สรุปมติที่ประชุม กสทช. 29/2554

รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ 
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 29/2554
วันพุธที่ 14 กันยายน  2554  เวลา  09.30  น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12  อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
 
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์            ประพิณมงคลการ    ประธานกรรมการ
2.  รองศาสตราจารย์สุธรรม         อยู่ในธรรม             กรรมการ
3.  นายสุรนันท์                         วงศ์วิทยกำจร          กรรมการ
4.  รองศาสตราจารย์พนา            ทองมีอาคม             กรรมการ
5.  นายฐากร                            ตัณฑสิทธิ์              รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ                                                                                  กสทช.(เข้าประชุมช่วงเช้า
6.  นายทศพร                           เกตุอดิศร                ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช.(เข้าประชุมช่วงบ่าย)
 
ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม
1.  พันเอก นที                            ศุกลรัตน์               ติดภารกิจ
 
เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.
1.  นายอารักษ์            โพธิทัต               ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักการประชุมและเลขานุการ
2.  นางดวงเดือน          เสวตสมบูรณ์        ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการและติดตามประเมินผล
3.  นายบุญยิ่ง             โหมดเทศน์          ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนมติและรายงานการประชุม
4.  นางอรุณ                วงศ์ศิวะวิลาส        ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนงานวาระการประชุม
5.  นางสาวกานต์ชนา    เกตุสุวรรณ           ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
6.  นางสาวสุภาวดี        สดศรี                  ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
7.  นางสาวจุฑาสินี      คำบำรุง                ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
8.  นางธันยพร           เปาทอง                พนักงานปฏิบัติการประจำส่วนงานกทช.สุธรรมฯ

 ผู้ชี้แจง
1.  นายทศพร            เกตุอดิศร             ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช.
 
ระเบียบวาระที่  1 :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.  วันนี้จะมีเรื่องที่นำเสนอ เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือภัยน้ำท่วม เพราะขณะนี้ได้เกิดภัยน้ำท่วมขึ้นในทุกภาค ทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และ ภาคกลาง ซึ่งสาหัสมาก จึงสมควรที่หน่วยงานของเราจะมีส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณเพื่อช่วยเหลือ
2.  สัปดาห์หน้าไม่มีการประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เนื่องจาก ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.   กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.   กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จะต้องเดินทางไปประชุมที่เมืองบูดาเปสต์ (Budapest) ประเทศฮังการี เพื่อ announce สำหรับการจัดงาน 19 th ITS Biennial Conference 2012 ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในปีหน้า
มติที่ประชุม  รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่  2 :  เรื่องรับรองรายงานการประชุมรับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 28/2554 วันพุธที่ 7 กันยายน 2554
มติที่ประชุม  รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ครั้งที่ 28/2554 วันพุธที่ 7 กันยายน 2554   ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ โดยให้เพิ่มเติมข้อความในมติวาระที่ 4.32 ดังนี้
1.  เพิ่มเติมข้อความว่า  “ เพื่อเป็นการทดแทนอุปกรณ์เดิม (Replace)  และเพื่อประโยชน์สาธารณะ ” ในข้อ 2 บรรทัดที่ 17ต่อท้ายคำว่า “ ทั้งนี้ ..”
2.  เพิ่มเติมมติข้อ 4 อีกหนึ่งข้อ โดยมีข้อความว่า “ โดยที่ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช.ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาเรื่องนี้เกิดความถูกต้องและเหมาะสมรอบคอบยิ่งขึ้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.นำเรื่องดังกล่าวเสนอ กสทช.เพื่อพิจารณายืนยันในมติข้างต้นอีกครั้งหนึ่งด้วย ”
ระเบียบวาระที่  3 :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 28/2554 วันพุธที่ 7 กันยายน 2554
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 28/2554 วันพุธที่ 7 กันยายน 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4 :  เรื่องเพื่อพิจารณา   
กลุ่มเรื่องที่ กทช. เสนอ         
4.1   การพิจารณาผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553(กรณีศึกษาการทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน): ประธาน กทช., คณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคฯ  
กลุ่มเรื่องที่สำนักงานฯ เสนอ   
กลุ่มเรื่องกฎหมาย
4.2   การพิจารณาข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : กม.    
กลุ่มเรื่องใบอนุญาต
ก. การขอรับใบอนุญาต/การขอขยายระยะเวลา
4.3   บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สองที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง : ปก. (ครั้งที่ 24/54)
4.4   ขอหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สามของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก. (ครั้งที่ 24/54)
 4.5   เงื่อนไขเฉพาะสำหรับใบอนุญาตแบบที่สาม การให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) (วาระต่อเนื่อง): ปก. (ครั้งที่ 24/54)
4.6    บริษัท อคิวเมนท์ จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง(บริการโทรศัพท์สาธารณะผ่านโครงข่ายไร้สายโดยใช้ SIM Card) (วาระต่อเนื่อง): ปก. (ครั้งที่ 25/2554)
4.7    บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม  (บริการโทรศัพท์สาธารณะ) (วาระต่อเนื่อง) : ปก. (ครั้งที่ 25/2554)
4.8   ผลการตรวจสอบการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม ประจำปี 2553 ของบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด : ปก.
4.9   บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ผู้รับใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่งขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบ WiFi : ปก.
4.10  แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาใบอนุญาตประกอบกิจการฯ สำหรับ TAXI : ปก.
ข. เรื่องอื่นๆ
4.11  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แจ้งความประสงค์ขอประกอบกิจการประเภทขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 800 MHz : ปก.
4.12  ผลการตรวจสอบการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลสทช. กรณีมีคำสั่งให้ระงับการใช้คลื่นความถี่ย่าน 5 GHz ในการให้บริการ และการขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม ของบริษัท
สวัสดีช้อป จำกัด (วาระต่อเนื่อง) : ปก., กม.     
4.13  การให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ย่านความถี่ 800 MHz และการขอปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ย่านความถี่ 800 MHz ของ บมจ. กสทโทรคมนาคม (วาระต่อเนื่อง) : ปก.
กลุ่มเรื่องการขอใช้ความถี่วิทยุ/ตั้งสถานีวิทยุ
4.14  บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุเดิม และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเดิมที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว : ฉก. (ครั้งที่ 12/54)
4.15  การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และยกเลิกใช้ความถี่วิทยุ (บริษัท น้ำตาลเกษตรไทย จำกัด และ บริษัทเกษตรไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล จำกัด) : ฉก. (ครั้งที่ 18/54)
4.16  การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 2.4 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 สถานี) : ฉก.        
4.17  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอรับการจัดสรรความถี่วิทยุ X-Band และตั้งสถานีภาคพื้นดินดาวเทียม SMMS (Small Multi Mission Satellite) HJ-1A เพื่อการวิจัย : ฉก. (ครั้งที่ 20/54)
4.18  การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz(บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ขอขยาย จำนวน 8 เส้นทาง) : ฉก. (ครั้งที่ 20/54)
4.19  การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz
(บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ขอขยาย จำนวน 3 เส้นทาง) : ฉก. (ครั้งที่ 20/54)
4.20  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขออนุญาตจัดสรรคลื่นความถี่ C-band ตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน และรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม : ฉก.
4.21  การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม(บริษัท ดุสิตแมนเนจเม้นท์ จำกัด) : ฉก (ครั้งที่ 20/54)
4.22  การเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดในขณะที่ใบอนุญาตหมดอายุ : ฉก. (ครั้งที่ 20/54)
4.23  องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ขออนุญาตขยาย ระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุเดิม จำนวน 3 สถานี ที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว : ฉก. (ครั้งที่ 23/2554)
4.24  การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 7.5 และ 11 GHz(บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (บมจ. ทีโอที) โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)) : ฉก.
4.25  การจัดอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นให้กับพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน กสทช. : ฉก. (ครั้งที่ 25/2554) 4.26  การตรวจสอบการใช้งานคลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคม ย่านความถี่ 2.4 GHz
และ 5 GHz ของกลุ่มบริษัทผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่อ่าวไทย : ฉก. (ครั้งที่  26/2554)
4.27  สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ย่าน VHF (Air Band) จำนวน 2 ความถี่ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสาร กับอากาศยาน : ฉก. กลุ่มเรื่องการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม
4.28  การพิจารณาดำเนินการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ : กท. (ครั้งที่ 2/54)
4.29  ขออนุญาตควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด : พต.
4.30  สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ : ศฐ. (ครั้งที่ 25/2554)
4.31  การเรียกคืนคลื่นความถี่ GSM 1900 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ตว.  (ครั้งที่ 2/54)
กลุ่มเรื่องเลขหมาย
4.32  การพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอัตราที่เพิ่มขึ้น : กบ.,คกก.กำหนดค่าปรับทางปกครองฯ (ครั้งที่ 9/54)
4.33  การชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมตามประกาศ กทช.เรื่องหลักเกณฑ์การใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ สำหรับบริการเรียกออกต่างประเทศที่ใช้รหัสบริการ : กบ. (ครั้งที่ 2/54)
4.34  เงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ : กบ. (ครั้งที่ 20/54)      
กลุ่มเรื่องการบริหารงานของสำนักงานฯ
4.35  การดำเนินการกรณีพนักงานไม่สามารถเลื่อนเงินเดือนประจำปี 2554 เนื่องจากเงินเดือนเต็มขั้นสูงของตำแหน่ง หรือมีเงินเดือนใกล้เต็มขั้นสูงของตำแหน่ง : บค.(ครั้งที่ 8/54)
4.36   ข้อเสนอโครงการประเมินมูลค่าใบอนุญาตเทคโนโลยี 4G บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz ของประเทศไทย : ปธ. (ครั้งที่ 7/54)
4.37  ความเห็นในหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าบริการสาขา Information and Communication Technology Service (ICT) : รศ. (ครั้งที่ 18/54)
4.38  การพิจารณาทบทวนร่างบันทึกการประชุมระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับ กสทช. : กร. (ครั้งที่ 26/2554)
4.39  การพิจารณาเกี่ยวกับสัญญาจ้างนายสุพจน์ เธียรวุฒิ และการแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม : บค.
กลุ่มเรื่องUSO
4.40  มาตรการช่วยเหลือการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ : ศฐ., ทถ., พต., สชท.(ครั้งที่ 10/54)
4.41  (ร่าง) แผนแม่บทการพัฒนาบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการ เพื่อสังคม (พ.ศ. 2554 – 2558) : ทถ. (ครั้งที่ 21/54)
กลุ่มเรื่องงบประมาณ/ค่าตอบแทน
4.42  การอนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อสนับสนุนโครงการ จำนวน 2 รายการ : งป.(ครั้งที่ 26/2554)
  • โครงการที่หลบภัยสึนามิและศูนย์เรียนรู้ภัยธรรมชาติเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ระยะที่ 2
  • โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนผ่านระบบออนไลน์ (E-Learning) และการศึกษาทางไกล (Tele-education) ภายใต้โครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เพื่อครอบครัวเด็กและเยาชนไทย
4.43  ค่าตอบแทน คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม : ตว. (ครั้งที่ 26/2554)
4.44  การเบิกจ่ายค่าตอบแทนในลักษณะเบี้ยประชุมสำหรับคณะอนุกรรมการย่อยในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ : คณะทำงานด้านกิจการที่ไม่ใช่คลื่นความถี่
4.45  การขอรับการสนับสนุนงบประมาณปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในการถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยโดยรอบเขตพระราชฐาน วังไกลกังวล : กจ., บป.
4.46  การชำระค่าจ้างงวดที่ 4 ของโครงการที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) : รสทช. ประเสริฐฯ, คกก.ตรวจและรับมอบงานการจ้างที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่ฯ
กลุ่มเรื่องกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
4.47  การทบทวนนโยบายในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : กส. (ครั้งที่ 7/54)
4.48  นโยบายดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 : กส.(ครั้งที่ 9/54)
4.49  ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยด้านเนื้อหารายการและโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ : กส.
4.50  ผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการแก่ผู้ได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และเรื่องหลักเกณฑ์การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของผู้ประกอบกิจการที่ดำเนินการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. .... : กส.(ครั้งที่ 24/54)
4.51  ร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กส.
กลุ่มเรื่องสถาบัน
4.52  การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี และการจ่ายค่าตอบแทนประจำปี 2552 ของผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ : คกก.กำกับการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ (ครั้งที่ 8/54)    
4.53  การต่อสัญญาการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มภารกิจเลขานุการกองทุนฯ : บค. (ครั้งที่ 14/54)
4.54  ระเบียบ กทช. ว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2550 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ (ครั้งที่ 25/2554)    
4.55  เงื่อนไขการให้บริการคงสิทธิเลขหมายมีลักษณะที่ขัดต่อกฎหมาย : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ (ครั้งที่ 16/54)
4.56  การร้องเรียนปัญหา SMS เข้าข่ายการพนัน : คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม (ครั้งที่ 24/54)
4.57  โครงการความร่วมมือสำรวจตลาดสื่อสารของประเทศไทย ประจำปี 2554 และคาดการณ์ ปี 2555 : กลุ่มภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาฯ (ครั้งที่ 25/2554)
4.58  รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการ กสทช. : สพท.
4.59  ข้อร้องเรียนของนายสมชัย เศรษฐอนันต์ กรณีบริษัท ทรู มูฟ จำกัด เรียกเก็บค่าบริการเสริม ทั้งที่ไม่ได้มีการใช้บริการ : สบท.
4.60  ข้อร้องเรียนของนางอำพร ฉิมคุณ กรณีบริษัท ทรู มูฟ จำกัด เรียกเก็บค่าบริการทั้งที่ไม่มีการใช้บริการ และการให้ข้อมูลไม่ชัดเจน : สบท.
4.61  ข้อร้องเรียนของนางแววดาว พงษ์สระพัง กรณี บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลสมัลติมีเดีย จำกัด ไม่คืนเงินคงเหลือเมื่อยกเลิกบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า : สบท.
4.62  ข้อร้องเรียนของนายศราวุธ แวงวรรณ กรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำอันมีลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด : สบท.
กลุ่มเรื่องเสนอใหม่  
4.63    โครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม : กจ.
4.64    การกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2554 : ลสทช., บค.
4.65    โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ICT เพื่อเยาวชน : ทถ.
4.66    (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ : คณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดทำคุณภาพการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT, วท.
4.67    แนวทางในการคืนคลื่นความถี่ เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม : คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อม เกี่ยวกับการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ฯ
4.68    บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ขอรับจัดสรรความถี่วิทยุสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมในย่าน 894-897.5 MHz และ 939-942.5 MHz : ปก.
4.69    การจัดทำ Fact Sheet เรื่อง MVNO : ปก.
4.70    ค่าธรรมเนียบใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม เพิ่มเติมประจำปี 2553 ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.71   การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามประจำปี 2553 : ปก.
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่  4.1  :  การพิจารณาผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิค ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (กรณีศึกษาการทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน) : ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช., คณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคฯ (ครั้งที่ 28/54)

มติที่ประชุม   ที่ประชุมได้พิจารณารายงานผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิค ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (กรณีศึกษาการทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน) แล้วเห็นว่า มีประเด็นที่สมควรต้องพิจารณาและรับฟังความเห็นจากกรรมการกลั่นกรองท่านอื่นในรายละเอียดอย่างรอบคอบในทุกๆด้านด้วย ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นควรให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แต่ละท่านในฐานะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาให้ความเห็นให้ครบถ้วนก่อน แล้วให้ สำนักงาน กสทช. รวบรวมข้อคิดเห็นดังกล่าวเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.2 :  การพิจารณาข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ), กม.        
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การพิจารณาข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ของ บมจ.ทีโอที ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งได้รับมอบอำนาจตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 โดยยืนยันให้ บมจ.ทีโอที ปรับแก้เงื่อนไขในสัญญาให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายและเป็นไปตามมติ กทช. ครั้งที่ 31/2553 เมื่อวันที่ 27 กันยายนv2553 เนื่องจากไม่มีข้อเท็จจริงเกิดขึ้นใหม่และเป็นการพิจารณาภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บมจ.ทีโอที เพื่อดำเนินการแก้ไขแบบสัญญาให้เป็นไปตามมติที่ประชุม รวมทั้ง กำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายและประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 อย่างเคร่งครัดต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.3 :  บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  อนุมัติให้บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง โดยมีระยะเวลาการอนุญาต 5 ปี เพื่อให้บริการ
1) บริการรับส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (Satellite Up-Link /Down-Link Service) เพื่อให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล
2) บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ใช้จานสายอากาศขนาดเล็กเพื่อให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล (Private Very Small Aperture Terminal (VSAT) Service)
3) บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมเพื่อให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล และ
4) บริการเชื่อมโยงภาคพื้นโลก (Terrestrial Link Service) เพื่อให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล ทั้งนี้ โดยให้บริการด้านโทรคมนาคมเท่านั้น ห้ามมิให้บริการด้านกิจการกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยมีรายละเอียดของเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้บริษัทฯ เช่าใช้คลื่นความถี่วิทยุย่าน C-band สำหรับใช้ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ในการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ใช้จานสายอากาศขนาดเล็กเพื่อให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล Very Small Aperture Terminal (VSAT) Service) บริการรับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (Up-Link /Down-Link) และบริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมเพื่อให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล ดังนี้
1.1)  บริษัทฯ ต้องเช่าใช้ช่องสัญญาณวงจรจากดาวเทียมไทยคม ในการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ใช้จานสายอากาศขนาดเล็กเพื่อให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล (Very Small Aperture Terminal (VSAT) Service) บริการรับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (Up-Link /Down-Link) และบริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมเพื่อให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล หากประสงค์จะเช่าใช้ช่องสัญญาณวงจรดาวเทียมต่างชาติมาให้บริการ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อน แล้วจึงเสนอ กสทช. พิจารณาอนุมัติต่อไป
1.2)  บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสาร และสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน ที่คณะกรรมการ จะประกาศกำหนดให้ในอนาคต (Subject to Future Regulation)
1.3)  บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และต้องชำระค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุตามประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่องการกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ
1.4)  ไม่อนุญาตให้ บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ดำเนินการให้บริการในลักษณะที่ผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่อออกต่างประเทศได้โดยตรง
1.5)  การใช้คลื่นความถี่ เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ สำหรับการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมของ บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของประกาศ กทช. เรื่อง การตรวจสอบและรับรองตัวอย่างมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ ประกาศ กทช. เรื่อง เรื่องข้อกำหนดทางเทคนิคของการใช้ความถี่วิทยุร่วมกันระหว่างกิจการประจำที่ผ่านดาวเทียม(Fixed Satellite Service) ที่ใช้วงโคจรประจำที่ (Geostationary-Satellite Orbit)
บริษัทฯ ต้องขออนุญาต กสทช. ทุกครั้งก่อนที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงการใช้คลื่นความถี่ การย้าย Transponder การย้ายดาวเทียม การเพิ่มหรือลดความกว้างแถบความถี่ การย้ายสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน การตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน และจะต้องได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
1.7)  บริษัทฯ จะต้องดำเนินกิจการเฉพาะโทรคมนาคม โดยไม่ประกอบกิจการด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
2.  บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ต้องปฏิบัติตามประกาศ กทช. ว่าด้วยมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือมาตรการเกี่ยวกับการแข่งขันตามที่คณะกรรมการกำหนดเพิ่มเติม (Subject to Future Regulation)
3.  หากในอนาคตการให้บริการของบริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด มีการขยายขอบเขตการให้บริการเข้าข่ายลักษณะการประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม จะต้องปรับใบอนุญาตของบริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด เป็นแบบที่สามต่อไป
4.  โดยที่ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช.ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาเรื่องนี้เกิดความถูกต้องและเหมาะสมรอบคอบยิ่งขึ้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.นำเรื่องนี้ เสนอ กสทช.เพื่อพิจารณายืนยันในมติข้างต้นอีกครั้งหนึ่งด้วย
ระเบียบวาระที่  4.4  :  ขอหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  ไม่อนุมัติให้ บมจ.ทีโอที นำรายการค่าใช้จ่ายจากการถวายบริการส่วนพระองค์ และรายการค่าความเสียหายจากอุทกภัยจำนวนเงินรวม 139,720,538.25 บาท ไปหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม ประจำปี 2553 ตามที่บริษัทฯ เสนอขอ
ระเบียบวาระที่  4.5  :  เงื่อนไขเฉพาะสำหรับใบอนุญาตแบบที่สาม การให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปจัดทำบทวิเคราะห์การประเมินผลกระทบ (RIA) ในการกำกับดูแลใหม่ โดยให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณเพื่อให้มีความชัดเจน และครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โดยให้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ RIA เป็นเอกสาร (Paper) มิใช่ในรูปแบบที่เป็นตารางแล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่ 4.6  :  บริษัท อคิวเมนท์ จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง (บริการโทรศัพท์สาธารณะผ่านโครงข่ายไร้สายโดยใช้  SIM Card) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ) , ปก.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่เรื่อง บริษัท อคิวเมนท์ จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง (บริการโทรศัพท์สาธารณะผ่านโครงข่ายไร้สายโดยใช้  SIM Card)  เป็นเรื่องเชิงนโยบายที่จะมีผลผูกพันในอนาคต กอปรกับขณะนี้วุฒิสภาได้มีการคัดเลือก กสทช. จำนวน 11 ท่าน เสร็จเรียบร้อยและอยู่ในขั้นตอนการนำความกราบบังคับทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องดังกล่าว พร้อมความเห็น กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอที่ประชุม กสทช. ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.7  :  บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม (บริการโทรศัพท์สาธารณะ) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.  
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่เรื่อง บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำกัดขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม (บริการโทรศัพท์สาธารณะ) เป็นเรื่องเชิงนโยบายที่จะมีผลผูกพันในอนาคต กอปรกับขณะนี้วุฒิสภาได้มีการคัดเลือก กสทช. จำนวน 11 ท่าน เสร็จเรียบร้อยและอยู่ในขั้นตอนการนำความกราบบังคับทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องดังกล่าว พร้อมความเห็น กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอที่ประชุม กสทช. ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.8  :  ผลการตรวจสอบการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม ประจำปี 2553  ของ บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด  : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม            
1.  รับทราบผลการตรวจสอบการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ประจำปี 2553  ของ บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด  ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
2.  ไม่อนุมัติให้ บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด นำส่วนลดจ่าย จำนวน 434,575.95 บาท หักออกจากรายได้ในการคำนวณค่าธรรมเนียม ดังนั้น สำนักงาน กสทช.จึงไม่ต้องจ่ายคืนเงินค่าธรรมเนียมจำนวน 8,691.52 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช. พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)
ระเบียบวาระที่  4.9  :  บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ผู้รับใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบ WiFi : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  อนุมัติให้ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบ WiFi ความถี่ย่าน 2.4GHz ที่มีกำลังส่งe.i.r.p ไม่เกิน 100 มิลลิวัตต์  ภายใต้ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง ออกไปจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 โดยกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทฯ ต้องเปิดให้บริการภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 โดยมีแผน Roll-out ที่ชัดเจน และให้บริษัทฯ สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้ทราบเป็นรายเดือนจนกว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ อย่างไรก็ดี หากบริษัทยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามที่ได้มีมติอนุญาตให้แล้วในครั้งนี้ ให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อสิ้นสุดการอนุญาตในการให้บริการดังกล่าวของ บจ. ดีแทค เนทเวอร์ค ต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.10  :  แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาใบอนุญาตประกอบกิจการฯ สำหรับ TAXI : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  มอบหมายให้ สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปจัดทำบทวิเคราะห์เพิ่มเติมแล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง  โดยมีประเด็นสรุปได้ว่า การอนุญาตให้ผู้ที่ประสงค์ขอรับใบอนุญาตสามารถใช้เทคโนโลยีหรือบริการอื่นในการให้บริการสำหรับรถยนต์รับจ้าง รวมทั้งการพิจารณากำหนดกระบวนการออกใบอนุญาตดังกล่าวให้เป็นแบบ Automatic license นั้น  จะขัดต่อประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม สำหรับรถยนต์รับจ้างฯ พ.ศ.2552 ที่มีผลใช้บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันหรือไม่ นอกจากนี้ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการเข้าไปดำเนินการใดๆในขณะที่บริษัทเอกชนเป็นผู้ให้บริการอยู่แล้ว ว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่เป็นการแทรกแซงหรือแข่งขันกับการให้บริการของภาคเอกชน ตลอดจนจะไม่เป็นการเข้าไปหาผลประโยชน์ขององค์กรภาครัฐจากการดำเนินการให้บริการใดๆ แก่ประชาชน
ระเบียบวาระที่  4.11 :  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แจ้งความประสงค์ขอประกอบกิจการประเภทขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 800 MHz : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ขณะนี้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.อยู่ระหว่างการพิจารณากลั่นกรองเพื่อให้ความเห็นต่อรายงานผลการวิเคราะห์กรอบการปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ดังนั้น เพื่อให้เกิดความรอบคอบ และสอดคล้องตามกรอบการปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 ดังกล่าว ที่ประชุมจึงมีมติเห็นสมควรให้รอความชัดเจนในการพิจารณากำหนดกรอบการปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 กรณี MVNO ก่อนที่จะมีการพิจารณาเรื่อง บมจ.กสท โทรคมนาคม ขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 800MHz ต่อไป  ตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.    และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
ระเบียบวาระที่  4.12  :  ผลการตรวจสอบการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่ง ลสทช.กรณีมีคำสั่งให้ระงับการใช้คลื่นความถี่ย่าน 5 GHz ในการให้บริการ และการขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม ของบริษัท สวัสดีช้อป จำกัด :ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก. , กม.
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม ของ บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
2. ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากบริษัทฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นจึงมีมติให้รับอุทธรณ์ของ บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด ไว้พิจารณา และมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้งานคลื่นความถี่ 5GHz ที่บริษัทฯ ได้แจ้งข้อมูลซึ่งมีผลให้ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุให้การออกคำสั่งเปลี่ยนไปให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาภายใน 30 วัน   
ระเบียบวาระที่  4.13  :  การให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ย่านความถี่ 800 MHz และการขอปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ย่านความถี่ 800 MHz ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นว่าเอกสารเรื่อง การให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ย่านความถี่ 800 MHz และการขอปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ย่านความถี่ 800 MHz ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ที่สำนักงาน กสทช.นำเสนอในครั้งนี้นั้น ยังไม่ครบถ้วนโดยขาดความเห็นกรรมการกลั่นกรอง ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปดำเนินการรวบรวม และจัดทำเอกสารการเสนอเรื่อง การให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ย่านความถี่ 800 MHz และการขอปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ย่านความถี่ 800 MHz ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ใหม่โดยมีความเห็นกรรมการกลั่นกรองให้ครบถ้วนตามข้อทักท้วงของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พร้อมผลการตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขใบอนุญาตแบบที่สามของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 24/2554  แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง   
ระเบียบวาระที่  4.14  :  บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขออนุญาต ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุเดิม และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเดิมที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าเนื่องจากเป็นการขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเพิ่มเติม จำนวน 1 สถานี  โดยใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเดิม และความถี่วิทยุเดิมที่ได้รับอนุญาต ( 2360/2454 MHz) ความกว้างแถบความถี่ 830 KHz กำลังส่ง 3.16 W  ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ โดย บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station) จำนวน 1 สถานี และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการประจำที่ (Fixed Service) เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีหลักบนแท่นผลิตปิโตรเลียมหลักและสถานีย่อยอยู่กลางทะเลในอ่าวไทย ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยกำหนดเงื่อนไขการอนุญาต ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2554 และขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุฯ ต่อไปได้อีกจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2555 (เนื่องจากการอนุญาตตามมติข้างต้นกระทำ ณ วันที่ 14 กันยายน 2554 ซึ่งเกินกำหนดการขอขยายระยะเวลาแต่เดิมคือวันที่ 11 กันยายน 2554 ไปแล้ว) ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498  หรือให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม
2.  หากการใช้ความถี่วิทยุก่อให้เกิดการรบกวนกับข่ายสื่อสารอื่นที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ โดยบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จะต้องเป็นผู้แก้ไขการรบกวนหรือระงับการใช้งานทันที 
3.  ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.  จะต้องปรับเปลี่ยนการใช้ความถี่วิทยุดังกล่าว เมื่อ กสทช.กำหนดกรอบเวลาและแนวทางในการเปลี่ยนผ่านการใช้งานย่านความถี่วิทยุ 2300-2690 MHz เพื่อรองรับการใช้งาน IMT ในอนาคตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
5.  ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรความถี่วิทยุนี้
6.  ให้ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) นำเรื่องนี้เสนอให้ที่ประชุม กสทช.พิจารณายืนยันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช.ชุดใหม่แล้ว
อนึ่ง โดยที่ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช.ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาอนุมัติเรื่องนี้เกิดความถูกต้องและเหมาะสมรอบคอบยิ่งขึ้น จึงสมควรมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.นำเรื่องดังกล่าวเสนอ กสทช. เพื่อพิจารณายืนยันในมติข้างต้นอีกครั้งหนึ่งด้วย  
หมายเหตุ  กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นว่า กรณีเป็นการขอตั้งสถานีวิทยุฯ และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในคลื่นความถี่ย่าน 2.3-2.4 GHz เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารสำหรับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยแต่การใช้คลื่นดังกล่าวใกล้เคียงกับการขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.5 GHz ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ศูนย์การแพทย์ฯ ซึ่งที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีมติว่าไม่อาจพิจารณาการขอขยายระยะเวลาการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวได้ เนื่องจากเนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการ IMT ย่าน 2.1 GHz เป็นการชั่วคราว และคลื่นความถี่ดังกล่าว เป็นคลื่นความถี่ที่มีลักษณะเดียวกัน                                    
ระเบียบวาระที่  4.15  :  การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและยกเลิกใช้ความถี่วิทยุ (บริษัท น้ำตาลเกษตรไทย จำกัด และ บริษัท เกษตรไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล จำกัด)  :  ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม              
1.  อนุมัติให้ บจ.น้ำตาลเกษตรไทย ยกเลิกการใช้ความถี่วิทยุ 142.050 MHz ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม จำนวน 7 สถานี ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดประจำที่ จำนวน 7 เครื่อง ใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม จำนวน 7 ฉบับ และใบอนุญาตให้ใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม จำนวน 7 ฉบับ ทั้งนี้ ให้ส่งคืนใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ให้สำนักงาน กสทช. ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจาก กสทช. ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
2.  ไม่อนุมัติให้ บจ.เกษตรไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล ตั้งสถานีฐาน (Base Station) จำนวน 7 สถานี  และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุ 142.050 MHz ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 kHz เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารด้านเกษตรกรรมและการรักษาความปลอดภัย ตามที่บริษัทฯ ร้องขอ ทั้งนี้ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าโดยที่ บจ.น้ำตาลเกษตรไทย  ได้ขอยกเลิกการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ดังนั้นจึงอาจเข้าข่ายตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ที่ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับใบอนุญาต จะโอนแก่กันมิได้ ซึ่งหาก บจ.เกษตรไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล ยังมีความประสงค์ที่จะขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุ  142.050 MHz ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 kHz เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารด้านเกษตรกรรมและการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งขอตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบกดังกล่าว จะต้องดำเนินการยื่นประมูลคลื่นความถี่ตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ต่อไป
หมายเหตุ  กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นควรอนุมัติให้บจ.เกษตรไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล ตั้งสถานีฐาน (Base Station) จำนวน 7 สถานี  และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุ 142.050 MHz ระบบVHF/FM ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 kHz เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารด้านเกษตรกรรมและการรักษาความปลอดภัย ได้ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าบริษัทได้ยื่นเรื่องขอรับใบอนุญาตมาตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเป็นกรณีที่ประกอบกิจการเดิม โดยเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ และเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่  แต่ยังคงใช้คลื่นความถี่เดิม และสถานที่ตั้งบริษัทยังอยู่ที่เดิม
ระเบียบวาระที่  4.16  :  การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 2.4 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 สถานี) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.       
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าแม้ว่า บมจ.ทีโอที จะยังมีความจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่วิทยุย่าน 2.4 GHz เพื่อขยายการให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตามโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กสทช.  บมจ.ทีโอที  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม แต่โดยที่การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุย่าน 2.4 GHz  ตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station) จำนวน 2 สถานี และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการประจำที่ (Fixed Service)  ตามที่ได้รับอนุญาต (คู่ที่ 3 และ 9 ตาม Recommendation ITU-R F.746-3 annex1)  ระบบ OFDMA2FDD ความกว้างแถบความถี่ต่อช่องสัญญาณไม่เกิน 4 MHz ได้สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2554  กอปรกับมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 กำหนดให้ผู้ที่จะประสงค์จะใช้คลื่นความถี่จะต้องยื่นประมูลคลื่นความถี่   ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติไม่อนุมัติให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 2.4 GHz ตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station) จำนวน ๒ สถานี และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการประจำที่ (Fixed Service)  โดยให้ใช้ย่านความถี่วิทยุ ๒.๔ GHz  จำนวน 2 คู่ (คู่ที่ 3 และ 9 ตาม Recommendation ITU-R F.746-3 annex1) ระบบ OFDMA/FDDความกว้างแถบความถี่ต่อช่องสัญญาณไม่เกิน 4 MHz เพื่อให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ด้วยบริการเสียงและอินเทอร์เน็ต  ตามที่บริษัทฯเสนอขอ
ระเบียบวาระที่  4.17   :   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอรับการจัดสรรความถี่วิทยุ X-Band  และตั้งสถานีภาคพื้นดินดาวเทียม SMMS (Small Multi Mission Satellite) HJ-1A เพื่อการวิจัย : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.                  
มติที่ประชุม   ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากการขอรับจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุ X-Band และตั้งสถานีภาคพื้นดินดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็กSMMS (Small Multi Mission Satellite) HJ-1A Satellite Ground Station ในการรับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมสำรวจโลกในการวิจัยและการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติภารกิจในหน่วยงานภาครัฐของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ยังไม่เคยจัดสรรให้มีการใช้งานมาก่อน ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติไม่อนุมัติจัดสรรความถี่วิทยุ X-Band  และตั้งสถานีภาคพื้นดินดาวเทียม SMMS (Small Multi Mission Satellite) HJ-1A เพื่อการวิจัย ตามที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสนอขอ     
ระเบียบวาระที่   4.18  :  การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ขอขยาย จำนวน 8 เส้นทาง) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก
มติที่ประชุม   มอบหมายให้ สำนักงาน กสทช.รับประเด็นข้อคิดเห็นที่ประชุมไปจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในประเด็นเรื่อง การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz เป็นสิทธิของบมจ.ทีโอทีใช่หรือไม่  และการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวกระทบต่อผู้ใช้บริการมากน้อยเพียงใด  รวมทั้งรายละเอียดข้อมูลลำดับเหตุการณ์ของการดำเนินการเรื่องนี้ (Chronicle) ทั้งหมด ทั้งนี้ เนื่องจาก  บมจ.ทีโอที ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2553 และบริษัทฯ ก็ได้มีหนังสือลงวันที่ 22 ตุลาคม 2553 ขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่วิทยุดังกล่าวมาตามขั้นตอนแล้วก่อนวันหมดอายุ แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.19  :  การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ขอขยาย จำนวน 3 เส้นทาง) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม   มอบหมายให้ สำนักงาน กสทช.รับประเด็นข้อคิดเห็นที่ประชุมไปจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในประเด็นเรื่อง การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz เป็นสิทธิของบมจ.ทีโอทีใช่หรือไม่  และการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวกระทบต่อผู้ใช้บริการมากน้อยเพียงใด  รวมทั้งรายละเอียดข้อมูลลำดับเหตุการณ์ของการดำเนินการเรื่องนี้ (Chronicle) ทั้งหมด ทั้งนี้ เนื่องจาก  บมจ.ทีโอที ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 และบริษัทฯ ก็ได้มีหนังสือลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่วิทยุดังกล่าวมาตามขั้นตอนแล้วก่อนวันหมดอายุ แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.20  :  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขออนุญาตจัดสรรคลื่นความถี่ C-band ตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน และรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การขออนุมัติจัดสรรคลื่นความถี่ C-band ตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน และรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ และยังไม่ได้ดำเนินการขอใช้คลื่นความถี่มาก่อน จึงมีมติไม่อนุมัติ โดยเห็นควรให้ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินกระบวนการให้ถูกต้องก่อน
ระเบียบวาระที่  4.21 :  การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท ดุสิตแมนเนจเม้นท์ จำกัด)  : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช.  (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม  อนุมัติให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ตั้งสถานีฐาน (Base Station) จำนวน 1 สถานี และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุ 149.075 MHz ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 kHzเพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบติดตามตัวระบบตัวเลขและ/หรือตัวอักษร (Private Digital Display) แก่บริษัท ดุสิต แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้เช่าใช้บริการ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขอใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
2.  ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ชนิดประจำที่ กำลังส่งไม่เกิน 1 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และเครื่องรับวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ประเภทเครื่องลูกข่ายวิทยุติดตามตัว ชนิดพกพา จำนวน 20 เครื่อง
3.  เครื่องวิทยุคมนาคมในข้อ 2 ต้องเป็นประเภทผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) และเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
4.  ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
5.  บมจ. กสท โทรคมนาคม จัด (มหาชน) จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตนี้    
6.  ให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  ติดต่อสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม และใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว ให้บริษัทดุสิต แมนเนจเม้นท์  จำกัด
หมายเหตุ   “อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)    และ  บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม  ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว  ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น”
หมายเหตุ   ให้สำนักงาน กสทช.นำเรื่องนี้เสนอที่ประชุม กสทช.เพื่อพิจารณายืนยันมติข้างต้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช. เรียบร้อยแล้ว                          
ระเบียบวาระที่  4.22 :  การเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดในขณะที่ใบอนุญาตหมดอายุ :  ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม  ไม่เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าปรับโดยคิดในอัตราร้อยละ๕ ของอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตนั้นในการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดหากมาดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตฉบับใหม่ในขณะที่ใบอนุญาตหมดอายุลงแล้วแต่มีการยื่นคำขอและได้รับใบอนุญาตนั้นๆถูกต้องตามกฎหมายในช่วงเวลาที่กระทำผิด ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการให้เป็นไปตามพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 โดยเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตจะพิจารณาเปรียบเทียบปรับในอัตราร้อยละ 25 ของของอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตนั้น ต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.23 :  องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุเดิม จำนวน 3 สถานี  ที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช.  (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม   ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าเนื่องจากเป็นการขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุเดิมย่าน VHF จำนวน 3 ความถี่ ที่ได้รับอนุญาตไว้แล้วออกไปอีก 1 ปี เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารและรายงานข่าวในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในภารกิจขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) แต่เนื่องจากระยะเวลาล่วงเลยมากว่า 1 ปีเศษแล้ว ส.ส.ท. มิได้มีการใช้งานความถี่วิทยุดังกล่าว และมิได้มีการขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและตั้งสถานีวิทยุคมนาคมตามที่ได้รับอนุญาตไว้ ดังนั้น แสดงว่า ส.ส.ท.ไม่มีความจำเป็นที่จะใช้ความถี่วิทยุดังกล่าว แต่มีความต้องการที่จะขอรับการจัดสรรความถี่วิทยุไว้ในครอบครองโดยมิได้ใช้งานแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักงาน กสทช.ดังต่อไปนี้
1.  ให้ยกเลิกการอนุญาตให้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ใช้ความถี่วิทยุ 164.765  165.675 และ 169.675 MHz ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 kHz ที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว  ตามหนังสือสำนักงาน กทช.ที่ ทช.3200/1078 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553
2.  ให้สำนักการคลัง สำนักงาน กสทช.คืนเงินค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุให้ ส.ส.ท.เป็นจำนวนเงิน 4,800 บาท ( สี่พันแปดร้อยบาทถ้วน) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตราร้อยละ 7 เป็นจำนวนเงิน 336 บาท และ ค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุที่เพิ่มขึ้น เป็นจำนวนเงิน 96 บาท ตามที่ได้ชำระไว้แล้ว
หมายเหตุ   ให้สำนักงาน กสทช.นำเรื่องนี้เสนอที่ประชุม กสทช.เพื่อพิจารณายืนยันมติข้างต้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช. เรียบร้อยแล้ว
ระเบียบวาระที่  4.24 :  การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 7.5 และ 11 GHz  (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (บมจ. ทีโอที) โดยบริษัท แอดวานซ์   อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.
หมายเหตุ   มอบหมายให้ สำนักงาน กสทช.รับประเด็นข้อคิดเห็นที่ประชุมไปจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในประเด็นเรื่อง การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7, 7.5 และ 11 GHz บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  เป็นสิทธิของ บมจ.ทีโอที ใช่หรือไม่  และการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวกระทบต่อผู้ใช้บริการมากน้อยเพียงใด  รวมทั้งรายละเอียดข้อมูลลำดับเหตุการณ์ของการดำเนินการเรื่องนี้ (Chronicle) ทั้งหมด ทั้งนี้ เนื่องจาก  บมจ.ทีโอที ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่วิทยุย่าน 6.7, 7.5 และ 11 GHz จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2554 และบริษัทฯ ก็ได้มีหนังสือลงวันที่ 23 มีนาคม 2554 ขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่วิทยุดังกล่าวมาตามขั้นตอนแล้วก่อนวันหมดอายุ แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.พิจารณาต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.25  :  การจัดอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นให้กับพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน กสทช. :ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม  โดยที่กรณีการจัดอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นให้กับพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน กสทช. โดยยกเว้นการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าวจากผู้สมัครเข้ารับการอบรมและสอบฯ ตามข้อเสนอของสำนักงาน กสทช.นั้น เป็นเหตุให้ต้องใช้จ่ายเงินจากงบประมาณของสำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการซึ่งยังขาดรายละเอียดดังกล่าวอยู่ ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาของ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ในเรื่องนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปด้วยความรอบคอบมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปดำเนินการตามกระบวนการ และขั้นตอนการพิจารณารายละเอียดการใช้จ่ายเงินงบประมาณในการจัดอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นให้กับพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน กสทช. ให้ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการงบประมาณที่เกี่ยวข้องก่อน แล้วจึงนำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  เพื่อพิจารณาอนุมัติอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.26  :  การตรวจสอบการใช้งานคลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคม ย่านความถี่ 2.4 GHz และ 5 GHz ของกลุ่มบริษัทผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่อ่าวไทย : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการใช้งานคลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคม ย่านความถี่ 2.4 GHz และ 5GHz ของบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ณ พื้นที่ผลิตปิโตรเลียมเอราวัณ ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่   4.27 :  สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ย่าน VHF (Air Band) จำนวน ๒ ความถี่ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกับอากาศยาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าเนื่องจากเป็นกรณีเรื่องการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการเดินอากาศ ซึ่งเป็นประโยชน์สาธารณะและเป็นกิจการที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติดังนี้
1.  อนุมัติจัดสรรความถี่วิทยุให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ความถี่ คือ 121.150 และ 123.150 MHzระบบ VHF/AM ความกว้างแถบคลื่นความถี่ไม่เกิน 6 KHz ในกิจการเคลื่อนที่ทางการบิน (Aeronautical Mobile Service) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารและประสานงานระหว่างอากาศยาน-อากาศยาน และอากาศยาน-สถานีภาคพื้นดิน โดยกำหนดมีเงื่อนไข ดังนี้
1.1 ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าว เป็นระยะเวลา ๑ ปี และการขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ. 2498
1.2 หากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้ความถี่วิทยุที่ได้รับการจัดสรรภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับการจัดสรรความถี่วิทยุ ให้การจัดสรรความถี่วิทยุนั้นเป็นอันสิ้นผล เว้นแต่ กสทช. เห็นควรกำหนดเป็นอย่างอื่น แล้วแต่กรณี
1.3  จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.4  ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรความถี่วิทยุนี้
2.  อนุมัติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งสถานีทางการบิน (Aeronautical Station) จำนวน 9 สถานี และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางการบิน (Aeronautical Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุตามข้อ 1. เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารและประสานงานระหว่างอากาศยาน-อากาศยาน อากาศยาน-สถานีภาคพื้นดิน โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
2.1  ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/AM ชนิดประจำที่ กำลังส่งไม่เกิน 200 วัตต์ (AM) จำนวน 9 เครื่อง     
2.2  เครื่องวิทยุคมนาคม จะต้องเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
2.3  จะต้องปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
3.  ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยืนยันการยินยอมผูกพันตามเงื่อนไขในข้อ 1 และ ข้อ 2. เป็นหนังสือภายในเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กสทช. หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้การอนุญาตในครั้งนี้เป็นอันสิ้นผล
หมายเหตุ    ให้สำนักงาน กสทช.นำเรื่องนี้เสนอที่ประชุม กสทช.เพื่อพิจารณายืนยันมติข้างต้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช. เรียบร้อยแล้ว                 
ระเบียบวาระที่ 4.28  :  การพิจารณาดำเนินการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), กท.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่เรื่องการพิจารณาดำเนินการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ เป็นเรื่องเชิงนโยบายที่จะมีผลผูกพันในอนาคต กอปรกับขณะนี้วุฒิสภาได้มีการคัดเลือก กสทช. จำนวน 11 ท่าน เสร็จเรียบร้อยและอยู่ในขั้นตอนการนำความกราบบังคับทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดังนั้น จึงมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องดังกล่าว พร้อมความเห็น กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอที่ประชุม กสทช. ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.29  :  ขออนุญาตควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท ทรู  อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด: ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายพิทยาพลฯ), พต.
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบรายงานประกอบคำขออนุญาตควบรวมกิจการโดย บริษัท  แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (ที่ปรึกษาอิสระ) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
2.  อนุญาตการควบรวมกิจการ ระหว่าง บริษัท ทรู มูฟ จำกัด และ บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นไปตามข้อ 9 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการการควบรวมและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 โดยบริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงาน กสทช.ได้จัดส่งรายงานความเห็นต่อการควบรวมกิจการ ระหว่าง บริษัท ทรู มูฟ จำกัด และ บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการแบบแนวตั้งตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง    (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ครบถ้วนแล้วตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.รับข้อคิดเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ โดยต้องมุ่งเน้นให้มีการจัดทำบทวิเคราะห์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ในการพิจารณากรณีการควบรวมกิจการสำหรับรายอื่นๆ ด้วยในอนาคตทั้งในการวิเคราะห์แบบแนวตั้ง (Vertical) และ แนวนอน (Horizontal) ตามข้อ 7 (4) และ (5) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการการควบรวมและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553
ระเบียบวาระที่ 4.30 :  สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ : ศฐ.               
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
2.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ยังมีความเห็นกรรมการกลั่นกรองในเรื่อง การปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศ กสทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ ที่ยังไม่สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.รับความเห็นดังกล่าวไปศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะและได้ข้อสรุปที่เหมาะสม แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่งในประเด็นต่างๆ ดังนี้
2.1  เนื่องจากในปัจจุบันอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย มีระดับการแข่งขันอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงประกอบกับตลาดยังคงมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในขณะนี้การดำเนินนโยบายกำกับดูแลแบบผ่อนคลาย โดยการพิจารณาใช้อัตราขั้นสูงที่สะท้อนต้นทุนผู้ประกอบการ SMP ในการกำกับดูแลเฉพาะผู้ประกอบการ SMP นั้นจึงเป็นสิ่งที่หมาะสม อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การกำกับดูแลอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และทันการณ์ จึงสมควรให้สำนักงาน กสทช. กำหนดระยะเวลาเพื่อทบทวนการกำหนดอัตราขั้นสูงเป็นรายปี (Annual Price Cap Review) รวมทั้งให้ติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดอย่างใกล้ชิดและจัดทำระบบฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประกอบการวิเคราะห์เพื่อกำหนดทิศทางการกำกับดูแลอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในระยะต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.2  ประเด็นการกำหนดระยะเวลาให้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการตามอัตราขั้นสูงนั้น เห็นควรให้มีผลใช้บังคับไม่เกิน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับ
2.3  กรณีที่สำนักงาน กสทช.เสนอว่า “ เห็นควรให้มีการกำหนดอัตราขั้นสูงเพื่อกำกับดูแลเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็น SMP ที่อัตราขั้นสูงของค่าบริการที่ระดับ 0.99 บาทต่อนาที นั้น” ไม่เห็นสมควรด้วย เนื่องจากในกรณีการบังคับใช้อัตราขั้นสูงของค่าบริการนี้ กทช.เคยมีมติครั้งที่ 39/2553 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553 โดยเห็นชอบให้กำหนดอัตราขั้นสูงใหม่ และให้บังคับใช้กับผู้รับใบอนุญาตการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ทุกราย ไว้อย่างชัดเจนแล้ว ดังนั้น จึงไม่สมควรให้เป็นไปตามข้อเสนอของสำนักงาน กสทช.
ระเบียบวาระที่  4.31  :  การเรียกคืนคลื่นความถี่ GSM 1900 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายทศพรฯ),  ตว.  
มติที่ประชุม   ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าโดยที่เรื่องการเรียกคืนคลื่นความถี่ GSM 1900 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ในการเจรจากับ บมจ.ทีโอที เพื่อเรียกคืนคลื่นความถี่ดังกล่าวจนถึงปัจจุบันซึ่งยังไม่เสร็จสิ้น  ในขณะที่ปัจจุบัน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มีผลบังคับใช้แล้ว กอปรกับขณะนี้กระบวนการแต่งตั้ง กสทช.อยู่ระหว่างขั้นตอนกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และโดยที่เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องเชิงนโยบายที่มีนัยสำคัญต่อการแข่งขันและเกี่ยวพันกับสัญญาสัมปทานซึ่งจะมีผลผูกพันในระยะยาว  ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องดังกล่าว พร้อมรายละเอียดข้อมูลผลการเจรจาการเรียกคืนคลื่นความถี่ฯ ทั้งหมด เสนอให้ กสทช.ชุดใหม่ เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.32  :  การพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอัตราที่เพิ่มขึ้น : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), กบ., คณะกรรมการกำหนดค่าปรับทางปกครองฯ 
หมายเหตุ   เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. ได้อนุมัติให้ถอนเรื่อง การพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอัตราที่เพิ่มขึ้น ออกจากวาระการประชุม แล้ว ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เริ่มให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2553 เป็นต้นมา ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่อาจมีคำสั่งกำหนดค่าปรับทางปกครองให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นสองเท่าได้ สำนักงาน กสทช.จึงขอถอนวาระการประชุมดังกล่าว
ระเบียบวาระที่  4.33  :  การชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ สำหรับบริการเรียกออกต่างประเทศที่ใช้รหัสบริการ : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม              
1.  โดยที่เรื่อง การชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ สำหรับบริการเรียกออกต่างประเทศที่ใช้รหัสบริการ เป็นเรื่องที่ต้องกำหนดเป็นนโยบาย เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารจัดการรายได้ขององค์กร สมควรต้องนำเสนอให้ กสทช.ชุดใหม่ เป็นผู้พิจารณา  ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช.นำเรื่องนี้พร้อมความเห็น กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอต่อ กสทช.ชุดใหม่เพื่อกำหนดนโยบายที่ชัดเจนต่อไป อย่างไรก็ดี เพื่อให้การพิจารณาของ กสทช. มีข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ ที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการวิเคราะห์ในแง่ของ Economic Value ได้แก่ หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ เพื่อให้สะท้อนมูลค่าเลขหมายที่แท้จริง รวมถึงต้นทุนในการบริหารจัดการ (Cost Base และ Market Base)  จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ในประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติม พื่อนำเสนอ กสทช. ประกอบการพิจารณาด้วยต่อไป
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งตอบ บจ.เอไอเอ็น โกลบอลคอม เพื่อทราบว่า โดยที่ขณะนี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สมควรต้องรอความชัดเจนในเรื่องนี้จาก กสทช. ชุดใหม่ ดังนั้น ในห้วงระยะเวลานี้ จึงขอให้บริษัทฯ ดำเนินการให้เป็นไปตาม ประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ สำหรับบริการเรียกออกต่างประเทศที่ใช้รหัสบริการ ต่อไปก่อน รวมทั้งจะต้องปฏิบัติตามประกาศ/ระเบียบที่จะกำหนดต่อไปในอนาคตด้วย (Subject to Future Regulation)
ระเบียบวาระที่  4.34  :  เงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม  โดยที่ในการดำเนินการปรับปรุงเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามที่ผู้ประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 4 ราย (TrueMove, DTAC, AIS, DPC) ร้องขอมานั้น สำนักงาน กสทช.ได้พิจารณาความเห็นของผู้ประกอบกิจการทั้งสี่ รวมถึงได้นำเสนอกรรมการกลั่นกรองพิจารณาให้ความเห็นแล้ว อย่างไรก็ดี เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช.ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ กอรปกับเป็นการเสนอเพื่อขอปรับแก้ไขกฎข้อบังคับ ดังนั้น  ที่ประชุมจึงมีมติเห็นสมควรให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องนี้เสนอต่อ กสทช. เป็นผู้พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการโอนย้ายดังกล่าวสอดคล้องกับแนวนโยบายการกำกับดูแลด้านเลขหมายโทรคมนาคมของ กสทช. ได้อย่างต่อเนื่องไปในระยะยาว
ระเบียบวาระที่  4.35  :  การดำเนินการกรณีพนักงานไม่สามารถเลื่อนเงินเดือนประจำปี 2554 เนื่องจากเงินเดือนเต็มขั้นสูงของตำแหน่ง หรือมีเงินเดือนใกล้เต็มขั้นสูงของตำแหน่ง : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ), บค. 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การดำเนินการกรณีพนักงานไม่สามารถเลื่อนเงินเดือนประจำปี 2554 เนื่องจากเงินเดือนเต็มขั้นสูงของตำแหน่ง หรือมีเงินเดือนใกล้เต็มขั้นสูงของตำแหน่ง นั้น ยังไม่สามารถดำเนินการในขณะนี้ได้ เนื่องจากไม่มีระเบียบรองรับ กอปรกับในขณะนี้อยู่ในระหว่างการนำรายชื่อ กสทช. ทั้ง 11 ท่านขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จึงไม่เหมาะสมในการออกระเบียบใหม่เพิ่มเติม ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นสมควรให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องนี้เสนอ กสทช.ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินการต่อไป  
ระเบียบวาระที่ 4.36  :  ข้อเสนอโครงการประเมินมูลค่าใบอนุญาตเทคโนโลยี 4G บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz ของประเทศไทย : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ), ปธ.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า กรณีการดำเนินการศึกษาวิจัยโครงการประเมินมูลค่าใบอนุญาตเทคโนโลยี 4G บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz ของประเทศไทย นั้น สำนักงาน กสทช.สามารถดำเนินการเองได้ โดยใช้องค์ความรู้ที่ได้ (Knowledge Transfer) จากการจัดอบรม และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการหรือ Workshop โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Chalmers University , สถาบัน ENST และสถาบันการศึกษาอื่นๆ  ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นควรให้สำนักงาน กสทช.เป็นผู้ดำเนินการศึกษาวิจัยโครงการประเมินมูลค่าใบอนุญาตเทคโนโลยี 4G บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz ของประเทศไทยเอง โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดจ้างองค์กรหรือสถาบันใดมาดำเนินการ
ระเบียบวาระที่  4.37  :  ความเห็นในหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าบริการสาขา  Information and Communication Technology Service (ICT) :ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายทศพรฯ), รศ.
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าบริการสาขา Information  and Communication Technology Service (ICT) ที่จัดทำขึ้นโดยสหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐอเมริกา ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
2.  เห็นชอบต่อข้อคิดเห็นของสำนักงานฯ และความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ในหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าบริการสาขา Information and Communication Technology Service โดยเฉพาะการยกเว้นกรณีบริการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการที่คล้ายคลึงกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (TV Like Service, Radio Like Service) ทั้งที่เป็น Linea และ Non-Linea Service จาก ICT Principles รวมถึงกิจการ ด้านดาวเทียม การเชื่อมต่อโครงข่าย(Interconnection) ตลอดจนการกำหนดข้อสงวนในเรื่อง Cross-Border Information Flows ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำความเห็นดังกล่าวเสนอ กสทช.ชุดใหม่ เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อนมีหนังสือแจ้งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเพื่อทราบและใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดท่าทีในการเจรจา FTA กับสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.38  :  การพิจารณาทบทวนร่างบันทึกการประชุมระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับ กสทช. : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายทศพรฯ), กร.    
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่กรณีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าพบ กสทช. เพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิในตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมของประเทศไทย และประเด็นเกี่ยวกับกิจการดาวเทียมสื่อสาร นั้น เป็นเพียงการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน และรับทราบตรงกันระหว่างหน่วยงานทั้งสองฝ่าย มิใช่เป็นพันธะกรณีใดๆที่จำเป็นต้องจดแจ้งไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีการจัดทำบันทึกการประชุมดังกล่าวต่อไป ตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ด้วยเหตุนี้ที่ประชุมจึงไม่มีความจำเป็นต้องพิจารณาทบทวนร่างบันทึกการประชุมระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนออีก
ระเบียบวาระที่  4.39  :  การพิจารณาเกี่ยวกับสัญญาจ้างนายสุพจน์ เธียรวุฒิ และการแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ) ,บค.
มติที่ประชุม ที่ประชุมพิจารณาเห็น ขณะนี้วุฒิสภาได้มีการคัดเลือก กสทช. จำนวน 11 ท่าน เสร็จเรียบร้อยและอยู่ในระหว่างขั้นตอนการนำความกราบบังคับทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กอปรกับสัญญาจ้างนายสุพจน์ เธียรวุฒิ ได้สิ้นสุดลงไปแล้ว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลอันควร และไม่สามารถพิจารณาเรื่องสัญญาจ้างนายสุพจน์ เธียรวุฒิ และการแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ ในขณะนี้ได้
ระเบียบวาระที่  4.40  :  มาตรการช่วยเหลือการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายพิทยาพลฯ), ศฐ., ทถ.,พต., สชท.                                
มติที่ประชุม  โดยที่การกำหนดมาตรการช่วยเหลือการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ เป็นเรื่องเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของสำนักงาน กสทช. ซึ่งจะมีผลผูกพันในระยะยาว ดังนั้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ของกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช., กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปวิเคราะห์เพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แล้วจึงนำเรื่องดังกล่าวพร้อมผลการวิเคราะห์เสนอ กสทช.ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.41  :  (ร่าง) แผนแม่บทการพัฒนาบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (พ.ศ.2554 - 2558) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายพิทยาพลฯ), ทถ.       
มติที่ประชุม   เห็นชอบ(ร่าง) แผนแม่บทการพัฒนาบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง  และบริการเพื่อสังคม (พ.ศ.2554-2558)  ทั้งนี้  โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีการยื่นเอกสารแสดงความเห็นผ่านเวปไซต์ของสำนักงานฯ ร่วมกับการปรึกษาหารือร่วมกันในรายกลุ่มที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.42  :  การอนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อสนับสนุนโครงการ จำนวน 2 รายการ  :  ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ) , งป.
  • โครงการที่หลบภัยสึนามิและศูนย์เรียนรู้ภัยธรรมชาติเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ระยะที่ 2
  • โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนผ่านระบบออนไลน์ (E-Learning) และการศึกษาทางไกล (Tele-education) ภายใต้โครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เพื่อครอบครัวเด็กและเยาชนไทย
มติที่ประชุม   ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นว่า เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช.ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ ดังนั้น เพื่อความเหมาะสม และมิให้เกิดภาระผูกพันด้านงบประมาณที่ กสทช.อาจมีความจำเป็นต้องพิจารณาใช้จ่ายตามภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในการกำกับดูแลด้านกิจการโทรคมนาคม และการกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการวิทยุโทรทัศน์ ที่ประชุมจึงมีมติว่าในชั้นนี้ จะยังไม่มีการพิจารณาเรื่องการอนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการ จำนวน 2 รายการดังกล่าว  อย่างไรก็ดี หากสำนักงาน กสทช.พิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็น ก็อาจนำเสนอ กสทช.ชุดใหม่เพื่อพิจารณาต่อไปได้ 
ระเบียบวาระที่  4.43  :  ค่าตอบแทน คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม :ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายทศพรฯ), ตว.                            
มติที่ประชุม   ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นว่า เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช.ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ ดังนั้น เพื่อความเหมาะสม และมิให้เกิดภาระผูกพันด้านงบประมาณ ที่ประชุมจึงมีมติว่าในชั้นนี้ จะยังไม่มีการพิจารณาเรื่อง ค่าตอบแทน คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม อย่างไรก็ดี หากคณะอนุกรรมการฯ ยังมีการปฏิบัติงานต่อเนื่องไป และสำนักงาน กสทช.พิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็น ก็ให้นำเรื่องค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการฯ เสนอ กสทช.ชุดใหม่เพื่อพิจารณาต่อไปได้ 
ระเบียบวาระที่ 4.44  :  การเบิกจ่ายค่าตอบแทนในลักษณะเบี้ยประชุมสำหรับคณะอนุกรรมการย่อยในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์  :  คณะทำงานด้านกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่          
มติที่ประชุม   ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นว่า เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการ  โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช.ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ ดังนั้น เพื่อความเหมาะสม และมิให้เกิดภาระผูกพันด้านงบประมาณ ที่ประชุมจึงมีมติว่าในชั้นนี้ จะยังไม่มีการพิจารณาเรื่อง การเบิกจ่ายค่าตอบแทนในลักษณะเบี้ยประชุมสำหรับคณะอนุกรรมการย่อยในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์  อย่างไรก็ดี หากสำนักงาน กสทช.พิจารณาเห็นว่าเรื่องดังกล่าวยังมีความจำเป็น ก็ให้นำเสนอ กสทช.ชุดใหม่เพื่อพิจารณาต่อไปได้ 
ระเบียบวาระที่  4.45 :  การขอรับการสนับสนุนงบประมาณปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในการถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยโดยรอบเขตพระราชฐานวังไกลกังวล : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ), กจ., บป.
มติที่ประชุม   โดยที่ กทช.(ในขณะนั้น) ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 20/2553 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 อนุมัติในหลักการการสนับสนุนงบประมาณปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในการถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยโดยรอบเขตพระราชฐานวังไกลกังวล และมอบหมายให้ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาทบทวนความเหมาะสม รวมทั้งยืนยันวิธีการได้มาซึ่งระบบโทรทัศน์วงจรปิดทดแทนของเดิม พร้อมรายละเอียดกรอบวงเงินที่จะใช้ดำเนินการเพื่อการนี้ให้ชัดเจน ซึ่งต่อมาตำรวจภูธรภาค 7 ได้ส่งรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง พร้อมรายละเอียดการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ชัดเจนเพิ่มเติมตามมติดังกล่าวแล้วซึ่งคิดเป็นกรอบวงวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 67,076,160 บาท ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติการสนับสนุนงบประมาณปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในการถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยโดย รอบเขตพระราชฐานวังไกลกังวล แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตำรวจภูธรภาค 7) เป็นเงินงบประมาณจำนวน 67,076,160 บาท ทั้งนี้ โดยให้โอนจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 รายการงบกลางของสำนักงาน กสทช. ไปรายการเงินสนับสนุนประจำปี 2554 ของสำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายตามระเบียบ กทช.ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กทช.และสำนักงาน กทช. พ.ศ.2551 ต่อไปตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.46  :  การชำระค่าจ้างงวดที่ ๔ ของโครงการที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่(IMT หรือ ๓G and beyond) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), คณะกรรมการตรวจและรับมอบงานการจ้างที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่ฯ
มติที่ประชุม   ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ได้มีมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 28/2554 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 เห็นชอบการปรับปรุงแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 โดยอนุมัติการปรับเพิ่มงบประมาณรายจ่ายโครงการที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) จำนวน 8.7811 ล้านบาทไปแล้ว กอรปกับคณะกรรมการตรวจและรับมอบงานการจ้างๆ ได้ดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่ 5/2554 ซึ่งเห็นชอบหลักการพิจารณาของคณะกรรมการเจรจาต่อรองและบรรเทาความเสียหายฯ และดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการเจรจาต่อรองและบรรเทาความเสียหายฯ อย่างครบถ้วน โดยได้เจรจาต่อรองค่าจ้างสำหรับงวดที่ 4 กับที่ปรึกษาโครงการฯ โดยยึดถือประโยชน์ของสำนักงาน กสทช.เป็นที่ตั้ง รวมทั้งได้คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น และความยุติธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จนได้ข้อยุติที่จำนวนเงิน 3,714,384.50 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ลดลงร้อยละ 31.37 อย่างไรก็ดี โดยที่เหตุกรณีดังกล่าวเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างสำนักงาน กสทช.กับผู้รับจ้าง  ดังนั้น ที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.จึงมีมติกำหนดเป็นหลักการว่า ในกรณีนี้ให้สำนักงาน กสทช.ไปตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายให้ชัดเจน และถูกต้อง ยืนยันอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะทำการเบิกจ่ายต่อไป หากพบว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เหมาะสม หรือมีปัญหาไม่สามารถเบิกจ่ายได้  ให้นำเสนอที่ประชุม  กสทช.พิจารณาตัดสินอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.47  :  การทบทวนนโยบายในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) :กลุ่มงานสำนักเลขานุการคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม   เห็นชอบตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า การออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) นั้น ในประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) พ.ศ. 2552 ข้อ 8 ได้กำหนดกระบวนการออกใบอนุญาตไว้อย่างชัดเจนแล้ว การออกใบอนุญาตจึงจะต้องดำเนินการตามที่ประกาศฉบับนี้ และประกาศอื่นกำหนดไว้ ดังนั้น เรื่องดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่อาจใช้ดุลยพินิจหรือกำหนดนโยบายเพิ่มเติมได้ ในส่วนการตรวจสอบนั้น ก็เป็นหน้าที่ของ Regulator ที่ต้องทำอยู่แล้วทั้งก่อนและหลังการให้ใบอนุญาต เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ ขอให้คณะอนุกรรมการฯ รับทราบความเห็นดังกล่าวข้างต้น และดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการการออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ให้เป็นไปตามประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) พ.ศ. 2552 ต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.48  :  นโยบายดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553  : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ) ,กส.
มติที่ประชุม   โดยที่เรื่อง นโยบายดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 เป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณาในประเด็นเชิงนโยบาย กอปรกับขณะนี้วุฒิสภาได้มีการคัดเลือก กสทช. จำนวน 11 ท่าน เสร็จเรียบร้อย และอยู่ในขั้นตอนการนำความกราบบังคับทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ซึ่งเมื่อ กสทช. ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและเข้ามาปฏิบัติหน้าที่เรียบร้อยแล้วการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ก็มีอันต้องสิ้นผลไป ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องดังกล่าว เสนอ กสทช. ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาดำเนินการต่อไป                                              
ระเบียบวาระที่  4.49  :  ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยด้านเนื้อหารายการและโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ), กส.
มติที่ประชุม   ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าเรื่องร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยด้านเนื้อหารายการและโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ เป็นเรื่องเชิงนโยบาย กอปรกับขณะนี้วุฒิสภาได้มีการคัดเลือก กสทช. จำนวน 11 ท่าน เสร็จเรียบร้อยและอยู่ในขั้นตอนการนำความกราบบังคับทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดังนั้น จึงมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องดังกล่าว เสนอ กสทช. ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.50  :  ผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการแก่ผู้ได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และเรื่องหลักเกณฑ์การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของผู้ประกอบกิจการที่ดำเนินการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มีผลใช้บังคับ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. .... : คณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์   
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าเรื่องผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการแก่ผู้ได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และเรื่องหลักเกณฑ์การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของผู้ประกอบกิจการที่ดำเนินการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มีผลใช้บังคับ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. .... เป็นเรื่องเชิงนโยบาย กอปรกับขณะนี้วุฒิสภาได้มีการคัดเลือก กสทช. จำนวน 11 ท่าน เสร็จเรียบร้อยและอยู่ในขั้นตอนการนำความกราบบังคับทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดังนั้น จึงมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องดังกล่าว เสนอ กสทช. ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.51  :  ร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ), กส.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าเรื่อง ร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป็นเรื่องเชิงนโยบาย กอปรกับขณะนี้วุฒิสภาได้มีการคัดเลือก กสทช. จำนวน 11 ท่าน เสร็จเรียบร้อยและอยู่ในขั้นตอนการนำความกราบบังคับทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดังนั้น จึงมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องดังกล่าวเสนอ กสทช. ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.52  :  การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี และการจ่ายค่าตอบแทนประจำปี 2552 ของผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ : คณะกรรมการกำกับการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ
มติที่ประชุม  เห็นชอบการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีและการจ่ายค่าตอบแทนประจำปี 2552 ของผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามสัญญาจ้างผู้จัดการกองทุนฯ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2551  ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 2 และข้อ 3 ของสัญญาจ้างดังกล่าวข้างต้น ตามความเห็นคณะกรรมการกำกับการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ เสนอ ดังนี้ 
1.  ให้ปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีของผู้จัดการกองทุนฯ ในอัตราร้อยละ 5 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 เป็นต้นไป
2.  ให้จ่ายค่าตอบแทนประจำปี 2552 ของผู้จัดการกองทุนฯ จำนวน 0.9 เท่าของเงินเดือนสุดท้ายในปี 2552 
ระเบียบวาระที่  4.53  :  การต่อสัญญาการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มภารกิจเลขานุการ  กองทุนฯ : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ), บค.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ได้ประกาศและมีผลบังคับใช้ ซึ่งมีผลให้การดำเนินงานในส่วนของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะต้องยุติลงตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น โดยผลของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น  ที่ประชุมจึงมีมติไม่อนุมัติการต่อสัญญาการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานสำนักงานกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะที่ได้สิ้นสุดลง อย่างไรก็ดี ในส่วนการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มภารกิจเลขานุการกองทุนฯ ที่ได้ปรับสถานะจากสำนักงานกองทุนฯ เป็นกลุ่มงานภายใต้โครงสร้างชั่วคราวของสำนักงาน กสทช. นั้น เป็นภาระหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. ที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและต่อเนื่องในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.54  :  ระเบียบ กทช. ว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2550 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม           
มติที่ประชุม              
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายสำนักงาน กสทช. ได้มีความเห็นว่า เนื่องจาก มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 บัญญัติให้ กสทช. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน จึงไม่สามารถนำระเบียบ กทช. ว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมทั้งฉบับมาใช้ในส่วนนี้ได้ เป็นเหตุให้สถานะของคณะกรรมการสถาบันฯ สิ้นสุดลง ประกอบกับการตั้งคณะอนุกรรมการตามมาตรา 31 เป็นอำนาจของ กสทช. จึงเป็นเหตุให้สถานะของคณะกรรมการสรรหาสถาบันสิ้นสุดตามลงไปด้วย ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติว่า คณะกรรมการสถาบันฯ และคณะกรรมการสรรหาสถาบันฯ สิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ตามความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายสำนักงาน กสทช.
2.  เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรา 89 แห่งพ.ร.บ. พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ในการโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน เงินงบประมาณ และ ฯลฯ ไปเป็นของสำนักงาน กสทช. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. จัดทำ Due Diligence โดยตรวจสอบทรัพย์สิน หนี้สิน และการใช้จ่ายเงินของสถาบันเฉพาะทางทุกแห่งให้ถูกต้อง ชัดเจน ตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเสนอ กสทช. ชุดใหม่ต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.55  :  เงื่อนไขการให้บริการคงสิทธิเลขหมายมีลักษณะที่ขัดต่อกฎหมาย : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม       
มติที่ประชุม   ไม่เห็นชอบต่อการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับบริการต้องใช้บริการกับเครือข่ายเดิมครบ 90 วันจึงจะสามารถโอนย้ายเลขหมายได้ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 ราย (บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส  บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น และ บจ. ทรูมูฟ) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม) มีหนังสือแจ้งผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย ให้ยกเลิกการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับบริการต้องใช้บริการกับเครือข่ายเดิมครบ 90 วันจึงจะสามารถโอนย้ายเลขหมายได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ 32 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ตามที่สำนักงาน กสทช. (กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม) เสนอ    
ระเบียบวาระที่  4.56  :  การร้องเรียนปัญหา SMS เข้าข่ายการพนัน : คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
มติที่ประชุม  เนื่องจาก กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ไม่อาจใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือให้ไว้ได้ สมควรให้หน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพนัน เป็นผู้รับผิดชอบต่อไป ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ข้างต้น โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.  ประสานงานเพื่อส่งเรื่องการร้องเรียนปัญหา SMSเข้าข่ายการพนัน ให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการเรื่องดังกล่าวโดยตรงตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รับไปดำเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.57  :  โครงการความร่วมมือสำรวจตลาดสื่อสารของประเทศไทย ประจำปี 2554 และคาดการณ์ ปี 2555 : กลุ่มภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
มติที่ประชุม  โดยที่ปัจจุบัน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2543 ได้ถูกยกเลิกไปโดยผลของกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ฉบับใหม่ มาตรา 3 ทำให้บรรดากิจกรรมด้านวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน กทช. เดิมในมาตรา 51 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2543 ต้องยุติลงไปก่อนในชั้นนี้ กอรปกับขณะนี้วุฒิสภาได้มีการคัดเลือก กสทช. จำนวน 11 คนเสร็จเรียบร้อย และอยู่ในขั้นตอนการนำความกราบบังคับทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใกล้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้  ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในช่วงเปลี่ยนผ่านและสอดรับกับข้อกฎหมายที่ปรับเปลี่ยนไป ที่ประชุมพิจารณาแล้วจึงมีมติไม่อนุมัติโครงการความร่วมมือสำรวจตลาดสื่อสารของประเทศไทย ประจำปี 2554 และคาดการณ์ ปี 2555 เพื่อปรับปรุงข้อมูลในส่วนของตลาดสื่อสารและแนวโน้มเทคโนโลยี ตามที่สำนักงาน กสทช. (กลุ่มภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม) เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.58  :  รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการ กสทช.  : กลุ่มภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (สำนักกฎหมาย) ไปตรวจสอบรายงานการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจแทนเลขาธิการ กสทช. ของ ผอ.สพท.  ตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยการมอบอำนาจของ ลทช. ให้ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนในสถาบันเฉพาะทาง พ.ศ. 2550 ว่าขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 หรือไม่ อย่างไร แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.59  :  ข้อร้องเรียนของนายสมชัย เศรษฐอนันต์ กรณีบริษัท ทรู มูฟ จำกัด เรียกเก็บค่าบริการเสริม ทั้งที่ไม่ได้มีการใช้บริการ : กลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมรับความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปดำเนินการในประเด็นต่างๆต่อกรณีข้อร้องเรียนของนายสมชัย เศรษฐอนันต์ กรณีบริษัท ทรู มูฟ จำกัด เรียกเก็บค่าบริการเสริม ทั้งที่ไม่ได้มีการใช้บริการ ให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาทิ ข้อเสนอและรายงานสรุปข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมยังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจสรุปได้อย่างเด็ดขาด และยังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการ (ผู้ถูกร้องเรียน) ได้แสดงข้อเท็จจริงและข้อโต้แย้งเสียก่อนตาม มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 รวมทั้งข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ หลายเรื่องเป็นเรื่องที่สมควรจะมีข้อวิเคราะห์และข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาด้วย โดยเฉพาะข้อเสนอที่จะเป็นคำสั่งทางปกครอง ตลอดจนควรมีการกำหนดกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานหรือขั้นตอนการไต่สวนที่ชัดเจน และสามารถอ้างอิงได้มากกว่ากระบวนการส่งหนังสือแจ้ง และสรุปข้อเท็จจริงเป็นยุติดังที่ผ่านมา รวมถึงกระบวนการขั้นตอนในการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานประกอบการสั่ง นั้น ต้องแยกให้ชัดเจนออกจากอำนาจการทำคำสั่งทางปกครองที่มีกฎหมายรองรับอยู่ มิใช่ว่าจะทำจดหมายบังคับหรือสั่งโดยไม่คำนึงถึงกฎหมายปฏิบัติราชการทางปกครองให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นต้น แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.60  :  ข้อร้องเรียนของนางอำพร ฉิมคุณ กรณีบริษัท ทรู มูฟ จำกัด เรียกเก็บค่าบริการทั้งที่ไม่มีการใช้บริการ และการให้ข้อมูลไม่ชัดเจน : กลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
มติที่ประชุม   มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมรับความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปดำเนินการในประเด็นต่างๆต่อกรณีข้อร้องเรียนของนางอำพร ฉิมคุณ กรณีบริษัท ทรู มูฟ จำกัด เรียกเก็บค่าบริการทั้งที่ไม่มีการใช้บริการ และการให้ข้อมูลไม่ชัดเจนให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาทิ ข้อเสนอและรายงานสรุปข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมยังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจสรุปได้อย่างเด็ดขาด และยังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการ (ผู้ถูกร้องเรียน) ได้แสดงข้อเท็จจริงและข้อโต้แย้งเสียก่อนตาม มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 รวมทั้งข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ หลายเรื่องเป็นเรื่องที่สมควรจะมีข้อวิเคราะห์และข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาด้วย โดยเฉพาะข้อเสนอที่จะเป็นคำสั่งทางปกครอง ตลอดจนควรมีการกำหนดกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานหรือขั้นตอนการไต่สวนที่ชัดเจน และสามารถอ้างอิงได้มากกว่ากระบวนการส่งหนังสือแจ้ง และสรุปข้อเท็จจริงเป็นยุติดังที่ผ่านมา รวมถึงกระบวนการขั้นตอนในการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานประกอบการสั่ง นั้น ต้องแยกให้ชัดเจนออกจากอำนาจการทำคำสั่งทางปกครองที่มีกฎหมายรองรับอยู่ มิใช่ว่าจะทำจดหมายบังคับหรือสั่งโดยไม่คำนึงถึงกฎหมายปฏิบัติราชการทางปกครองให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นต้น แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.61  :  ข้อร้องเรียนของนางแววดาว พงษ์สระพัง กรณี บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที   ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ไม่คืนเงินคงเหลือเมื่อยกเลิกบริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า : กลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
มติที่ประชุม   มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมรับความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปดำเนินการในประเด็นต่างๆต่อกรณีข้อร้องเรียนของนางแววดาว พงษ์สระพัง กรณี บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ไม่คืนเงินคงเหลือเมื่อยกเลิกบริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า ให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาทิ ข้อเสนอและรายงานสรุปข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมยังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจสรุปได้อย่างเด็ดขาด และยังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการ (ผู้ถูกร้องเรียน) ได้แสดงข้อเท็จจริงและข้อโต้แย้งเสียก่อนตาม มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 รวมทั้งข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ หลายเรื่องเป็นเรื่องที่สมควรจะมีข้อวิเคราะห์และข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาด้วย โดยเฉพาะข้อเสนอที่จะเป็นคำสั่งทางปกครอง ตลอดจนควรมีการกำหนดกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานหรือขั้นตอนการไต่สวนที่ชัดเจน และสามารถอ้างอิงได้มากกว่ากระบวนการส่งหนังสือแจ้ง และสรุปข้อเท็จจริงเป็นยุติดังที่ผ่านมา รวมถึงกระบวนการขั้นตอนในการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานประกอบการสั่ง นั้น ต้องแยกให้ชัดเจนออกจากอำนาจการทำคำสั่งทางปกครองที่มีกฎหมายรองรับอยู่ มิใช่ว่าจะทำจดหมายบังคับหรือสั่งโดยไม่คำนึงถึงกฎหมายปฏิบัติราชการทางปกครองให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นต้น แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.62  :  ข้อร้องเรียนของนายศราวุธ แวงวรรณ กรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำอันมีลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่ กำหนด : กลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
มติที่ประชุม   มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมรับความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปดำเนินการในประเด็นต่างๆต่อกรณีข้อร้องเรียนของนายศราวุธ แวงวรรณ กรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด  (มหาชน) กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำอันมีลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาทิ ข้อเสนอและรายงานสรุปข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมยังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจสรุปได้อย่างเด็ดขาด และยังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการ (ผู้ถูกร้องเรียน) ได้แสดงข้อเท็จจริงและข้อโต้แย้งเสียก่อนตาม มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 รวมทั้งข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ หลายเรื่องเป็นเรื่องที่สมควรจะมีข้อวิเคราะห์และข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาด้วย โดยเฉพาะข้อเสนอที่จะเป็นคำสั่งทางปกครอง ตลอดจนควรมีการกำหนดกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานหรือขั้นตอนการไต่สวนที่ชัดเจน และสามารถอ้างอิงได้มากกว่ากระบวนการส่งหนังสือแจ้ง และสรุปข้อเท็จจริงเป็นยุติดังที่ผ่านมา รวมถึงกระบวนการขั้นตอนในการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานประกอบการสั่ง นั้น ต้องแยกให้ชัดเจนออกจากอำนาจการทำคำสั่งทางปกครองที่มีกฎหมายรองรับอยู่ มิใช่ว่าจะทำจดหมายบังคับหรือสั่งโดยไม่คำนึงถึงกฎหมายปฏิบัติราชการทางปกครองให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นต้น แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.63  :  โครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายพิทยาพลฯ) ,กจ.
มติที่ประชุม  โดยที่สำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือแจ้งเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อขอให้ชี้แจงรายงานการใช้จ่ายเงินตามโครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรมไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาในวาระนี้อีก
ระเบียบวาระที่  4.64  :  การกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี  2554 : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) , บค.
มติที่ประชุม  โดยที่ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช.ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ ดังนั้น ในช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ ที่ประชุมพิจารณาแล้ว อาจไม่เหมาะสมที่จะพิจารณาเรื่องในเชิงการบริหารงานของสำนักงาน กสทช. ที่สมควรเป็นเรื่องของ กสทช. ที่จะมารับผิดชอบต่อไป ด้วยเหตุนี้ จึงยังไม่พิจารณาเรื่อง การกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี  2554 ในชั้นนี้
ระเบียบวาระที่  4.65  :  โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ICT เพื่อเยาวชน:ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ กสทช. (นายพิทยาพลฯ), ทถ.
มติที่ประชุม  โดยที่ในการประชุมครั้งที่ 39/2553 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553 กทช. (ในขณะนั้น) ได้มีมติอนุมัติการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ICT เพื่อเยาวชน พร้อมทั้งอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการจำนวน 112 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ได้มีคำขอรับการสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานต่างๆ แล้วจำนวน 687 โรงเรียนซึ่งเกินกว่าแผนที่วางไว้ ดังนั้น กรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)  พิจารณาแล้วเห็นควรให้สำนักงาน กสทช. ไปปรับแผนการดำเนินงานโครงการฯ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติเพื่อสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียนในจำนวนทั้งสิ้น 400 โรงเรียน อย่างไรก็ดี เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นกรณีการใช้จ่ายเงินงบประมาณเพื่อจัดซื้อจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียน กอรปกับขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช.ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ ดังนั้น ในช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ เพื่อความเหมาะสม ที่ประชุมจึงมีมติเห็นควรให้สำนักงานฯ นำเรื่อง โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ICT เพื่อเยาวชนเสนอต่อที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่งเมื่อได้ดำเนินการปรับแผนการดำเนินงานโครงการฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ระเบียบวาระที่  4.66  :  (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่:คณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดทำคุณภาพการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT , ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ กสทช.(นายทศพรฯ), วท.
มติที่ประชุม          
1.  รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะทำงานศึกษาแนวทาง การจัดทำคุณภาพการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ตามที่ สำนักงาน กสทช.เสนอ
2.  เห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามที่คณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดทำคุณภาพการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปดำเนินการจัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไปต่อร่างประกาศดังกล่าวข้างต้นตามกระบวนการและขั้นตอนตามที่กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.67  :  แนวทางในการคืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม : คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ฯ
มติที่ประชุม โดยที่เรื่อง  แนวทางในการคืนคลื่นความถี่ เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม เป็นเรื่องเชิงนโยบาย กอปรกับขณะนี้วุฒิสภาได้มีการคัดเลือก กสทช. จำนวน 11 ท่าน เสร็จเรียบร้อย และอยู่ในระหว่างขั้นตอนการนำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องดังกล่าว เสนอ กสทช. ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.68  :  บริษัท  ทีโอที  จำกัด (มหาชน)   ขอรับจัดสรรความถี่วิทยุสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมในย่าน 894-897.5 MHzและ 939-942.5 MHz : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  โดยที่กรณีบริษัท  ทีโอที  จำกัด (มหาชน) ขอรับจัดสรรความถี่วิทยุสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมในย่าน 894-897.5 MHzและ 939-942.5 MHz นั้น เป็นการขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 กอรปกับขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยวุฒิสภาได้มีการคัดเลือก กสทช. จำนวน 11 ท่าน เสร็จเรียบร้อย และอยู่ในระหว่างขั้นตอนการนำความกราบบังคับทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดังนั้น ที่ประชุมพิจารณาแล้วจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ส่งเรื่อง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ขอรับจัดสรรความถี่วิทยุสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมในย่าน 894-897.5 MHz และ 939-942.5 คืนให้ บมจ.ทีโอที ไปก่อนเพื่อดำเนินการภายหลังมี กสทช.ชุดใหม่แล้วต่อไป ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.69  :  การจัดทำ Fact Sheet เรื่อง MVNO : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการจัดทำ FACT Sheet เรื่อง MVNO เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา กำหนดกรอบการดำเนินงานตามมาตรา 46  แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ซึ่งสำนักงาน กสทช.ได้ดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่ 20/2554 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.70  :  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม  เพิ่มเติมประจำปี 2553 ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  เห็นชอบให้สำนักงาน กสทช.เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ต้องชำระเพิ่มขึ้น  จำนวนเงิน 43,995,355.03 บาท (ไม่รวมVAT)  หรือจำนวน 47,075,029.88 (รวม VAT) โดยใช้หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการคิดค่าธรรมเนียมฯ ประจำปี ๒๕๔๙ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)  ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.71  :  การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ประจำปี 2553 : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการกสทช. (นายประเสริฐฯ) ,ปก.
มติที่ประชุม                      
1.  เห็นชอบ ให้สำนักงาน กสทช. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบ กิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ประจำปี 2553 เพิ่มเติม ของ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด เป็นเงิน 4,158,978.09 บาท (ไม่รวม VAT) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
2.  รับทราบการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ประจำปี 2553 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และบริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวร์เลส จำกัด ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
5.1  รายงานผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาประจำประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. (นายชัยฤกษ์  ดิษฐอำนาจ) : ปธ.
5.2    รายงานข้อมูลของสถานีวิทยุชุมชนประจำเดือนกรกฎาคม 2554 : กท.
5.3   รายงานผลการดำเนินงานตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารจัดการสิทธิเรียกร้องค่าเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ พ.ศ. 2550 : กม. ที่ บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ : กม.
5.5   รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ประจำเดือนกรกฎาคม 2554 : ปต.
5.6   การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบการ (รายการส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2554 ถึง 2 กันยายน 2554) : ศฐ.
5.7   รายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคมประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2554 : ศฐ.
5.8   การดำเนินการทางปกครอง กรณีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในระยะเวลาที่กำหนด : กบ.
5.9   สัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและบริษัทไฟเบอร์นาโนจำกัด : สชท.
5.10  บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด แจ้งขอเปลี่ยนกรรมการบริษัท : ปก.
ระเบียบวาระที่ 5.1  :  รายงานผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาประจำประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. (นายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ) :ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ), ปธ.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาประจำประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. (นายชัยฤกษ์  ดิษฐอำนาจ) ระหว่างเดือน มิถุนายน-  สิงหาคม 2554 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.2  :  รายงานข้อมูลของสถานีวิทยุชุมชนประจำเดือนกรกฎาคม 2554 : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), กท.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานสรุปข้อมูลสถานะความเคลื่อนไหวของวิทยุชุมชนและข้อมูลสถิติระดับความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากวิทยุชุมชน โดยเฉพาะในกรณีที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อการรบกวนวิทยุการบิน ประจำเดือนกรกฎาคม 2554  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารจัดการสิทธิเรียกร้องค่าเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และ ค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ พ.ศ.2550 :ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ        
กสทช. (นายฐากรฯ),  กม.

มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานสถานะคดี ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักกฎหมาย ซึ่งเลขาธิการ กสทช.ได้พิจารณาไม่ฎีกา จำนวน 1 คดี ได้แก่ คดีนางมีบุญ บุณยจันทรานนท์ ตามข้อ 17 ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารจัดการสิทธิเรียกร้องค่าเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ พ.ศ. 2550 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.4  :  รายงานผลการพิจารณาร่างสัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ),  กม.
มติที่ประชุม รับทราบผลการพิจารณาร่างสัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ได้รับมอบอำนาจตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.5  :  รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ประจำเดือนกรกฎาคม 2554 : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ), ปต.
มติที่ประชุม  รับทราบผลการดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอดังนี้
1.  การดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่  20/2554-23/2554 (งานมอบหมายใหม่)  จำนวน 52 เรื่อง
2.  การดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 2/2554 - 19/2554 (งานค้างดำเนินการ)  จำนวน 57 เรื่อง
ระเบียบวาระที่  5.6  :  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบการ(รายการส่งเสริมการขายระหว่าง วันที่ 16 สิงหาคม 2554  ถึงวันที่ 2 กันยายน 2554)  : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ กสทช                 (นายพิทยาพลฯ), ศฐ.                             
มติที่ประชุม รับทราบการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคม (รายการส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2554 ถึง 2 กันยายน 2554) ของผู้ประกอบกิจการ จำนวน 4 ราย ทั้งนี้ ตามมติ กทช.ครั้งที่ 38/2551 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2551  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ ดังนี้
1.  รับทราบการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของ  บมจ.ทีโอที
2.  รับทราบการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และ บจ.ทรู มูฟ    
ระเบียบวาระที่  5.7  :  รายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคมประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2554 :   ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายพิทยาพลฯ), ศฐ.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคมประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2554 (เมษายน-มิถุนายน 2554)  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.8  :  การดำเนินการทางปกครอง กรณีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในระยะเวลาที่กำหนด : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ),  กลุ่มภารกิจด้านบริหารเลขหมายโทรคมนาคม
มติที่ประชุม  รับทราบการดำเนินการทางปกครอง กรณีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.9  :  สัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัทไฟเบอร์นาโนจำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม
มติที่ประชุม  รับทราบผลการพิจารณาเรื่องการขอยกเลิกสัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ บริษัท ไฟเบอร์นาโน จำกัด ซึ่ง กทช.สุธรรม ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้รับมอบอำนาจตามมติ กทช.ครั้งที่ 41/2551 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 ได้พิจารณาแล้ว ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.10  :  บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด แจ้งขอเปลี่ยนกรรมการบริษัท : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ),ปก.      
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการตรวจสอบกรณีบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด แจ้งขอเปลี่ยน  กรรมการบริษัท ซึ่งสำนักงาน กสทช.ได้ดำเนินการตามมติ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่ 17/2554 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  6  :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1  :  บริษัท บีบี คอนเน็ค จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม:ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ) , ปก.
มติที่ประชุม  โดยที่ที่ประชุม กสทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีมติครั้งที่ 28/2554 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 ได้พิจารณารายงานวิเคราะห์ด้านกฎหมาย ด้านเทคนิคเทคโนโลยีโทรคมนาคม และด้านการเงินการลงทุนกรณีการให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ ( International Private Leased Circuit : IPLC) และบริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ แบบเสมือน (International Internet Protocol Virtual Private Network : IP VPN ) ของบริษัท บีบี คอนเน็ค จำกัด แล้ว เห็นว่าเข้าข่ายต้องยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม กอปรกับบริษัทฯ ได้มีหนังสือแจ้งขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม มาแล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้บริษัท บีบี คอนเน็ค จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ประเภทบริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ ( International Private Leased Circuit : IPLC)และบริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ แบบเสมือน(International Internet Protocol Virtual Private Network : IP VPN ) โดยมีจุดเชื่อมต่อโครงข่าย (POI) และมีการเชื่อมต่อวงจรระหว่างประเทศโดยตรง ที่ปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา โดยให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้บริษัทฯ ดำเนินการตามประกาศ/กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี เท่าเทียม และเป็นธรรม ทั้งที่ใช้บังคับอยู่ปัจจุบัน (อาทิ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีอำนาจเหนือตลาด (SMP) การกำหนดนิยามตลาด (Market Definition) การร่วมใช้โครงข่าย (Infrastructure Sharing Essential Facility การแบ่งแยกข้อมูลทางบัญชี การควบรวมและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น) ตลอดถึงกฎเกณฑ์ที่ กสทช.จะประกาศกำหนดต่อไปในอนาคต ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ                                
ระเบียบวาระที่  6.2  :  การกำหนดหลักการกรณีการขอเพิ่มจำนวนสถานีฐานเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่   3G In-Band Migration : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ) , ปก.
มติที่ประชุม          
1.  โดยที่ในการประชุม กทช.ครั้งที่ 23/2551 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551  กทช. (ในขณะนั้น) ได้เคยมีมติเห็นชอบการอนุญาตปรับปรุงโครงข่ายโดยใช้เทคโนโลยีใหม่บนคลื่นความถี่เดิมที่ได้รับการจัดสรรแล้ว (In-Band Migration)  ดังนั้น ในกรณีการขอเพิ่มจำนวนสถานีฐานเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G In-Band Migration  จึงถือเป็นการพิจารณาดำเนินการของผู้ประกอบการ (Operator Choice) ในขั้นตอนระดับการปฏิบัติการเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G In-Band Migration สามารถครอบคลุมในทุกพื้นที่ (Coverage) อันจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในการเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีคุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้น สอดคล้องกับแนวนโยบายของ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการดังกล่าวภายใต้หลักการ Technology Neutral  โดยอิงหลักการของ WTO เรื่อง Technology Choice ที่ไม่กระทบต่อการแข่งขัน ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบกำหนดเป็นหลักการเพื่อให้สำนักงาน กสทช.ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติกรณีการขอเพิ่ม/ขยายจำนวนสถานีฐานเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้เทคโนโลยีใหม่บนคลื่นความถี่เดิม (In-Band Migration) นั้น ผู้ประกอบการสมควรต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งในเชิงพื้นที่ (Coverage) เชิงปริมาณ และคุณภาพ โดยให้ผู้ประกอบการมีหนังสือพร้อมรายละเอียดของข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง (Data Base) ในการเพิ่ม/ขยายจำนวนสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ แจ้งต่อ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทราบในลักษณะที่เป็นระบบ Notification โดยมิต้องดำเนินการที่ซ้ำซ้อนในขั้นตอนการเสนอขออนุญาตอีก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่มีมติหลักการนี้เป็นต้นไป โดยให้กำหนดเป็นเงื่อนไขด้วยว่าให้ผู้ประกอบการในฐานะผู้รับสัมปทานจะต้องแจ้งให้หน่วยงานที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานทราบถึงการขอเพิ่ม/ขยายจำนวนสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวด้วย ตลอดจนต้องปฏิบัติตามประกาศ/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรายงานผลความคืบหน้าของการดำเนินการให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทราบเป็นระยะๆ
1.  มอบหมายให้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับสำนักงาน กสทช. ในการติดตามและตรวจสอบรายละเอียดข้อมูล(Data Base) การเพิ่ม/ขยายจำนวนสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ได้รับแจ้ง (Notify) จากผู้ประกอบการ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงความครอบคลุม (Coverage)ความหนาแน่น (Density) และการกระจุกตัวของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่ต่างๆให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินการของผู้ประกอบการว่าได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร แล้วประมวลเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  เพื่อทราบและ/หรือพิจารณาต่อไป
     อนึ่ง สำหรับกรณีการขอเพิ่มจำนวนสถานีฐานเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้เทคโนโลยีใหม่บนคลื่นความถี่เดิมของ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำนวน 2,500 สถานีฐาน และบมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำนวน 2,000 สถานีฐาน (3G /HSPAIn-Band Migration) นั้น เพื่อความรวดเร็ว และมิให้เกิดความซ้ำซ้อน ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติตามที่บริษัททั้งสองได้เสนอขอมา ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว จะต้องไม่ขัดกับมาตรา 46 โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 46 วรรคสอง และมาตรา 84 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 84 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 กล่าวคือ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง อันเป็นสิทธิเฉพาะตัว จะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้ เว้นแต่จะเข้ากรณีตามมาตรา 84 วรรคสอง สำหรับการนำคลื่นความถี่ที่ได้รับจัดสรรไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการ โดยการอนุญาตสัมปทานตามสัญญาโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาประกอบกิจการจะประกอบกิจการต่อไปได้ เฉพาะในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ตามการอนุญาตสัมปทานหรือตามสัญญา ณ วันที่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปดำเนินการตรวจสอบและกำกับให้เป็นไปตามเงื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินการตามมาตรา ๔๑ ประกอบมาตรา 43 เมื่อสัญญาสัมปทานหรือการอนุญาตหมดอายุลง และแนวปฏิบัติตามมติข้างต้นต่อไป
ระเบียบวาระที่  6.3  :  การขอขยายจำนวนสถานีฐาน บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 800 MHz ระบบ HSPA ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม:ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ) , ปก.
มติที่ประชุม  โดยที่ในการประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่ 19/2554 ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ดำเนินการปรับปรุงโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 800 MHz (824.0-824.2 MHz คู่กับ 869.0-879.2 MHz) จากระบบ CDMAเป็น HSPA รวมทั้งสิ้นจำนวน 5,326 สถานี ไปแล้ว กอรปกับ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้มีมติในวาระที่ 6.2 เห็นชอบกำหนดหลักการในกรณีการขอเพิ่มจำนวนสถานีฐานเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้เทคโนโลยีใหม่บนคลื่นความถี่เดิมด้วยแล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ขยายจำนวนสถานีฐาน สำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 800 MHz(824.0-834.2 MHz คู่กับ 869.0-879.2 MHz) ระบบ HSPA เพิ่มเติมจำนวน 8,664 สถานี จากเดิมจำนวน 5,326 สถานี รวมเป็นจำนวน 13,990 สถานี ตามแผนการให้บริการของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว จะต้องไม่ขัดกับมาตรา 46 โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 46 วรรคสอง และมาตรา 84 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 84 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 กล่าวคือ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง อันเป็นสิทธิเฉพาะตัว จะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้ เว้นแต่จะเข้ากรณีตามมาตรา 84 วรรคสอง สำหรับการนำคลื่นความถี่ที่ได้รับจัดสรรไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการ โดยการอนุญาตสัมปทานตามสัญญาโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาประกอบกิจการจะประกอบกิจการต่อไปได้ เฉพาะในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ตามการอนุญาตสัมปทานหรือตามสัญญา ณ วันที่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปดำเนินการตรวจสอบและกำกับให้เป็นไปตามเงื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินการตามมาตรา 41 ประกอบมาตรา 43 เมื่อสัญญาสัมปทานหรือการอนุญาตหมดอายุลง และแนวปฏิบัติตามมติข้างต้นต่อไป
ระเบียบวาระที่  6.4  :  ข้อคิดเห็นเรื่องการดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิเอกสารข่ายสื่อสารดาวเทียมของประเทศไทย ณ ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม 120 องศาตะวันออก : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ (นายทศพรฯ), กร.
มติที่ประชุม            
1.  รับทราบข้อคิดเห็นเรื่อง การดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิเอกสารข่ายสื่อสารดาวเทียมของประเทศไทย ณ ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม 120 องศาตะวันออก ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมเพื่อไปดำเนินการประสานงานในเรื่องดังกล่าวต่อไปให้ชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ของ กสทช.และสำนักงาน กสทช. ว่า กสทช.และสำนักงาน กสทช. มีความยินดีและพร้อมให้ความร่วมมือ และสนับสนุนภายใต้บทบาทและขอบอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดในการดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิเอกสารข่ายสื่อสารดาวเทียมของประเทศไทย ณ ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม 120 องศาตะวันออก ตามแนวนโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีให้ประสบผลสำเร็จต่อไป
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.เร่งรัดตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเกิดความล่าช้าในการดำเนินการเรื่อง การพิจารณาคำขออนุญาตประกอบกิจการผ่านดาวเทียมของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.เพื่อทราบด้วยต่อไป ตามความเห็น กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
ระเบียบวาระที่  6.5  :  การอนุมัติการลาศึกษาและสนับสนุนทุนศึกษาให้แก่นางสาวกนกอร : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) , บค.
มติที่ประชุม  โดยที่โครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานศาลปกครองและมหาวิทยาลัย Toulouse 1 ซึ่งนางสาวกนกอร ฉวาง ปฏิบัติหน้าที่พนักงานปฏิบัติการระดับสูง สำนักกฎหมาย ขออนุมัติการขอสนับสนุนทุนการศึกษาในครั้งนี้ โดยเป็นการเรียนแบบการศึกษาทางไกล (Distance Learning) นั้น เป็นรูปแบบของการศึกษาที่ยังไม่มีระเบียบรองรับไว้ในกรณีของการเรียนแบบไม่เต็มเวลาดังกล่าว กอรปกับลักษณะของการเรียนดังกล่าวมหาวิทยาลัยมิได้กำหนดเป็นข้อบังคับเพียงแต่แนะนำให้ศึกษา และการลาศึกษาภาษาฝรั่งเศส นั้น ย่อมสามารถศึกษาในประเทศไทยได้ ดังนั้น ที่ประชุมพิจารณาแล้ว จึงมีมติไม่สามารถอนุมัติการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่ นางสาวกนกอร ฉวาง พนักงานสำนักงาน กสทช. ได้ตามที่เสนอขอ

สร้างโดย  -   (24/2/2559 13:48:16)

Download

Page views: 392