.11   การขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ ย่าน 470 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  : ปก.
4.12   บริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่นส์ แอนด์ เซลส์ จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการสำหรับบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง : ปก.
4.13   บริษัท สยามเทเลคอมแอคเซส จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO : ปก.
4.14   การขออนุญาตกรณีการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันของบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ถือครองหุ้นในบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด : ปก.
4.15   บริษัท ดิจิตอล รีเสิร์ซ แอนด์ คอนซัลทิ่ง จำกัด ขออนุญาตประกอบกิจการ โทรคมนาคมเพิ่มเติมโดยใช้คลื่นความถี่ 400 MHz สำหรับให้บริการ วิทยุคมนาคม : ปก.
4.16   การปรับปรุงเงื่อนไขการอนุญาตบริการ MVNO : ปก.
4.17   บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเอง สำหรับให้บริการ VSAT : ปก.
ข. เรื่องอื่นๆ
4.18   ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายในการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมของบริษัท เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำกัด : ปก.
4.19   วิธีการคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม : ปก.
4.20   การปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต : ปก.
4.21   หลักเกณฑ์การนำรายการ CDMA DATA Content มาขอหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม : ปก.
4.22   โครงการเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอ่าวไทย ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.23   บริษัท ดิจิตอล รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลทิ่ง จำกัด ขอให้ช่วยสนับสนุนผู้ให้บริการโทรคมนาคมในพื้นที่อ่าวไทย : ปก.
4.24   ความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ... : ปก., กม.          
4.25   การให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ย่านความถี่ 800 MHz และการขอปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ย่านความถี่ 800 MHz ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม : ปก.           
4.26   บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แจ้งความประสงค์ขอประกอบกิจการประเภทขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 800 MHz : ปก.
กลุ่มเรื่องการขอใช้ความถี่วิทยุ/ตั้งสถานีวิทยุ
4.27   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัท เอ็นเอ็นอาร์ โกลบอล โลจิสติคส์ (ประเทศไทย)) : ฉก.     
4.28   กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติโดยบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)ขอรับการจัดสรรความถี่วิทยุในกิจการนำทางทางการบิน เพื่อใช้งานกับเครื่องวิทยุช่วยเดินอากาศระบบ Non Directional Beacon (NDB) ติดตั้งใช้งาน ณ แท่นสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมของโครงการ “บงกช 4A” : ฉก.
4.29   บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุเดิม และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเดิมที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว : ฉก.
4.30   การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และยกเลิกใช้ความถี่วิทยุ (บริษัท น้ำตาลเกษตรไทย จำกัด และ บริษัท เกษตรไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล จำกัด) : ฉก.             
4.31   การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุและเครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท ขอนแก่น แอลกอฮอล์ จำกัด) : ฉก.
4.32   การจัดสรรคลื่นความถี่ทดแทนและยกเลิกการใช้ความถี่วิทยุ กรณีจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุซ้ำระหว่างสำนักราชเลขาธิการกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ และกรมการสื่อสารทหารกับสำนักงานศาลยุติธรรม : ฉก.
4.33   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท สยามกรกิจ จำกัด) : ฉก.
4.34   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท ฮัลลิเบอร์ตัน เอ็นเนอจี เซอร์วิสเซส อิงค์) : ฉก.
4.35   บริษัท เมอร์เมด ออฟชอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด ขอรับการจัดสรรความถี่วิทยุใน กิจการนำทางทางการบิน (AERONAUTICAL RADIONAVIGATION SERVICE) เพื่อใช้งานกับเครื่องวิทยุช่วยเดินอากาศระบบ Non-Directional Radio Beacon (NDB) ติดตั้งใช้งานบนเรือ เมอร์เมด เอเชียน่า (MERMAID ASIANA) : ฉก.
 4.36   การอนุญาตให้เอกชนใช้ความถี่วิทยุสำหรับข่ายสื่อสารเฉพาะกิจ (บริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด และบริษัท ก้าวหน้า เพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด) : ฉก.      
4.37   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอรับการจัดสรรความถี่วิทยุ X-Band และตั้งสถานีภาคพื้นดินดาวเทียม SMMS (Small Multi Mission Satellite) HJ-1A เพื่อ การวิจัย : ฉก.
4.38   การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ขอขยาย จำนวน 8 เส้นทาง) : ฉก.
4.39   การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz
(บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ขอขยาย จำนวน 3 เส้นทาง) : ฉก.
4.40   สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขออนุญาตจัดสรรคลื่นความถี่ C-band ตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน และรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม : ฉก.
4.41   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท ดุสิตแมนเนจเม้นท์ จำกัด) : ฉก.
4.42   การเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดในขณะที่ใบอนุญาตหมดอายุ : ฉก.            
4.43   บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุย่านไมโครเวฟ (Microwave Link) สำหรับใช้งานระหว่างศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศ ทุ่งมหาเมฆ กับศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศสุวรรณภูมิท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ : ฉก.
กลุ่มเรื่องการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม
4.44   การพิจารณาดำเนินการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ : กท.
4.45   ขออนุญาตควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด : พต.
4.46   ร่างระเบียบ กสทช. ว่าด้วยกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการงด หรือระงับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือ
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันประโยชน์สาธารณะ : กท.  
4.47   การรื้อถอนอุปกรณ์ DSLAM : กท.
กลุ่มเรื่องเลขหมาย
4.48   การพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอัตราที่เพิ่มขึ้น : กบ.,คกก.กำหนดค่าปรับทางปกครองฯ
4.49   การชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมตามประกาศ กทช.เรื่องหลักเกณฑ์การใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ สำหรับบริการเรียกออกต่างประเทศที่ใช้รหัสบริการ : กบ.
4.50   มาตรการทางกฎหมายกับบริษัท ทรู มูฟ จำกัด กรณีไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดการไต่สวนข้อเท็จจริงที่ 1/2553 : ลสทช., คกก.ศึกษาและกำหนดค่าปรับทางปกครองฯ
4.51   เงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ : กบ.      
กลุ่มเรื่องการบริหารงานของสำนักงานฯ
4.52   การดำเนินการกรณีพนักงานไม่สามารถเลื่อนเงินเดือนประจำปี 2554 เนื่องจากเงินเดือนเต็มขั้นสูงของตำแหน่ง หรือมีเงินเดือนใกล้เต็มขั้นสูงของตำแหน่ง : บค.
4.53    ข้อเสนอโครงการประเมินมูลค่าใบอนุญาตเทคโนโลยี 4G บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz ของประเทศไทย : ปธ.
4.54   การงดเข้าร่วมจัดนิทรรศการในงาน ITU TELECOM WORLD 2011: กร.
4.55   ความเห็นในหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าบริการสาขา Information and Communication Technology Service (ICT) : รศ.
4.56   รายงานผลการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ไตรมาส 4 ประจำปี 2553 และไตรมาส 1 ประจำปี 2554 : งป.
กลุ่มเรื่องวิศวกรรมและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
4.57   การดำเนินการตามความตกลง Mutual Recognition Arrangement (MRAs) สาขาโทรคมนาคม : กร., วท.
4.58    การเรียกคืนคลื่นความถี่ GSM 1900 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ตว.
4.59   การแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ จำนวน 2 ฉบับ : คณะอนุกรรมการมาตรฐาน กทช., วท.
กลุ่มเรื่องสิทธิแห่งทาง/USO
4.60    มาตรการช่วยเหลือการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ : ศฐ., ทถ., พต., สชท.
4.61   (ร่าง) แผนแม่บทการพัฒนาบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (พ.ศ. 2554 – 2558) : ทถ.
กลุ่มเรื่องกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
4.62   การทบทวนนโยบายในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : กส.
4.63   นโยบายดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 : กส.
4.64   โครงการทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน : กส.
4.65   การพิจารณาดำเนินการคัดเลือกพนักงานตามสัญญาจ้างเพื่อปฏิบัติงานด้านกิจการ วิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กส.
4.66   บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ขอให้พิจารณาออกใบอนุญาตให้นำเข้าอุปกรณ์เพื่อการทดลองและทดสอบอุปกรณ์โครงข่ายและอุปกรณ์ลูกข่าย สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ของ บมจ.
อสมท. ด้วยเทคโนโลยี BWA : สท.
กลุ่มเรื่องสถาบัน
4.67   การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี และการจ่ายค่าตอบแทนประจำปี 2552 ของผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ : คกก.กำกับการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ
4.68   งบการเงินของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 19 ธันวาคม 2553 : สนง.กองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ
4.69   การต่อสัญญาการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มภารกิจเลขานุการกองทุนฯ : บค.
4.70   การแต่งตั้งเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมและให้สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เป็นฝ่ายธุรการของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
: กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
4.71   การต่ออายุสัญญาการปฏิบัติงานของ นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม : สพท.
4.72   เงื่อนไขการให้บริการคงสิทธิเลขหมายมีลักษณะที่ขัดต่อกฎหมาย : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.73   โครงการพัฒนาศูนย์สาธิตอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคม สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (โครงการต่อเนื่อง) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ     
4.74   โครงการสนับสนุนการรับเรื่องร้องเรียนและพัฒนาศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ปี 2554 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.75   ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางและร่างหลักเกณฑ์การให้บริการเสริมผ่านมือถือเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกรบกวนและเพื่อการกำกับดูแล : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.76   ขอให้พิจารณาให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ทรงสิทธิร่วมในสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ชื่อ “System and Method for SSVEP Based Control of Electrical Device” : กลุ่มภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
 4.77   บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม                                                
กลุ่มเรื่องเสนอใหม่        
4.78   ผลการพิจารณาปัญหาการถือหุ้น การครอบงำกิจการ และการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยคนต่างด้าวที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคมสภาผู้แทนราษฎร : กม.
4.79   องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุเดิม จำนวน 3 สถานี ที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว : ฉก.
4.80   การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5.11 และ 15 GHz : ฉก.
4.81   บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สองที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง : ปก.
4.82   ขอหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สามของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.83   การกำหนดขอบเขตของการให้บริการเสียงผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ต (วาระต่อเนื่อง) : ปก.
4.84   การขอขยายระยะเวลาการอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ของ บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด (วาระต่อเนื่อง) : ปก.
4.85   การขอรับจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน UHF เพื่อทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน : กส.
4.86   ผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และ วิธีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการแก่ผู้ได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญา จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามพระราชบัญญัติ
การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และเรื่องหลักเกณฑ์การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของผู้ประกอบ กิจการที่ดำเนินการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. .... : กส.
4.87   การขออนุญาตทดลองเสริมจุดบอดการรับโทรทัศน์ในเขตกรุงเทพมหานครของบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) : สท.
4.88   รายงานผลการดำเนินงานของ สท. เกี่ยวกับละครเรื่อง “ดอกส้มสีทอง” : สท.
4.89   การร้องเรียนปัญหา SMS เข้าข่ายการพนัน : คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
4.90   การจัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วม กสทช. และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร เพื่อร่างหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสาร : ปธ.
4.91   การพิจารณาข้อเสนอของบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด ในการ ขอแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดในแบบสัญญการให้บริการโทรคมนาคม : กม.
4.92   ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 ราย อุทธรณ์คำสั่งแจ้งมติที่ประชุม กทช.ครั้งที่ 11/2553 : กม.
4.93   การขออนุมัติขยายเวลาศึกษาและลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้องของนายสุภพล  จรูญวณิชกุล : บค.
4.94   รายงานผลการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2554 : งป.
4.95   การนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายหรือแต่งตั้งหน่วยงานอำนวยการ ด้านโทรคมนาคมของประเทศไทย : กร.
4.96   การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับ การใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรกของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 (กพส. ครั้งที่ 11/2554) : คณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง, พต.
4.97   โครงการวิจัย (นำร่อง) ศูนย์ช่องจักษ์สู่สมองสำหรับผู้พิการทางการมองเห็นผ่าน การประยุกต์ใช้บนโครงข่ายโทรคมนาคมไร้สาย : ทถ.
4.98    แก้ไขชื่อผู้รับมอบเงินสนับสนุนการดำเนินงานขยายโครงการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) ไปสู่โรงเรียนวังไกลกังวล และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์จากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เป็น มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม : ทถ.
4.99    บจ.ทรู มูฟ ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานเพิ่มเติม : กบ.
4.100  บมจ.แอควานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานเพิ่มเติม : กบ.
4.101  บมจ.ทีโอที ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานเพิ่มเติม  : กบ.
4.102  บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานเพิ่มเติม : กบ.
4.103  โครงการนำร่องระบบวิทยุสื่อสารในภัยสงคราม มูลนิธิกระจกเงา : ฉก.
4.104  เงื่อนไขเฉพาะสำหรับใบอนุญาตแบบที่สาม การให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) (วาระต่อเนื่อง) : ปก.
4.105  การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม เพื่อให้บริการ IPLC และ บริการ IP-VPN ของ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.106  บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตเพิ่มเติมประเภทโครงข่ายเพื่อให้บริการวงจร สื่อสัญญาณความเร็วสูงภายในประเทศ (โครงข่ายไร้สายเทคโนโลยี WiFi) ตามที่ได้รับอนุญาตในใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง : ปก.
4.107  การสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่งของบริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด : ปก.
4.108  การขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ของ บจ.สวัสดีช้อป : ปก.
4.109  การขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ของ บริษัท เอทูเน็ตเวิร์ค (ประเทศไทย) : ปก.        
4.110  การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (กรณีศึกษาการทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน) เพิ่มเติม : คณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคฯ 
ระเบียบวาระที่   4   :  เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่   4.1  :  การปฏิบัติตามมาตรา 79 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.,กม.
 
มติที่ประชุม  เห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการจัดทำระเบียบ กสทช. ว่าด้วยการดำเนินการบังคับในกรณีที่มีการใช้คลื่นความถี่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 พร้อมคู่มือปฏิบัติการ (Official Manual) โดยให้มีการจัดทำผังการปฏิบัติการ (Flow Chart) แนวปฏิบัติของบุคลากรเจ้าพนักงาน (Procedure) และกรอบระยะเวลาการดำเนินการ (Timeline) ตามกฎหมาย พร้อมระบุเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยสมควรพิจารณาให้มีการจัดทำ Workshop ร่วมกันระหว่างพนักงานของสำนักงาน กสทช.เพื่อรับทราบประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติ และร่วมกันพิจารณาหาแนวทางที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายก่อนจัดทำเป็นระเบียบดังกล่าวต่อไป ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) 
ระเบียบวาระที่  4.2  :  การจัดทำไปรมาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นสำหรับการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม  อนุมัติในหลักการการจัดตั้งคณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อพิจารณาการจัดทำไปรมาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นสำหรับการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาการทำไปรมาการกลั่นกรองและตรวจสอบความถูกต้องของไปรมา ทั้งนี้ โดยในเบื้องต้นให้มีบุคลากรดังต่อไปนี้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการดังกล่าวตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
1.  ผู้แทนจาก University of California Berkeley
2.  ผู้แทนจาก Federal Communications Commission
3.  Dr. Josep Maria Carbonell
4.  Dr. Joan Barata
5.  Mrs. Andrea Millwood Hargrave 
ระเบียบวาระที่  4.3  :  การจัดการประชุม ITS Asia-Pacific Regional Conference : กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม  อนุมัติในหลักการการจัดตั้งคณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อพิจารณางานวิจัย (International program Committee) โดยมอบหมายให้ Professor Erik Bolin ประธานคณะกรรมการ ITS เป็นประธานคณะกรรมการดังกล่าว โดยมีประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช., และ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทำหน้าที่เป็นประธานร่วม เพื่อกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนต่อไปที่จำเป็นตามแนวทางที่ ITS ปฏิบัติ รวมทั้งเสนอชื่อและทาบทามบุคลากรในวงการโทรคมนาคมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมงานตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ทั้งนี้ สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ให้นำเสนอ กสทช.ชุดใหม่พิจารณาต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.4  :  การจัดทำดีวีดีสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ “พลิกตำนานสยาม” : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม                  
1.  อนุมัติการจัดทำสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พลิกตำนานสยาม” โดยการผลิตดีวีดีสารคดีสั้น และหนังสือรวมภาพและเนื้อหาโดยสังเขปจำนวน 2,000 ชุด ภายในกรอบงบประมาณจำนวน 5,000,000 บาท เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทั้งนี้ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณโครงการจ้างเหมาการผลิตสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โทรคมนาคม ซึ่งสำนักงาน กสทช.ได้กันงบประมาณจำนวนดังกล่าวเพื่อการนี้ไว้แล้วตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับข้อเสนอแนะจากที่ประชุม (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) เพื่อเร่งดำเนินการสำรวจตรวจสอบเอกสารที่จัดทำเพื่อแจกจ่ายในโอกาสต่างๆ ที่ยังมีเหลือค้างอยู่ว่าเป็นจำนวนเท่าใดบ้างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยหากยังมีเหลืออยู่ให้นำไปเก็บรวบรวมไว้ที่ห้องสมุดที่จัดทำขึ้นใหม่เพื่อใช้ประโยชน์ในการสืบค้น และอ้างอิงต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.5  :  ข้อติดขัดในการออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมสำหรับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถานทูต การอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า ปัญหาความล่าช้าหรือสภาพคอขวดในการดำเนินการออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมสำหรับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถานทูต และการดำเนินการอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม อาจได้รับการแก้ไขให้บรรเทาลงหรือหมดไปได้โดยไม่ต้องมีภาระผูกพันงบประมาณในการจัดหาบุคลากรเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ โดยสมควรพิจารณาปรับปรุงระบบการทำงานโดยลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นและซ้ำซ้อนลงเพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความกระชับ รวดเร็ว และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการนี้ ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมข้างต้นไปพิจารณาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาข้อติดขัดดังกล่าวให้ได้ผลต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.6   :  แนวทางการพิจารณาเรื่อง MVNO : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าเนื่องจากการพิจารณากรอบแนวทาง MVNO เป็นประเด็นเชิงนโยบาย ดังนั้น จึงเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช.ส่งเรื่องนี้ให้คณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิค ตามมาตรา 46  แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553  พิจารณาให้ความเห็นก่อนนำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.พิจารณาต่อไป ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) 
ระเบียบวาระที่   4.7   :    การขอลดค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่ม (มูลนิธิระนองสงเคราะห์) : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม. 
มติที่ประชุม                
1. เห็นชอบการลดค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่ม ปี 2552 และปี 2553 ให้แก่มูลนิธิระนองสงเคราะห์ จาก 15,840 บาท เป็น 3,168 บาท ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามข้อ 9  ของประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง การกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ ลงวันที่ 10 มีนาคม 2547 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง  (ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.,กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ  ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
2.  อนึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ไม่เห็นชอบการลดค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่ม ปี 2552 และปี 2553 ให้แก่มูลนิธิระนองสงเคราะห์ ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ เนื่องจากเห็นว่า  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทบกับภาระการนำส่งเงินเข้าคลังตามกฎหมาย ไม่ใช่เงินรายได้ตามปกติ หรือเป็นเงินค่าปรับ ดังนั้น จึงไม่มีเหตุให้ยกเว้น เพราะเป็นเงินที่จะต้องนำส่งรัฐ
3.  อย่างไรก็ดี จากข้อมูลที่สำนักงาน กสทช.ได้ชี้แจงต่อ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ปรากฏตามเอกสารประกอบวาระว่า เมื่อปี 2552 สำนักงาน กทช.ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมที่เคยมีหนังสือแจ้งผู้ใช้ความถี่วิทยุให้ทราบล่วงหน้าก่อนครบกำหนดชำระค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุเป็น ไม่มีหนังสือแจ้งเตือนอีกต่อไป โดยให้เป็นหน้าที่ของผู้ได้รับจัดสรรความถี่วิทยุต้องชำระค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุภายในกำหนดเวลาเอง ในการนี้ เพื่อให้กรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นการกำหนดนโยบายของสำนักงานฯ เอง โดยไม่นำเสนอขออนุมัติจาก กทช.(ในขณะนั้น) ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวขึ้นให้กระจ่างชัด แล้วรายงานผลให้ที่ประชุมทราบต่อไปภายใน 2 สัปดาห์ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมพร้อมกันด้วย
4.  นอกจากนี้ เพื่อมิให้เกิดกรณีการผิดนัดชำระค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุเช่นกรณีของมูลนิธิระนองสงเคราะห์ขึ้นอีก เนื่องจากจะมีผลผูกพันและเป็นพันธะกับองค์กรโดยไม่สมควร จึงมอบหมายให้ปฏิบัติที่ เลขาธิการ กสทช.มีบันทึกถึงพนักงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ เพื่อแจ้งเตือนถึงแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมและถูกต้องให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นตามนโยบายของ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ในสมัยที่เป็นเลขาธิการ กทช. ตามข้อเสนอแนะของ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ทั้งนี้ โดยสำนักการคลังให้มีหน้าที่รับชำระค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุเท่านั้น สำหรับการตรวจสอบความถูกต้องในการใช้ความถี่วิทยุให้เป็นไปตามประกาศที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประสานแจ้งเตือนการชำระค่าตอบแทนความถี่วิทยุตามข้อเท็จจริงของการใช้งานที่ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องแล้วนั้น เป็นหน้าที่ของสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจเป็นผู้ดำเนินการ ตามความเห็นของ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
ระเบียบวาระที่   4.8    :  รายงานผลการดำเนินการ และขอขยายระยะเวลาในการเปิดให้บริการของบริษัท ดีแทค อินเตอร์เนต เซอร์วิส จำกัด : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม                
1.  โดยที่ขณะนี้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ได้มีผลใช้บังคับแล้ว การพิจารณาอนุญาตกรณีการให้บริการขายส่งและขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO จึงต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ มิให้ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของกฎหมาย โดยเฉพาะในมาตรา 46 อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการพิจารณาการอนุญาตการให้บริการแบบ MVNO ให้สอดคล้องตามมาตรา 46 ซึ่งอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการ กอรปกับการอนุญาตให้มีการขยายระยะเวลาการเริ่มเปิดให้บริการ มิได้ส่งผลกระทบทางลบแก่กิจการโทรคมนาคมแต่อย่างใด จึงไม่มีเหตุอันควรที่ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.จะกระทำการใดที่ส่งผลเป็นการจำกัดหรือลดการแข่งขันในตลาดที่มีผู้ประกอบการน้อยรายอยู่แล้ว อันถือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีเป็นธรรม  โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค และสาธารณะเป็นสำคัญ และเพื่อมิให้กระทบต่อสิทธิหรือเป็นการรอนสิทธิของผู้ที่ได้รับอนุญาตไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบเป็นหลักการในการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตกรณีการขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการขายส่งและขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ตามแนวทางดังนี้
1.1 การจะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตการขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการขายส่งและขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ให้พิจารณาในรายละเอียดเป็นกรณีๆ ไป
1.2 การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการขายส่งและขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO นั้น ให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการเสนอขออนุมัติตามขั้นตอนได้ในกรณีที่ได้มีการตรวจสอบรายละเอียดอย่างชัดเจนแล้วปรากฏข้อเท็จจริง (Facts) ที่มีหลักฐานรับรองได้ว่า :
1)    ผู้รับใบอนุญาตที่ยื่นขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการฯ ได้มีการดำเนินการในขั้นตอนการเจรจาที่มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
2)    และ/หรือผู้รับใบอนุญาตที่ยื่นขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการฯ ได้มีการลงนามสัญญา/ลงทุนในเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ แล้วอันจะมีผลผูกพัน และส่งผลกระทบจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนได้หากต้องสิ้นสุดการดำเนินกิจการ
3)    ผู้รับใบอนุญาตที่ยื่นขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการฯ ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตทั้งในส่วนของขั้นตอน กระบวนการ และกรอบระยะเวลาที่เกี่ยวข้องโดยถูกต้อง
2.  สำหรับกรณีที่สำนักงาน กสทช.ดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดอย่างชัดเจนแล้วปรากฏข้อเท็จจริง (Facts) ที่มีหลักฐานว่าผู้รับใบอนุญาตที่ยื่นขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการขายส่งและขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ยังมิได้ดำเนินการใดๆตามข้อ 1.2 1) - 3) เลย รวมถึงมีการดำเนินการใดที่ผิดเงื่อนไขการอนุญาตตามที่ระเบียบ/ประกาศกำหนดไว้ ให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการเสนอตามขั้นตอนเพื่อพิจารณาไม่อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการฯ และ/หรือให้สิ้นสุดการอนุญาตต่อไป
3.  หลักการและแนวทางการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตกรณีการขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการขายส่งและขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ข้างต้น ให้สำนักงาน กสทช.ถือปฏิบัติจนกว่า กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.จะมีมติเป็นอย่างอื่นที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นตามกรอบแนวทาง MVNO ที่คณะอนุกรรมการฯ ตามมาตรา 46 อยู่ระหว่างการจัดทำ และจะนำเสนอ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
4.  ในการพิจารณากรณีการขอขยายระยะเวลาในการเปิดให้บริการของบริษัท ดีแทค อินเตอร์เนต เซอร์วิส จำกัด นั้น มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางข้างต้นตามมติที่ประชุมข้อ 1, 2 และ 3 ต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.9  :  บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตให้บริการต่อโดยไม่ยกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง (บริการ medium-MVNO) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  ในการพิจารณากรณี บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตให้บริการต่อโดยไม่ยกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง (บริการ medium-MVNO) นั้น มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางตามมติที่ประชุมที่ให้ไว้ในวาระที่ 4.8 ต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.10   :    การขอขยายระยะเวลาการใช้บริการโครงข่ายระบบ GSM 900 MHz เพื่อให้บริการโทรศัพท์ทางไกลชนบทระบบ Wireless Local Loop : WLL ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ข้อมูล และข้อวิเคราะห์ความเห็นประกอบการพิจารณาของ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ในเรื่องนี้ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นัก ดังนั้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปจัดทำรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับ แผนการลงทุน (Business Plan)และแผนการดำเนินการ (Roll-out Plan) รวมถึงการวิเคราะห์เสนอความเห็นในเชิงกฎหมายกรณีการใช้อำนาจเพื่อพิจารณาอนุญาตการขยายระยะเวลาฯ ของ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. นั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ในการดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ หรือการกระทำการใดๆ ที่มีผลบังคับต่อ บมจ.ทีโอที  ในขณะนี้ ซึ่งเกี่ยวพันกับคดีที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที ฟ้อง สำนักงาน กทช. และ กทช. ตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543(ในขณะนั้น) ต่อศาลปกครองที่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณา ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง ( ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช., กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง  
ระเบียบวาระที่   4.11  :  การขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ ย่าน 470 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ(นายประเสริฐฯ), ปก.  
มติที่ประชุม   ไม่อนุมัติให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ ย่าน 470 MHz เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และบริการโทรศัพท์ประจำที่ในพื้นที่ชนบทห่างไกลระบบ Wireless Local Loop (WLL) ตามความเห็นของที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. โดยมีเหตุผลในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1.  ในประเด็นข้อกฎหมาย กล่าวคือ  บมจ.ทีโอที ฟ้องคดีในศาลหลายคดี มีทั้งที่ว่า กทช.ไม่มีตัวตนและไม่มีอำนาจ ตลอดจน ทักท้วงความมีอยู่ซึ่งอำนาจของ กสทช.จนเป็นคดีพิพาท หากฝืนใช้อำนาจที่พิพาทนี้ อาจส่งผลเสียในภายหลัง ประเด็นข้อพิพาทยังคงรอศาลตัดสิน อย่างไรก็ดี ความถี่นี้ หากนำมาประมูลตามมาตรา 45 ก็จะได้ประโยชน์แก่รัฐและส่งเสริมการแข่งขัน ดังนั้น จึงไม่ควรอนุญาตขยายระยะเวลา แต่ควรส่งให้ กสทช.ทำตามมาตรา 45 ต่อไป
2.  ในประเด็นด้านเศรษฐศาสตร์  กล่าวคือ การใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 470 MHz ของ บมจ.ทีโอที สามารถใช้ย่านความถี่อื่นทดแทนได้ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ ซึ่งสมควรดำเนินการเพื่อคืนคลื่นความถี่ตามกฎหมายต่อไป
     ทั้งนี้ คลื่นความถี่ดังกล่าว เมื่อมีการเรียกคืนแล้ว กสทช.จะเป็นผู้พิจารณากำหนดแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อการใช้งานใหม่ (Refarm) ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 กำหนด และกรอบข้อตกลง WRC 2012 เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศและประชาชนต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.12   :  บริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่นส์ แอนด์ เซลส์ จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการสำหรับบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  ในการพิจารณากรณีบริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่นส์ แอนด์ เซลส์ จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการสำหรับบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง นั้น มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางตามมติที่ประชุมที่ให้ไว้ในวาระที่ 4.8 ต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.13  :  บริษัท สยามเทเลคอมแอคเซส จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ ฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม   ในการพิจารณากรณี บริษัท สยามเทเลคอมแอคเซส จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO นั้น มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางตามมติที่ประชุมที่ให้ไว้ในวาระที่ 4.8 ต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.14   :  การขออนุญาตกรณีการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ถือครองหุ้นในบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด :ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ(นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความรอบคอบ ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.รับความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปพิจารณาดำเนินการจัดทำบทวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ เพิ่มเติมให้ละเอียดมากขึ้นตามประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการควบรวมและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และประกาศ กทช.ว่าด้วยมาตรการป้องกันการผูกขาดฯ ตลอดจนการวิเคราะห์ถึงผลกระทบด้านต่างๆ จากการถือครองหุ้นของบริษัทฯ เพื่อนำเสนอหลักเกณฑ์ และวิธีการที่จำเป็นในการอนุญาตการถือครองหุ้นประกอบการพิจารณาของที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.15   :  บริษัท 400 MHz สำหรับให้บริการวิทยุคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  ไม่อนุมัติให้ บริษัท ดิจิตอล รีเสิร์ซ แอนด์ คอนซัลทิ่ง จำกัด ประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติม โดยใช้คลื่นความถี่ 400 MHz สำหรับให้บริการวิทยุคมนาคม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.และ กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) เนื่องจากการจัดสรรความถี่ย่านนี้อาจมีผลกระทบต่อการแข่งขันเสรีอย่างมีนัยสำคัญ หรืออาจกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ หรือมีเหตุจำเป็นต้องคุ้มครองผู้บริโภคเป็นพิเศษ รวมทั้งอาจกระทบต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ในอนาคต อีกทั้งยังอาจขัดต่อนโยบายของ กทช. ในเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อให้บริการในอ่าวไทยตามที่ได้เคยมีมติไว้ในการประชุม กทช.ครั้งที่ 15/2553 เมื่อวันพุธที่ 9 มิถุนายน 2553 ที่อนุมัติในหลักการการจัดสรรคลื่นความถี่ในการนำทางการบิน (เครื่องวิทยุช่วยเดินอากาศระบบ Non-directional Beacon) ให้กับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ โดยบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เนื่องจากเป็นกรณีที่จำเป็นเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามรบกวนคลื่นความถี่ทางบกที่มีการใช้งานอยู่ และห้ามนำคลื่นความถี่ไปให้ผู้อื่นร่วมใช้หรือให้ใช้ โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่ให้สมประโยชน์ของภาครัฐอย่างเต็มที่ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า กทช.มุ่งเน้นการจัดสรรคลื่นความถี่ในอ่าวไทยให้แก่หน่วยงานของรัฐเป็นหลัก และให้เป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลการใช้งานแต่เพียงผู้เดียว เนื่องจากพื้นที่บริเวณอ่าวไทยในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ นั้น ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของประเทศ และอยู่ในเขตที่อาจมีการลุกล้ำอธิปไตยของชาติได้ ดังนั้น การให้ใช้คลื่นความถี่ในบริเวณดังกล่าว จึงต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้ การให้บริการในบริเวณดังกล่าวจึงควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
     อนึ่ง กทช.สุรนันท์ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เห็นควรอนุมัติให้ บริษัท ดิจิตอล รีเสิร์ซ แอนด์ คอนซัลทิ่ง จำกัด ประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติม โดยใช้คลื่นความถี่ 400 MHz สำหรับให้บริการวิทยุคมนาคม ตามความเห็นคณะกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่สรุปได้ว่า เนื่องจาก กทช. ได้ประกาศเรื่องแผนการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ในราช-กิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไป ดังนั้น ประชาชนคนไทยย่อมมีสิทธิที่จะใช้คลื่นความถี่นี้ได้อย่างเท่าเทียมกัน กอรปกับการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 400 MHz ดังกล่าวในทะเล นั้น มีศักยภาพในการใช้งานสูง บริษัทฯ ไปใช้ในการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมเฉพาะในทะเล ซึ่งมิใช่การใช้งานในกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล (Maritime Mobile) จึงสมควรจัดสรรความถี่ให้เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ หากบริษัทฯ ต้องการนำคลื่นความถี่ไปใช้ให้บริการโทรคมนาคมในวงกว้าง เช่น การขยายเครือข่ายการบริการออกไปบนฝั่ง หรือพื้นที่บนบก  บริษัทฯจะต้องคืนคลื่นความถี่เดิมที่ได้รับอนุญาตชั่วคราวนี้เสียก่อน เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่อื่นที่เหมาะสมทดแทนให้โดยไม่อยู่ในแผนการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ 
ระเบียบวาระที่   4.16  :  การปรับปรุงเงื่อนไขการอนุญาตบริการ MVNO :  ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าเนื่องจากกรณีการพิจารณาการปรับปรุงเงื่อนไขการอนุญาตบริการ MVNO เป็นประเด็นเชิงนโยบาย ดังนั้น จึงเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช.ส่งเรื่องนี้ให้คณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิค ตามมาตรา 46  แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553  พิจารณาให้ความเห็นก่อนนำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.พิจารณาต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.17  :  บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเอง สำหรับให้บริการ VSAT : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม                
1.  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ใช้จานสายอากาศขนาดเล็ก (Very Small Aperture Terminal (VSAT) ) ให้แก่บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) โดยมีระยะเวลาการอนุญาต 5 ปี ทั้งนี้ โดยให้ใบอนุญาตมีผลต่อเนื่องนับแต่วันที่การยกเลิกสัญญาการให้บริการสื่อสารข้อมูลภาพและเสียงผ่านดาวเทียมภายในประเทศแล้วเสร็จ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช., กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)
2.  อนุมัติให้บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ใช้คลื่นความถี่ย่าน  C-band และ Ku-Band  เพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามที่ได้รับอนุญาตในข้อ 1 โดยมีเงื่อนไขการอนุญาต ดังนี้
(1)  ผู้รับใบอนุญาตต้องเช่าใช้ช่องสัญญาณวงจรดาวเทียมไทยและดาวเทียม ASEAN  แต่หากประสงค์จะเช่าใช้ช่องสัญญาณวงจรดาวเทียมต่างชาติอื่น เพื่อการให้บริการจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแล้ว จึงเสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติต่อไป
(2)  ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการให้บริการในลักษณะที่ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่อออกต่างประเทศได้โดยตรง
(3)  ผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ต้องชำระค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุตามประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่องกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ
(4)  ผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงต้องเป็นไปตามข้อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องว่าด้วยการใช้คลื่นความถี่ เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์สำหรับการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมของผู้รับใบอนุญาต และจะต้องได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
(5)  ผู้รับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสารและสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน ที่คณะกรรมการจะประกาศกำหนดต่อไปในอนาคต (Subject to Future Regulation)
3.  ให้บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ยืนยันการขอรับใบอนุญาตตามเงื่อนไขข้อ 2 และดำเนินการแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกสัญญาการให้บริการสื่อสารข้อมูลภาพและเสียงผ่านดาวเทียมภายในประเทศซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานจากกรมไปรษณีย์โทรเลขในอดีตต่อสำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการเปลี่ยนสัญญาสัมปทานดังกล่าวเป็นใบอนุญาตประกอบกิจการตามขั้นตอนต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.18  :  ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายในการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมของบริษัท เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำกัด : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  โดยที่เอกสารรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายในการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมของบริษัท เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำกัด ที่เสนอยังไม่ชัดเจน ที่ประชุมจึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดของเอกสารรายงานฯ ให้ชัดเจนและสมบูรณ์เพียงพอยิ่งขึ้นต่อการพิจารณาของที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยเฉพาะการตรวจสอบและยืนยันในเรื่องสิทธิและขอบเขตการให้บริการของดาวเทียมที่ให้บริการดังกล่าว (Footprint และ Market Access)  แล้วเร่งนำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง 
ระเบียบวาระที่   4.19    :  วิธีการคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง วิธีการคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง  (กทช.  สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าให้นับวันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับกรณีวิธีการจัดเก็บที่แล้วมาในอดีต ให้ถือว่าเป็น Fair Accomplice ไม่ต้องส่งคืนย้อนหลัง แต่ให้เริ่มต้นนับใหม่ให้ตรงกันตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป ส่วนค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บอยู่ในปัจจุบันหรือที่จะ Due ในเดือนธันวาคม ก็ให้ใช้อัตราที่เป็นคุณแก่ผู้จ่าย ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับไปดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางและวิธีการตามมติข้างต้นต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.20   :  การปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ในการปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 2 และ 3 ลงให้เท่ากันทั้งหมดเช่นเดียวกับอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตามบทบัญญัติมาตรา 11 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 โดยจะต้องไม่เป็นภาระแก่ผู้ประกอบการหรือผู้ใช้บริการโดยไม่สมเหตุผล ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการและประชาชนต่อไป รวมทั้งสอดคล้องกับแนวนโยบาย/มติ กทช. ที่กำหนดให้สำนักงานฯ ลดการพึ่งพิงรายได้จากค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ดังมีรายละเอียดของการปรับปรุงฯ ดังต่อไปนี้
1.  ให้ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่ 2 (ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง) จากเดิม 25,000 บาท เป็นอัตรา 10,000 บาท เท่ากับใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่ 2 (ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง)
2.  ให้ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่ 3 จากเดิม 500,000 บาท เป็นอัตรา 10,000 บาท เท่ากับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่ 3 และค่าต่ออายุใบอนุญาตจากเดิม 500,000 บาท เป็น 10,000 บาท เท่ากับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต
3.  สำหรับการคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่ 3 กรณียังไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ ให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าธรรมเนียมรายปีในอัตรา 20,000 บาท โดยคิดเป็นสัดส่วน นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตหารจำนวนวันตามปีปฏิทิน และให้สอดคล้องกับหลักการเก็บค่าธรรมเนียมผู้รับใบอนุญาตแบบที่สามที่ยังไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการที่ กทช.ได้มีมติเห็นชอบแล้วในการประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่ 20/2554 เมื่อวันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2554  
วาระที่  4.96
ระเบียบวาระที่  4.21  :  หลักเกณฑ์การนำรายการ CDMA DATA Content มาขอหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก.
 
มติที่ประชุม                
1.  เห็นชอบผลการพิจารณาตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง  (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) และความเห็นของที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. (ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช., และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)  ซึ่งพิจารณาในเรื่องนี้แล้ว เห็นว่า กรณีการนำรายการ CDMA DATA Content มาขอหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม นั้น เป็นเรื่องที่ กทช.ได้เคยพิจารณามีมติหลักการเดิมอยู่แล้วโดยใช้หลักเกณฑ์การลดหย่อนปี 2549 เป็นกรอบบรรทัดฐานเดียวกันสำหรับในปีต่อๆมา โดยมิให้นำรายการ CDMA Content มาหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯแบบที่สามของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดังนั้น จึงไม่ควรให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ต้องพิจารณายกเว้นอีก ควรเดินไปตามกฎที่มีอยู่แล้วต่อไป จากผลการพิจารณาดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมจึงมีมติไม่ให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำรายการ CDMA DATA Content มาหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามประจำปี 2551 เพิ่มเติม
2.  ไม่อนุญาตให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมรายได้ประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม (ค่าปรับ) ประจำปี 2551 เพิ่มเติม  จำนวนเงิน 40,341.41 บาท ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ  
ระเบียบวาระที่ 4.22  :  โครงการเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอ่าวไทย ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การดำเนินโครงการเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอ่าวไทยของ บมจ. กสท โทรคมนาคม เป็นการสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมเพิ่มเติมเพื่อให้บริการคู่สายเช่า/วงจรเช่าภายในและระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นบริการที่ บมจ. กสท โทรคมนาคม ได้รับอนุมัติอยู่แล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ดำเนินโครงการเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอ่าวไทย โดยสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเอง ได้แก่ โครงข่ายเคเบิลใต้น้ำใยแก้วนำแสง เพื่อรองรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตในวงกว้าง อันกระทบต่อประโยชน์สาธารณะอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมอย่างเคร่งครัดต่อไป ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ และเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการแข่งขันได้ในระยะยาว ให้เพิ่มเติมเงื่อนไขในการอนุญาตดำเนินโครงการดังกล่าวด้วย ได้แก่ เงื่อนไขในการเปิด Open Access และเงื่อนไขในการทำ Infrastructure Sharing ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันได้อย่างเสรีเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นต่อไป
     อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นว่า ไม่สามารถพิจารณาอนุมัติได้ เนื่องจาก ตามที่เคยมีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการทักท้วงอำนาจของ กทช.ว่าไม่เป็นองค์กรที่มีอำนาจกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมตามกำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แล้วหลายครั้ง การที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จะอนุมัติเกี่ยวกับการยี่นคำร้องและคำขออนุญาตอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมต่อ กทช.ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัท กสทฯ ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช.จำนวนมาก ทั้งในคดีปกครองหมายเลขดำที่ 1411/2553 หมายเลขดำที่ 1436/2553 หมายเลขดำที่ 1033/2553 หมายเลขดำที่ 2/2554 หมายเลขดำที่ 368/2554 และหมายเลขดำที่ 397/2554 เป็นต้น โดยมีประเด็นพิพาทที่สำคัญคือ บริษัท กสทฯ อ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง ซึ่งการกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอำนาจอันเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 เท่านั้น หากยังเห็นว่าการดำเนินการของ กทช. และบทบัญญัติแห่งมาตรา 46 มาตรา 53 และมาตรา 63 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ขัดต่อมาตรา 47 วรรตสอง มาตรา 305 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ดังนี้ หากความปรากฏในท้ายที่สุดว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า บทบัญญัติดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วย ผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช.ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นต้น จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว และถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย อย่างไรก็ดี ในการพิจารณาคำร้องและคำขอต่างๆ ของบริษัท กสทฯ ที่ผ่านมา ได้มีความเห็นให้ กทช. มีหนังสือสอบถาม บริษัท กสทฯ มาโดยตลอดถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทช. ในการอนุญาตและกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ว่ายังคงมีอยู่โดยสมบูรณ์ตามที่กฏหมายกำหนดหรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบยืนยันตามคำกล่าวอ้างในคำฟ้องว่า กทช.ไม่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการดังกล่าว 
ระเบียบวาระที่  4.23  :  บริษัท ดิจิตอล รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลทิ่ง จำกัด ขอให้ช่วยสนับสนุนผู้ให้บริการโทรคมนาคมในพื้นที่อ่าวไทย : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม   ไม่สนับสนุนตามที่บริษัท ดิจิตอล รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลทิ่ง จำกัด ร้องขอให้ช่วยสนับสนุนผู้ให้บริการโทรคมนาคมในพื้นที่อ่าวไทยตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากกรณีนี้ ถือเป็นการยินยอมให้ผู้อื่นใช้คลื่นความถี่ที่ไม่สามารถทำได้ตามนัยแห่งมาตรา 46 วรรคสอง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 นอกจากนี้ กสทช. มิใช่องค์กรกำกับดูแลที่มีหน้าที่ในการสนับสนุนหรือคุ้มครองประโยชน์ของผู้รับใบอนุญาตรายหนึ่งรายใดเป็นการเฉพาะ แต่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมด้วยความเป็นกลาง เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรโทรคมนาคม กสทช. มีหน้าที่ที่ต้องส่งเสริมให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรดังกล่าว โดยการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันผ่านกลไกตลาด มิใช่ส่งเสริมให้มีการผูกขาดโดยการสร้างสภาพคอขวดและความขาดแคลนจำลอง หากบริษัทฯสามารถประกอบกิจการและสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมายของบริษัทฯ ย่อมเล็งเห็นได้ว่าการลงทุนขอจัดสรรความถี่และจัดทำบริการเสียเองไม่คุ้มทุน และตัดสินใจในเชิงธุรกิจเพื่อขอรับบริการจาก บริษัทฯ เองตามหลักกลไกตลาด อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นความถี่ในอ่าวไทยอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายหากมีการร้องเรียนหรือมีเหตุควรเชื่อได้ว่ามีการใช้อย่างผิดกฎหมายจริง กสทช. ก็มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดำเนินการตรวจสอบอยู่แล้ว                                   
ระเบียบวาระที่  4.24  :  ความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ....: ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก., กม. 
มติที่ประชุม  โดยที่การพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. .... ได้มีการดำเนินการเรื่อยมาเป็นเวลานาน จนอาจเกิดความไม่แน่นอนในชั้นนี้ได้ว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะยังคงดำเนินการปรับปรุง และนำกลับมาใช้ต่อไปอีกหรือไม่ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องนี้ ที่ประชุมจึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงถึงสถานะปัจจุบันของการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. .... ว่ายังคงมีการดำเนินการหรือไม่ อย่างไร แล้วรายงานให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทราบอีกครั้งหนึ่ง แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่า สถานะของเรื่องดังกล่าวได้ยุติโดยจะไม่มีการดำเนินการใดๆ แล้ว ให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการขอถอนเรื่องนี้ออกจากวาระการประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ต่อไป
ระเบียบวาระที่   4.25  :  การให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ย่านความถี่ 800 MHz และการขอปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ย่านความถี่ 800 MHz  ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม  : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม                  
1.  โดยที่ กทช.ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 11/2553 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2553 ไม่อนุญาตให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ย่านความถี่ 480 MHz และ 800 MHz แทน UCOM หลังอายุสัญญาร่วมการงานสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 ซึ่งถือเป็นอันยุติสิทธิที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวในส่วนของการให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio โดยวิธีสัมปทาน
2.  สำหรับการยื่นขอขยายระยะเวลาการอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ย่านความถี่ 800 MHz ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ในส่วนที่เป็นผู้ดำเนินการเอง นั้น มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปตรวจสอบในรายละเอียดของเงื่อนไขใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามที่ออกให้แก่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ให้ชัดเจนก่อนว่า ได้กำหนดเงื่อนไขการประกอบกิจการให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ย่านความถี่ 800 MHz และเงื่อนไขการอนุญาตใช้งานความถี่ดังกล่าวไว้อย่างไรบ้าง ซึ่งหากการยื่นขอขยายระยะเวลาการอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ย่านความถี่ 800 MHz ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม เป็นไปตามเงื่อนไขการอนุญาตที่กำหนดไว้โดยถูกต้องแล้ว ก็ให้สำนักงาน กสทช. นำเสนอให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.พิจารณาอนุมัติต่อไปได้ พร้อมไปกับเรื่อง การขอปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ย่านความถี่ 800 MHz  ของ บมจ. กสท โทรคมนาคมภายใต้หลักการ Technology Neutral ด้วยในคราวเดียวกัน  
ระเบียบวาระที่   4.66   :  บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ขอให้พิจารณาออกใบอนุญาตให้นำเข้าอุปกรณ์เพื่อการทดลองและทดสอบอุปกรณ์โครงข่าย และอุปกรณ์ลูกข่าย สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ของ บมจ. อสมท. ด้วยเทคโนโลยี BWA :  สท. 
มติที่ประชุม   เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 379/2553 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กทช.) ระงับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz เป็นการชั่วคราว ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับกรอบอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ กอปรกับ การใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.5 GHz เพื่อการทดลองและทดสอบอุปกรณ์โครงข่าย และอุปกรณ์ลูกข่าย สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ของ บมจ. อสมท. ด้วยเทคโนโลยี BWA เป็นกรณีที่ใกล้เคียงกับการขอขยายเวลาการใช้คลื่นความถี่วิทยุย่าน 2.5 GHz ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ซึ่ง กทช.ได้มีมติไม่อาจพิจารณาได้เนื่องจากคำสั่งของศาลปกครองดังกล่าวข้างต้น ด้วยเหตุนี้ ผลของคำสั่งศาลปกครองดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมกระทบต่อการพิจารณาอนุญาตคลื่นความถี่ตามที่ บมจ. อสมท. เสนอขอมา  ทำให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มิบังอาจที่จะมีคำสั่งเป็นอื่นอันอาจส่งผลเป็นการละเมิดคำสั่งของศาลปกครองได้ ดังนั้น กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จึงไม่อาจพิจารณาคำขออนุญาตของบมจ. อสมท.ในการนำความถี่ย่าน 2.1 GHz มาใช้เพื่อการทดลองและทดสอบอุปกรณ์โครงข่ายและอุปกรณ์  ลูกข่ายสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ด้วยเทคโนโลยี BWA และการขออนุญาตนำเข้าอุปกรณ์จำนวน 3 รายการได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลปกครองจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ตามความเห็นของสำนักงาน กสทช. และความเห็นกรรมการกลั่นกรอง  (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.,กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)   ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.มีหนังสือแจ้ง บมจ.อสมท. เพื่อทราบมติข้างต้นต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.71   :   การต่ออายุสัญญาการปฏิบัติงานของ นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม : กลุ่มภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
มติที่ประชุม  โดยที่ปัจจุบันพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ได้มีผลบังคับใช้แล้ว ส่งผลให้สถานะของสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย แต่ปรับเปลี่ยนเป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้โครงสร้างเดียวกันของสำนักงาน กสทช. ตามมติ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ดังนั้น สัญญาการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (นายสุพจน์  เธียรวุฒิ) จึงสิ้นสุดลงตามวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 16 สิงหาคม 2554 อย่างไรก็ดี สำหรับการพิจารณาการจะว่าจ้างนายสุพจน์  เธียรวุฒิ อีกหรือไม่นั้น เพื่อให้ที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.มีข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจได้อย่างรอบคอบและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพิจารณาในแง่โครงสร้าง/ตำแหน่งรองรับ ในแง่กฎหมายตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคล  จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. โดยหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในด้านงานบุคคล  อาทิ นายสาธิต อนันตสมบูรณ์ ไปพิจารณาดำเนินการแสวงหาข้อมูลและข้อเท็จจริง (Facts)  ในประเด็นดังกล่าวข้างต้นให้ชัดเจน แล้วเร่งนำเสนอที่ประชุม กสทช. พิจารณาในสัปดาห์หน้าอีกครั้งหนึ่งในการประชุมครั้งต่อไป ทั้งนี้ รวมถึงข้อเท็จจริงของการต่อสัญญาว่าจ้างผู้ปฏิบัติงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในปัจจุบันด้วยตามข้อคิดเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.          
ระเบียบวาระที่    4.76    :  ขอให้พิจารณาให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ทรงสิทธิร่วมในสิทธิบัตรการประดิษฐ์ชื่อ “System and Method for SSVEP Based Control of Electrical Device” : กลุ่มภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม 
มติที่ประชุม  โดยที่สัญญาเดิมระหว่างสำนักงาน กสทช. กับมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการลงนามผูกพันกับบุคคลภายนอกในฐานะผู้รับทุน สิทธิของสำนักงานฯ ในฐานะผู้ให้ทุน จึงขึ้นอยู่กับสัญญานั้นเพื่อใช้บังคับกับบุคคลภายนอกเป็นสำคัญภายใต้ระเบียบฉบับเดิม (ระเบียบ กทช.ว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และผลประโยชน์อันเกิดจากผลการวิจัย พ.ศ. 2552) ซึ่งต้องยึดถือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติไม่เห็นชอบให้มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ทรงสิทธิร่วมในสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ชื่อ “System and Method for SSVEP Based Control of Electrical Device” ตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ข้างต้น 
ระเบียบวาระที่  4.87   :   การขออนุญาตทดลองเสริมจุดบอดการรับโทรทัศน์ในเขตกรุงเทพมหานครของบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) : สท. 
มติที่ประชุม   เนื่องจากในการพิจารณาเรื่องนี้ ที่ประชุมยังขาดความชัดเจนของข้อมูล และข้อเท็จจริงในหลายประเด็น ดังนั้น เพื่อให้สามารถพิจารณาได้อย่างถูกต้อง และรอบคอบยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปดำเนินการตรวจสอบและแสวงหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมให้ชัดเจน โดยการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักต่างๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ ฉก. สท. กม. ฯลฯ ทั้งนี้ โดยมีปฏิบัติหน้าที่ รสทช.ทศพรฯ เป็นประธานกรรมการ เพื่อรับผิดชอบดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาใน 2 สัปดาห์ สำหรับประเด็นสำคัญที่ต้องการความชัดเจนเพื่อประกอบการพิจารณา อาทิ การวิเคราะห์ในข้อกฎหมายว่าจะขัดหรือแย้งกับมาตรา 46 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรฯ พ.ศ.2553 หรือไม่ ข้อมูลในอดีตเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุโทรทัศน์ UHF ช่อง 58 และช่อง 60 ที่กำลังส่งไม่เกิน 1 วัตต์ และ ไม่เกิน 500 วัตต์ และสถานะการใช้ความถี่ดังกล่าวของ บมจ.อสมท.จนถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร การครอบครองยังเป็นของ บมจ.  อสมท.อยู่หรือไม่ รวมถึงข้อมูลการชำระค่าตอบแทนการใช้ความถี่ดังกล่าว ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการทดลองเสริมจุดบอดด้วย เป็นต้น 
ระเบียบวาระที่   4.93  :  การขออนุมัติขยายเวลาศึกษาและลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน ของ นายสุภพล จรูญวณิชกุล : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), บค. 
มติที่ประชุม            
1. อนุมัติให้นายสุภพล จรูญวณิชกุล นักเรียนทุนสำนักงาน กสทช.ประจำปี 2551 ที่ศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมศาสตร์โทรคมนาคม ณ University of Colorado Boulder ประเทศสหรัฐอเมริกา ขยายระยะ เวลาศึกษาต่อไปจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2555 โดยรายงานตัวเพื่อเริ่มปฏิบัติงานภายในวันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2555 และอนุมัติให้ลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน 2 วิชา  ได้แก่  Managing Effectively in a Telecom Environment และ Business Simulation for Engineers ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
2.  อนุมัติค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเป็นเงิน 12,902.24 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยจำนวน 438,676.16 บาท (สี่แสนสามหมื่นแปดพันหกร้อยเจ็ดสิบหกบาทสิบหกสตางค์) เพื่อใช้ในการสนับสนุนทุนการศึกษาภาคฤดูร้อนให้แก่ นายสุภพล จรูญวณิชกุล  ทั้งนี้จะไม่เป็นเหตุแห่งการขยายเวลาการศึกษา โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณโครงการพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรเพื่อภารกิจสำนักงาน กสทช. ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.99  :  บจ.ทรู มูฟ ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานเพิ่มเติม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ),กลุ่มภารกิจด้านบริหารเลขหมายโทรคมนาคม 
มติที่ประชุม  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐาน 10 หลัก ที่ใช้สำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมให้แก่ บจ.ทรู มูฟ จำนวน 1,200,000 เลขหมาย ในหมวด 09 โดยเรียงตามลำดับก่อนหลัง (กลุ่ม 0902 จำนวน 900,000 เลขหมาย กลุ่ม 0903 จำนวน 300,000 เลขหมาย) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่กรรมการกลั่นกรอง ( กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) พิจารณาเห็นชอบแล้ว 
ระเบียบวาระที่    4.100     :  บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส   ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานเพิ่มเติม  : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ),กลุ่มภารกิจด้านบริหารเลขหมายโทรคมนาคม 
มติที่ประชุม  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐาน 10 หลัก ที่ใช้สำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมให้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำนวน 1,520,000 เลขหมาย ในหมวด 09 โดยเรียงตามลำดับก่อนหลัง (กลุ่ม 0905 จำนวน 20,000 เลขหมาย กลุ่ม 0904 จำนวน 900,000 เลขหมาย และกลุ่ม 0903 จำนวน 600,000 เลขหมาย) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่กรรมการกลั่นกรอง ( กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) พิจารณาเห็นชอบแล้ว 
ระเบียบวาระที่  4.101   :  บมจ. ทีโอที  ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานเพิ่มเติม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ),กลุ่มภารกิจด้านบริหารเลขหมายโทรคมนาคม 
มติที่ประชุม                
1.  อนุมัติกรอบการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐาน 10 หลัก ที่ใช้สำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมให้แก่ บมจ.ทีโอที จำนวน 1,200,000 เลขหมาย เป็นระยะเวลา 12 เดือนตามความเห็นของคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่กรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) พิจารณาเห็นชอบแล้ว
2.  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐาน 10 หลัก ที่ใช้สำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมให้แก่ บมจ.ทีโอที จำนวน 410,000 เลขหมาย (กลุ่ม 090503 XXX – กลุ่ม 090547 XXX) ภายใต้กรอบการอนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐาน 10 หลัก ที่ใช้สำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมให้แก่ บมจ.ทีโอที ตามข้อ 1  ส่วนในระยะต่อไปให้ บมจ.ทีโอที เสนอขออนุมัติการจัดสรรเลขหมายที่เหลือเมื่อได้มีการจัดตั้งสถานีฐานตามแผนงานที่กำหนดไว้ต่อไป ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่กรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) พิจารณาเห็นชอบแล้ว
อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นว่า การที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีมติอนุมัติเกี่ยวกับการยื่นคำร้องและขออนุญาตที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมของ บมจ. ทีโอที นี้ ได้เคยมีความเห็นทักท้วงไปหลายครั้ง ในเรื่องที่ บมจ. ทีโอที ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยมีประเด็นตามคำฟ้องคือ กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่อีกต่อไป หลังจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง ประเด็นพิพาทตามฟ้องนี้ จึงมิใช่กรณีเฉพาะการใช้อำนาจของ กทช. ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 แต่รวมไปถึงการที่ กทช. ใช้อำนาจกำกับดูแลโดยขัดกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 โดยเรื่องนี้ ศาลปกครองได้ส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และขณะนี้ เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น หากความปรากฏในท้ายที่สุดว่า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้บทบัญญัติดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญ ย่อมส่งผลให้การกระทำของ กทช. ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น นอกจากนี้ ผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีผลผูกพันทุกหน่วยงานและองค์กรต่างๆ รวมไปถึง ศาลปกครองและศาลยุติธรรม กอรปกับกรณีดังกล่าว ทีโอที ได้ทักท้วง กทช. เรื่อยมา เมื่อความปรากฏเช่นนี้ การกระทำของ กทช. ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดชอบตามกฎหมายอื่น ตามมาได้ในภายหลัง อาทิ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เรื่องการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงาน ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเห็นว่าการที่ กทช. จะกระทำการอันใด โดยมิได้รับการยืนยันความชอบด้วยกฎหมายจากศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ได้รับการทักท้วงเรื่องนี้มาแล้วนั้น เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายโดยประมาท และอาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ทั้งนี้ ในกรณีเกี่ยวกับการพิจารณาคำร้องและคำขอของ บมจ. ทีโอที ที่ผ่านมา ได้มีความเห็นให้ กทช. มีหนังสือสอบถาม บมจ.ทีโอที มาโดยตลอดถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทช. ในการอนุญาตและกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ว่ายังคงมีอยู่โดยสมบูรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ปัจจุบัน เมื่อ บมจ. ทีโอที มิได้ทำการยืนยันอำนาจดังกล่าวมาแต่อย่างใด ย่อมไม่สามารถพิจารณาอนุมัติกรณีนี้ได้ 
ระเบียบวาระที่   4.102    :    บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส  คอมมูนิเคชั่น ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานเพิ่มเติม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ  (นายประเสริฐฯ),กลุ่มภารกิจด้านบริหารเลขหมายโทรคมนาคม 
มติที่ประชุม  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐาน 10 หลัก ที่ใช้สำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมให้ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำนวน 1,740,000 เลขหมายหมายเลข (กลุ่ม 0905 จำนวน 470,000 เลขหมาย กลุ่ม 0906 จำนวน 900,000 เลขหมาย และกลุ่ม 0907 จำนวน 370,000 เลขหมาย) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่กรรมการกลั่นกรอง ( กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) พิจารณาเห็นชอบแล้ว 
ระเบียบวาระที่   4.105    :  การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม เพื่อให้ บริการ IPLC และ บริการ IP-VPN ของบริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) :ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ),  ปก. 
มติที่ประชุม  อนุมัติให้บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ประเภทบริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) และ บริการโครงข่ายส่วนตัวเสมือนจริงที่ใช้ Internet Protocol (Internet Protocol Virtual Private Network : IP-VPN) โดยมีระยะเวลาการอนุญาต 15 ปี  ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยมีจุด/สถานีเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการต่างประเทศ จำนวน 4 จุดดังนี้
1.  จุดเชื่อมต่อที่ 1  บริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
2.  จุดเชื่อมต่อที่ 2   บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา   ตำบลโรงเกลือ  จังหวัดสระแก้ว
3.  จุดเชื่อมต่อที่ 3  บริเวณชายแดนไทย- ลาว  สะพานมิตรภาพไทย-ลาว จังหวัดหนองคาย
4.  จุดเชื่อมต่อที่ 4  บริเวณชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายและ/หรือ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ทั้งนี้ โดยให้บริษัทฯ ต้องจัดให้มีการจัดแยกบัญชี การบริหารจัดการของ   แต่ละใบอนุญาตออกจากกันเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบภายหลัง ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.106   :  บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตเพิ่มเติมประเภทโครงข่ายเพื่อให้บริการวงจรสื่อสัญญาณความเร็วสูงภายในประเทศ (โครงข่ายไร้สายเทคโนโลยี WiFi) ตามที่ได้รับอนุญาตในใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ),ปก. 
มติที่ประชุม  อนุมัติให้บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพิ่มเติมลักษณะประเภทโครงข่ายเพื่อให้บริการวงจรสื่อสัญญาณความเร็วสูงภายในประเทศ (โครงข่ายไร้สายเทคโนโลยี WiFi) ตามที่ได้รับอนุญาตในใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการแข่งขันให้มากยิ่งขึ้นจากผลของการเพิ่มจำนวนผู้ให้บริการในตลาด (Market Participant) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. และ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ดังนี้
1.  โครงข่ายไร้สายเทคโนโลยี WiFi ย่านความถี่วิทยุ  2.4 กิกะเฮิรตซ์ กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก(Equivalent Isotropically Radiated Power : E.I.R.P) ไม่เกิน 100 มิลลิวัตต์
2.  โครงข่ายไร้สายเทคโนโลยี WiFi ย่านความถี่วิทยุ 5.150-5.350 กิกะเฮิรตซ์ กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก(Equivalent Isotropically Radiated Power : E.I.R.P) ไม่เกิน 0.2 วัตต์
3.  โครงข่ายไร้สายเทคโนโลยี WiFi ย่านความถี่วิทยุ 5.470-5.725
กิกะเฮิตซ์ กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก(Equivalent Isotropically Radiated Power : E.I.R.P) ไม่เกิน 1 วัตต์
4.  โครงข่ายไร้สายเทคโนโลยี WiFi ย่านความถี่วิทยุ 5.725-5.850
กิกะเฮิตซ์ กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก(Equivalent Isotropically Radiated Power : E.I.R.P) ไม่เกิน 1 วัตต์
ทั้งนี้ โดยให้บริษัทฯ จัดทำบัญชีแยกตามประเภทบริการและใบอนุญาตเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบภายหลัง ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่   4.108  :  การขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการขายต่อบริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่MVNO ของ บจ.สวัสดีช้อป: ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  ในการพิจารณากรณี การขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่MVNO ของ บจ.สวัสดีช้อป นั้น มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางตามมติที่ประชุมที่ให้ไว้ในวาระที่ 4.8 ต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.109   :  การขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่MVNO ของ บริษัท เอ ทู เน็ตเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ),ปก. 
มติที่ประชุม  ในการพิจารณากรณี การขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่MVNO ของ บริษัท เอ ทู เน็ตเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด นั้น มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางตามมติที่ประชุมที่ให้ไว้ในวาระที่ 4.8 ต่อไป 
หมายเหตุ   สำหรับระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือ จำนวน 72 เรื่อง จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่  5   :  เรื่องเพื่อทราบ
5.1   รายงานผลการพิจารณาร่างสัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ (จำนวน 6 ฉบับ) : กม.
5.2   รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ประจำเดือนมิถุนายน 2554 : กม.
5.3   รายงานผลการปฏิบัติงานแทน ลสทช. ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2554 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
5.4   รายงานผลการปฏิบัติงานแทน ลสทช. ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2554 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
5.5   การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบการ (รายการส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน 2554 ถึง 22 กรกฎาคม 2554) : ศฐ.
5.6   การพิจารณาอนุมัติให้ บมจ. ทีโอที ดำเนินการ USO ในพื้นที่เป้าหมายของโรงเรียนที่ยังคงเหลืออยู่ ตามประกาศแผนปฏิบัติการ USO ประจำปี 2553 และการเปลี่ยนแปลงรายชื่อพื้นที่เป้าหมายของ บมจ. ทีโอที ที่เป็นโรงเรียนเอกชนให้เป็นโรงเรียนรัฐบาล : ทถ.
ระเบียบวาระที่   5   :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่   5.1  :  รายงานผลการพิจารณาร่างสัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม.
 
มติที่ประชุม  รับทราบผลการพิจารณาร่างสัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ ตามข้อ 5 ของประกาศ กทช.เรื่อง การขอความเห็นชอบสัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ พ.ศ.2549 จำนวน 6 ฉบับ ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ได้พิจารณาแล้ว ทั้งนี้ตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่   5.2  :  รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ประจำเดือนมิถุนายน 2554 :ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม. 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือมอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ประจำเดือนมิถุนายน 2554 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่   5.3  :  รายงานผลการปฏิบัติงานแทน  ลสทช. ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2554 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม 
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.นำเรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานแทน  ลสทช. ของผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา) ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2554 เสนอที่ประชุมเป็นวาระเพื่อพิจารณา ทั้งนี้ โดยให้สำนักกฎหมายจัดทำความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย เนื่องจากเป็นเรื่องกระทำการแทน ซึ่งมีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดไว้แล้ว และมีผลเป็นการยกเลิกการมอบอำนาจเดิม ตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ที่เสนอ 
ระเบียบวาระที่   5.4  :  รายงานผลการปฏิบัติงานแทน  ลสทช. ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2554 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม 
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.นำเรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานแทน  ลสทช. ของผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา) ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2554 เสนอที่ประชุมเป็นวาระเพื่อพิจารณา ทั้งนี้ โดยให้สำนักกฎหมายจัดทำความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย เนื่องจากเป็นเรื่องกระทำการแทน ซึ่งมีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดไว้แล้ว และมีผลเป็นการยกเลิกการมอบอำนาจเดิม ตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ที่เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.5   :  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบการ (รายการส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน 2554 ถึง 22 กรกฎาคม2554 ) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ) ,ศฐ. 
มติที่ประชุม  รับทราบการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบการ จำนวน 6 ราย (รายการส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน 2554 ถึง 22 กรกฎาคม 2554)  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ ดังนี้
1.  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของ บริษัท   ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และ บมจ.ทีโอที
2.  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์ประจำที่ของ บมจ.ทีโอที
3.  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตของ บมจ.ทีโอที และ บจ.ทรู อินเทอร์เน็ต
4.  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ  บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส  บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และ บจ.ทรู มูฟ 
ระเบียบวาระที่   5.6   :  การพิจารณาอนุมัติให้ บมจ.ทีโอที ดำเนินการ USO ในพื้นที่เป้าหมายของโรงเรียนที่ยังคงเหลืออยู่ ตามประกาศแผนปฏิบัติการ USO ประจำปี 2553 และ การเปลี่ยนแปลงรายชื่อพื้นที่เป้าหมายของ บมจ.ทีโอที ที่เป็นโรงเรียนเอกสารให้เป็นโรงเรียนรัฐบาล : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ) ,ทถ. 
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.นำเรื่อง การพิจารณาอนุมัติให้ บมจ.ทีโอที ดำเนินการ USO ในพื้นที่เป้าหมายของโรงเรียนที่ยังคงเหลืออยู่ ตามประกาศแผนปฏิบัติการ USO ประจำปี 2553 และ การเปลี่ยนแปลงรายชื่อพื้นที่เป้าหมายของ บมจ.ทีโอที ที่เป็นโรงเรียนเอกสารให้เป็นโรงเรียนรัฐบาล เสนอที่ประชุมเป็นวาระเพื่อพิจารณา ตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ที่เสนอ
ระเบียบวาระที่  6  :  เรื่องอื่นๆ 
ระเบียบวาระที่  6.1  :  การประชุมนานาชาติ ISMAC 2011 ณ มหาวิทยาลัยฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น : ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. 
มติที่ประชุม  อนุมัติให้บุคคลภายนอก(ผศ.ดร.เชาวน์ดิศ อัศวกุล)  ร่วมในคณะเดินทางของ ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.เพื่อเข้าร่วมประชุมการประชุมนานาชาติ ISMAC 2011 ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 3  กันยายน 2554 ณ มหาวิทยาลัยฮอกไกโด เมืองซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น ตามที่ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยเบิกค่าใช้จ่ายจากงบประมาณสำนักงาน กสทช.ปี 2554 และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป 
หมายเหตุ   กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. งดออกเสียงในวาระนี้ 
ระเบียบวาระที่  6.2  :  อนุมัติคณะเดินทางเพิ่มเติมเพื่อเข้ารับการอบรมหลักสูตร Regulating Broadcasting and Telecoms : Intermediate Course ระหว่างวันที่ 5-8 กันยายน 2554  ณ กรุงลอนดอน  ประเทศอังกฤษ : ปฏิบัติหน้าที่  รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ) ,กจ. 
มติที่ประชุม  อนุมัติบุคคลภายนอกจำนวน 2 ราย ( ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต และ ผศ.พ.ต.ท.หญิง ดร.ศิริวรรณ อนันต์โท) คณะบรรณาธิการที่ปรึกษาโครงการจัดทำไปรมาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวข้องสำหรับการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เข้าร่วมคณะเดินทางเพิ่มเติมเพื่อเข้ารับการอบรมหลักสูตร Regulating Broadcasting and Telecoms : Intermediate Course ระหว่างวันที่ 5-8 กันยายน 2554  ณ กรุงลอนดอน  ประเทศอังกฤษ  ทั้งนี้ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณการจัดอบรมหลักสูตร Regulating Broadcasting and Telecoms : Introductory Course  ภายใต้กรอบวงเงินจำนวน 6,311,000 บาท ที่ได้รับอนุมัติตามมติ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.แล้วในการประชุมครั้งที่ 22/2554 วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2554 
หมายเหตุ   กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. งดออกเสียงในวาระนี้ 
ระเบียบวาระที่   6.3   :   แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาและเตรียมเกณฑ์การอนุญาตและกำกับดูแลวิทยุบริการสาธารณะเพิ่มเติม : คณะอนุกรรมการศึกษาและเตรียมเกณฑ์การอนุญาตและกำกับดูแลวิทยุบริการสาธารณะ 
มติที่ประชุม  อนุมัติแต่งตั้ง รศ.ดร.สุรัตน์ เมธีกุล อนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และประธานคณะทำงานด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนเป็นอนุกรรมการศึกษาและเตรียมเกณฑ์การอนุญาตและกำกับดูแลวิทยุบริการสาธารณะเพิ่มเติมตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ทั้งนี้มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.นำร่างประกาศแต่งตั้งเพิ่มเติมดังกล่าวเสนอประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.เพื่อลงนามต่อไป 
หมายเหตุ   กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. งดออกเสียงในวาระนี้
ระเบียบวาระที่  6.4    :  การศึกษาดูงานด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ณ ประเทศฝรั่งเศส : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กทช. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบให้ชะลอการดำเนินการศึกษาดูงานด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ณ ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 3 - 11 กันยายน 2554 ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.เสนอ ออกไปก่อนเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ใกล้จะพ้นวาระหากมีการคัดเลือก กสทช.ชุดใหม่ได้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ประมาณกลางเดือนกันยายน 2554 จึงอาจมีความจำเป็นต้องเร่งรัดสะสางการปฏิบัติงานต่างๆ ให้แล้วเสร็จในช่วงเวลาดังกล่าว
หมายเหตุ   กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. งดออกเสียงในวาระนี้ 
ระเบียบวาระที่   6.5  :  การมอบหมาย กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เข้าร่วมการประชุม GSR ครั้งที่ 11 และการประชุม GILF ครั้งที่ 4  : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ(นายทศพรฯ) ,กร. 
มติที่ประชุม  มอบหมายให้ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เข้าร่วมการประชุม Global Symposium for Regulators (GSR) ครั้งที่ 11 และการประชุม Global Industry Leaders Forum (GILF) ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 20-23 กันยายน 2554 ณ ประเทศโคลัมเบีย ทั้งนี้ โดยมีผู้บริหารระดับสูง (ปฏิบัติหน้าที่ รสทช. นายพิทยาพลฯ) และพนักงานจากสำนักที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนัก วท.,ศฐ., พต.,และ กร. เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ตามที่สำนักงานฯ ได้พิจารณากำหนดตามหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงไว้แล้ว 
หมายเหตุ   กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. งดออกเสียงในวาระนี้

สร้างโดย  -   (25/2/2559 16:38:44)

Download

Page views: 323