สรุปมติที่ประชุม กสทช. 30/2554

รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ 
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 30/2554
วันพุธที่  28  กันยายน  2554  เวลา  09.30  น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12  อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์       ประพิณมงคลการ    ประธานกรรมการ
2.  รองศาสตราจารย์สุธรรม     อยู่ในธรรม            กรรมการ
3.  นายสุรนันท์                     วงศ์วิทยกำจร        กรรมการ
4.  รองศาสตราจารย์พนา        ทองมีอาคม           กรรมการ
5.  นายฐากร                        ตัณฑสิทธิ์            รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. 

เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.
1.  นายอารักษ์            โพธิทัต               ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักการประชุมและเลขานุการ
2.  นางดวงเดือน           เสวตสมบูรณ์       ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการและติดตามประเมินผล
3.  นายบุญยิ่ง              โหมดเทศน์         ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนมติและรายงานการประชุม
4.  นางอรุณ                 วงศ์ศิวะวิลาส       ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนงานวาระการประชุม
5.  นางสาวจิรประภา      สุดสาคร             ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
6.  นางสาวสุภาวดี         สดศรี                ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
7.  นางสาวจุฑาสินี        คำบำรุง             ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
8.  นายฤทธิเดช            เหมาะประสิทธิ์    ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
9.  นางสาวภัทรพันธ์      ไพบูลย์              ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
10. นางสาวกุลรดา        ไชยศร               ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
 
ผู้ชี้แจง
1.  นายพากเพียร           สุนทรสิต            ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักการบริการอย่างทั่วถึง
2.  นางสุพินญา              จำปี                  ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย
3.  นายกีรติ                   อาภาพันธุ์          ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารระดับต้น
4.  นางสาวสุภัทรา          กฤตยาบาล         ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารระดับต้น
5.  นางรมิดา                 จรินทิพย์พิทักษ์   ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารระดับต้น
6.  นายจาตุรนต์             โชคสวัสดิ์           ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารระดับต้น
7.  นายโสรัจจ์                ศรีพุฒ               ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
8.  นางสาวภลดา             วงค์ไชยา           ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานตามสัญญาจ้าง
 
ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.  ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ได้รับหนังสือเชิญ จากสำนักพระราชวังญี่ปุ่น ไปร่วมงาน Enyukai (Autumn Garden Party) ซึ่งจัดโดยสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ในวันที่ 13 ตุลาคม 2554 ณ วัง Akasaka Gyo En กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยกำหนดออกเดินทางในวันเสาร์ วันที่ 8 ตุลาคม 2554 เนื่องจากมีกำหนดการพบกับ Ministry of Internal Affairs and Communications (MIC) ในวันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2554 และจะเดินทางกลับในวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2554 จึงขอหารือว่าจะกำหนดการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ในวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2554 ได้หรือไม่ ที่ประชุมกำหนดให้มีการประชุมในสัปดาห์หน้าเพิ่มอีกหนึ่งวันเพื่อชดเชย โดยจะเป็นวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2554 ตามปกติ และเพิ่มวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2554 ด้วย
2.  ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ) ได้รายงานที่ประชุมทราบว่า ได้รับการประสานงานจากเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายบัณฑูร  สุภัควานิช) เรื่อง ขอความช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วม ซึ่งสำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการโดยเชิญสมาคมนักวิทยุสมัครเล่นมาเข้าร่วมประชุม และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ส่งรองอธิบดีมาร่วมประชุมเพื่อประสานการดำเนินงานร่วมกัน ซึ่งในขณะนี้ทางกระทรวงมหาดไทยโดยปลัดกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือแจ้ง 26 จังหวัดเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักวิทยุสมัครเล่นที่จะเข้าไปช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วมดังกล่าวแล้ว
มติที่ประชุม             
1.  รับทราบเรื่องประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. แจ้งให้ที่ประชุมทราบ
2.  เห็นชอบกำหนดการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งต่อไป (ครั้งที่ 31/2554) โดยจะเป็นวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2554 ตามปกติ และเพิ่มอีกหนึ่งในวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2554 เพื่อทดแทนการประชุมในช่วงที่ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. เดินทางไปราชการที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนตุลาคม 2554 ระหว่างวันที่ 8 – 14 ตุลาคม 2554
3.  รับทราบเรื่องขอความร่วมมือช่วยเหลือภัยน้ำท่วม และการประสานการดำเนินงานกับสมาคมนักวิทยุสมัครเล่นและกระทรวงมหาดไทย ในการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน 26 จังหวัด ตามที่ ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ) รายงานให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่  2  :  เรื่องรับรองรายงานการประชุมรับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 29/2554 วันพุธที่ 14 กันยายน 2554
มติที่ประชุม  รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 29/2554 วันพุธที่ 14 กันยายน 2554 โดยมีข้อแก้ไขดังนี้
1.  ให้แก้ไขข้อความในหมายเหตุมติวาระที่ 4.15 โดยใช้ข้อความใหม่ ดังนี้
“ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นควรอนุมัติให้ บจ.เกษตรไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล ตั้งสถานีฐาน (Base Station) จำนวน ๗ สถานี  และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุ 142.050 MHz ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 kHz เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารด้านเกษตรกรรมและการรักษาความปลอดภัยได้ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าบริษัทได้ยื่นเรื่องขอรับใบอนุญาตมาตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเป็นกรณีที่ประกอบกิจการเดิม โดยเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ และเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ แต่ยังคงใช้คลื่นความถี่เดิม และสถานที่ตั้งบริษัทยังอยู่ที่เดิม
2.  ให้แก้ไขข้อความในมติวาระที่  4.46  โดยใช้ข้อความใหม่ ดังนี้ 
“ ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ได้มีมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่   28/2554 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 เห็นชอบการปรับปรุงแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 โดยอนุมัติการปรับเพิ่มงบประมาณรายจ่ายโครงการที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) จำนวน 8.7811 ล้านบาทไปแล้ว กอปรกับคณะกรรมการตรวจและรับมอบงานการจ้างฯ ได้ดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่ 5/2554 ซึ่งเห็นชอบหลักการพิจารณาของคณะกรรมการเจรจาต่อรองและบรรเทาความเสียหายฯ และดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการเจรจาต่อรองและบรรเทาความเสียหายฯ อย่างครบถ้วน โดยได้เจรจาต่อรองค่าจ้างสำหรับงวดที่ 4 กับที่ปรึกษาโครงการฯ โดยยึดถือประโยชน์ของสำนักงาน กสทช.เป็นที่ตั้ง รวมทั้งได้คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น และความยุติธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จนได้ข้อยุติที่จำนวนเงิน 3,714,834.50 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ลดลงร้อยละ 31.37 อย่างไรก็ดี โดยที่เหตุกรณีดังกล่าวเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างสำนักงาน กสทช. กับผู้รับจ้าง  ดังนั้น ที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.จึงมีมติกำหนดเป็นหลักการว่า ในกรณีนี้ให้สำนักงาน กสทช.ไปตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายให้ชัดเจนและถูกต้อง ยืนยันอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะทำการเบิกจ่ายต่อไป หากพบว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เหมาะสม หรือมีปัญหาไม่สามารถเบิกจ่ายได้  ให้นำเสนอที่ประชุม  กสทช.พิจารณาตัดสินอีกครั้งหนึ่ง
3.  ให้เพิ่มเติมข้อความในมติวาระที่ 6.2 และ 6.3 ดังนี้
3.1 เพิ่มเติมข้อความในมติวาระที่ 6.2 ข้อ 2 ต่อท้ายข้อความ “ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติตามที่บริษัททั้งสองได้เสนอขอมา” ดังนี้ “ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว จะต้องไม่ขัดกับมาตรา 46 โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 46 วรรคสอง และมาตรา 84 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 84 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ 2553 กล่าวคือ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง อันเป็นสิทธิเฉพาะตัว จะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้ เว้นแต่จะเข้ากรณีตามมาตรา 84 วรรคสอง สำหรับการนำคลื่นความถี่ที่ได้รับจัดสรรไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการ โดยการอนุญาตสัมปทานตามสัญญาโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาประกอบกิจการจะประกอบกิจการต่อไปได้ เฉพาะในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ตามการอนุญาตสัมปทานหรือตามสัญญา ณ วันที่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปดำเนินการตรวจสอบและกำกับให้เป็นไปตามเงื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินการตามมาตรา 41 ประกอบมาตรา 43 เมื่อสัญญาสัมปทานหรือการอนุญาตหมดอายุลง และแนวปฏิบัติตามมติข้างต้นต่อไป
3.2  เพิ่มเติมข้อความในมติวาระ 6.3 ต่อท้ายข้อความ “ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้” ดังนี้ “ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว จะต้องไม่ขัดกับมาตรา 46 โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 46 วรรคสอง และมาตรา 84 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 84 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 กล่าวคือ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง อันเป็นสิทธิเฉพาะตัว จะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้ เว้นแต่จะเข้ากรณีตามมาตรา 84 วรรคสอง สำหรับการนำคลื่นความถี่ที่ได้รับจัดสรรไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการ โดยการอนุญาตสัมปทานตามสัญญาโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาประกอบกิจการจะประกอบกิจการต่อไปได้ เฉพาะในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ตามการอนุญาตสัมปทานหรือตามสัญญา ณ วันที่ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปดำเนินการตรวจสอบและกำกับให้เป็นไปตามเงื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินการตามมาตรา 41 ประกอบมาตรา 43 เมื่อสัญญาสัมปทานหรือการอนุญาตหมดอายุลง และแนวปฏิบัติตามมติข้างต้นต่อไป
ระเบียบวาระที่  3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 29/2554 วันพุธที่ 14 กันยายน 2554
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ครั้งที่ 29/2554 วันพุธที่ 14 กันยายน  2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นของ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
2.1 ให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม  ทุกรายให้ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 โดยเคร่งครัด
2.2 ให้สำนักงาน กสทช. ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุความล่าช้าในการดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. ในการปฏิบัติตามมติที่ประชุม เรื่องการกำหนดแบบสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (Prepaid) จนเป็นสาเหตุให้เป็นคดีขึ้นสู่ศาลปกครอง และศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร และนำเสนอที่ประชุมเพื่อทราบต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา   
กลุ่มเรื่องกฎหมาย  
4.1   การอุทธรณ์คำสั่งเลขาธิการ กสทช. ตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 2/2554 วันที่ 12 มกราคม 2554 ของบริษัท วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด : กม.
4.2   การพิจารณาข้อเสนอของบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ในการขอแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดในแบบสัญญาการให้บริการโทรคมนาคม : กม.
กลุ่มเรื่องใบอนุญาต
4.3   การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ของ บริษัท คอล-เอ้าท์-เอเชีย จำกัด : ปก.
4.4   ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ประจำปี 2552 ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.5  การจัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเพิ่มเติมประเภทโครงข่าย (โครงข่ายไร้สายเทคโนโลยี WiFi 2.4 GHz และ 5 GHz) ของ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) : ปก.
กลุ่มเรื่องเลขหมาย
4.6  สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : กบ.
4.7  บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : กบ.
4.8    บริษัท สมูท อี จำกัด ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : กบ.
4.9    การขออุทธรณ์การจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ : กบ.
4.10  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : กบ.
กลุ่มเรื่องการบริหารงานของสำนักงานฯ/งบประมาณ
4.11  การกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2554 : ลสทช., บค.(ครั้งที่ 29/2554)
4.12  โครงการเกษียณก่อนกำหนดปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 : บค.
4.13  การขอรับการสนับสนุนงบประมาณการจัดทำหนังสือที่ระลึก ละครเวทีอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” : บป.
4.14  ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางและร่างหลักเกณฑ์การให้บริการเสริมผ่านมือถือเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกรบกวนและเพื่อการกำกับดูแล : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.15  โครงการพัฒนาศูนย์สาธิตอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคม สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (โครงการต่อเนื่อง) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.16  โครงการสนับสนุนการรับเรื่องร้องเรียนและพัฒนาศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ปี 2554 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ  
กลุ่มเรื่องกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
4.17  การพิจารณาแก้ไขข้อมูลการแจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและแสวงหาเอกสารของสถานีวิทยุกระจายเสียงฯ คลื่นความถี่ 89.50 MHzและคลื่นความถี่ 88.75 MHz จังหวัดหนองคาย : กส.
4.18  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว(วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2554 (สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อสุขภาพ และสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนสหสัมพันธ์ล้านนา) : กส.
4.19  ผังรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนแปลงยาว คลื่นความถี่ 105.75 MHzเพื่อใช้ในการออกอากาศ และการพิจารณาแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : กส.
4.20  ข้อสังเกตเกี่ยวกับวาระการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยปฏิบัติหน้าที่ด้านวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และการจ่ายค่าตอบแทน : กส.
4.21  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2554 (จำนวน 23 ราย (103 ใบอนุญาต)) : กส.
4.22  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลี่นความถี่ชั่วคราว(กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว(กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2554(จำนวน 31 ราย 79 ใบอนุญาต) : กส.
4.23  ผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวทิยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันจันทร์ 22 สิงหาคม 2554 และครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ จำนวน 5 ราย (8 ใบอนุญาต) : กส.
4.24  ผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2554 และครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ จำนวน 14 ราย (36 ใบอนุญาต) : กส.
4.25  การพิจารณาผังรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนเมืองลี้ คลื่นความถี่103.75 MHz อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เพื่อใช้ในการออกอากาศ : กส.     
4.26  การขอคัดค้านมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 18/2554 ของสมาคมวิทยุ – โทรทัศน์พัฒนาธุรกิจไทย (สว.พท.) : กส.
4.27  ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามบทเฉพาะกาลของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) : คณะทำงานด้านกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (กส.)
4.28  การจัดทำความตกลงด้านการผลิตภาพยนตร์และโสตทัศน์กับอินเดีย : สท.
4.29  แนวทางการขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลการแจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน : กส.
4.30  การแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการสำหรับกรณีวิทยุกระจายเสียงเชิงประเด็น : กส.                    
กลุ่มเรื่องร้องเรียน
ก. ยกเลิกบริการ/ขอเงินคืน กรณีบริการ Prepaid
4.31   ผู้ร้องจำนวน 15 ราย ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้า ประสบปัญหาเนื่องจากได้ยกเลิกบริการและต้องการเงินที่ชำระล่วงหน้าคืนแต่ถูกผู้ให้บริการปฏิเสธการคืนเงิน (Prepaid ยกเลิกบริการ ขอเงินคืน)
: กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.32   ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้า ประสบปัญหาเนื่องจากได้ยกเลิกบริการและต้องการเงินที่ชำระล่วงหน้าคืน แต่ถูกผู้ให้บริการปฏิเสธการคืนเงิน (Prepaid ยกเลิกบริการ ขอเงินคืน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
 ข. กำหนดวันใช้/ยึดเงิน/นำเบอร์ไปขายก่อนครบ 180 วัน กรณีบริการ Prepaid
4.33   ผู้ร้องจำนวน 70 ราย ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้า(prepaid) ประสบปัญหาเนื่องจากถูกกำหนดวันใช้งาน และถูกยึดเงินคงเหลือในระบบ : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.34   ผู้ร้องจำนวน 13 ราย ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้า ประสบปัญหาเนื่องจากถูกกำหนดระยะเวลาใช้บริการ (Prepaid ถูกกำหนดวันใช้งาน ขอให้เปิดสัญญาณและยกเลิกการกำหนดวัน) : กลุ่มภารกิจด้าน
การคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.35   ผู้ร้องจำนวน 7 ราย ประสบปัญหาถูกกำหนดระยะเวลาใช้บริการ และปัจจุบันผู้ให้บริการได้นำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ร้องไปจำหน่ายต่อแล้ว ทั้งที่ยังไม่ครบกำหนด 180 วัน(Prepaid ถูกนำเบอร์ไปขายทั้งที่ยังไม่ครบกำหนด 180 วัน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.36   ข้อร้องเรียนของนางกชนันท์ สุขคุณอมรรัตน์ กรณี บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลสมัลติมีเดีย จำกัด กรณีถูกกำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย, ถูกเรียกเก็บค่ารักษาเลขหมาย
เดือนละ 50 บาท : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.37   ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้า (prepaid) ประสบปัญหาเนื่องจากถูกกำหนดวันใช้งาน และถูกยึดเงินคงเหลือในระบบ : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.38   ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้า ประสบปัญหาเนื่องจากถูกกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำอันมีลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด (Prepaid ถูกกำหนดวันใช้งาน ขอให้เปิดสัญญาณและยกเลิกการกำหนดวัน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
ค. กรณีระงับสัญญาณ
4.39   การพิจารณาข้อร้องเรียนกรณีบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด ระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้บริการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.40   ข้อร้องเรียนของนายไกรวัลย์ คทวณิช กรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) ทำการระงับสัญญาณโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าว โดยไม่มีการแจ้งให้ผู้ร้องทราบล่วงหน้า ซึ่งสาเหตุตามที่ผู้ร้องแจ้งเกิดจากการที่ระบบชำระค่าบริการของบริษัทเกิดความผิดพลาด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.41   ข้อร้องเรียนของนางสาวณัฐธยาณ์ อสุณี ณ อยุธยา กรณีบริษัท บริษัท ทรู มูฟ จำกัดเรียกเก็บค่าบริการหลังจากถูกระงับสัญญาณ: กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
ง. กรณีเรียกเก็บโดยไม่ได้สมัคร/ใช้บริการ
4.42   ข้อร้องเรียนของนายอภิรักษ์ ชัมภล กรณีบริษัท ทรู มูฟ จำกัด มีการเรียกเก็บค่าบริการข้อความสั้นทั้งที่ไม่เคยสมัครใช้บริการ : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.43   ข้อร้องเรียนของนางกัลยากร ตันศิริวงศ์ กรณีบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)เรียกเก็บค่าบริการทั้งที่ผู้ร้องไม่มีการใช้บริการ และไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าบริการ : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
จ. กรณีอื่นๆ
4.44   ข้อร้องเรียนของนางสาวปิตุภูมิ นิตยานันทะ กรณี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) คิดอัตราค่าบริการในรายการส่งเสริมการขาย “15 หยกๆ 16 หย่อนๆ” ขัดต่อคำสั่ง กทช. ที่ 19/2553 เรื่อง ห้ามเรียกเก็บค่าบริการในกิจการโทรคมนาคมจากผู้ใช้บริการในอัตราที่แตกต่างกันสำหรับบริการโทรคมนาคมลักษณะหรือประเภทเดียวกัน : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ                                 
4.45   ข้อร้องเรียนของนางสาวรัชฎาภรณ์ โนมูระ กรณีการให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของ บริษัท ทรู มูฟ จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.46   ข้อร้องเรียนของนางนพเก้า ไกรรักษ์ กรณีบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด ไม่ยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ต : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.47   ข้อร้องเรียนของนางสาวสุชานันท์ พิสิษญ์โชค กรณี บริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ตจำกัด เรียกเก็บค่าบริการรายเดือนของบริการอินเทอร์เน็ตล่วงหน้า: กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.48   ข้อร้องเรียนของนายแพทย์สมศักดิ์ ลิรัฐพงศ์ กรณีสัญญาณ PCT ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่ได้มาตรฐานและเรียกเก็บค่าบริการผิดพลาด: กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
กลุ่มเรื่องหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียน
4.49  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของ บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.50  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของ บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.51  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของ บริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
 4.52  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของ บริษัท แอดวานซ์ อินเทอร์เน็ต เรโวลูชั่น จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
 4.53  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.54  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของ บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.55  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.56  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.57  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหา เรื่องร้องเรียนของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.58  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหา เรื่องร้องเรียนของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.59  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหา เรื่องร้องเรียนของบริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.60  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท เอเชีย อินโฟเน็ท จำกัด (มหาชน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.61  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหา เรื่องร้องเรียนของบริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต จำกัด: กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.62  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
ระเบียบวาระที่  4.6  :  สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ขอรับการจัดสรรเลขหมาย โทรคมนาคมพิเศษ : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1204 เพื่อสนับสนุนการกำกับดูแลกิจการพลังงานและเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ใช้พลังงานได้มีส่วนร่วมในการจัดการด้านพลังงานร่วมแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อมูลตรวจสอบและร้องเรียนสอบถามข้อมูล หากได้รับบริการที่ไม่เป็นธรรม ตามที่ สกพ.เสนอขอ ทั้งนี้ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 โดยเคร่งครัดต่อไป ตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.7  :  บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ขอรับการจัดสรรเลขหมาย  โทรคมนาคมพิเศษ : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ให้แก่ บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์  เซ็นเตอร์ จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1756 เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานระหว่างลูกค้ากับสำนักงานใหญ่ ตามที่บริษัทฯ เสนอขอ ทั้งนี้ โดยให้บริษัทฯ ดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 โดยเคร่งครัดต่อไปตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.8  :  บริษัท สมูท อี จำกัด ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ให้แก่ บริษัท สมูท อี จำกัด  จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1757 เพื่อความรวดเร็วในการประสานงานการให้บริการและคำปรึกษาแก่ลูกค้า ตามที่บริษัทฯ เสนอขอ ทั้งนี้ โดยให้บริษัทฯ ดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 โดยเคร่งครัดต่อไปตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ    ระเบียบวาระที่  4.9  :  การขออุทธรณ์การจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม  โดยที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้เสนอขอให้พิจารณาทบทวนการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ หมายเลข 1348 เป็นหมายเลข 1184 เพื่อมิให้ส่งผลกระทบกับประชาชน เพราะจะทำให้จดจำยาก และกดหมายเลขผิดแทน ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้ส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม เป็นผู้พิจารณาเพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.10  :  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้รับจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษจำนวนมากและกระจัดกระจาย อาจมีผลกระทบในเชิงลบต่อการจดจำเพื่อเข้าถึงบริการ กอปรกับกรมสุขภาพจิตมี เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษใช้งาน จำนวน 2 เลขหมาย ซึ่งมีปริมาณการให้บริการไม่สูงมากเมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่นในสังกัดเดียวกัน ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและกรมสุขภาพจิตพิจารณาบริหารจัดการใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความประหยัดทรัพยากรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษให้สามารถบริหารจัดการและรองรับความจำเป็นในการใช้งานในอนาคตได้อย่างเพียงพอ ซึ่งสอดคล้องตามข้อ 56 (2) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้ผู้รับการจัดสรรที่เป็นหน่วยงานของรัฐที่ได้การจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ต้องให้ส่วนงานอื่นของหน่วยงานของรัฐสามารถใช้งานร่วมได้สำหรับวัตถุประสงค์เดียวกัน ตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.12  :  โครงการเกษียณก่อนกำหนดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นาย ประเสริฐฯ), บค.
มติที่ประชุม  โดยที่การจัดทำโครงการเกษียณก่อนกำหนดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 นั้น เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานที่มีความรู้ความสามารถและมีศักยภาพในการทำงานสูงแต่มีอายุน้อยได้แสดงบทบาทในการทำงานมากขึ้น อีกทั้งเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรโดยรวมในระยะยาวลงได้ กอปรกับที่ผ่านมา กทช.(ขณะนั้น) ได้เคยมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการโครงการเกษียณก่อนกำหนดประสบความสำเร็จมาแล้วโดยมีรายละเอียดของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแบบเดียวกันกับโครงการฯที่เสนอมานี้ ดังนั้น ที่ประชุมพิจารณาแล้วจึงมีมติเห็นชอบโครงการเกษียณก่อนกำหนดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปดำเนินการโครงการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.17  :  การพิจารณาแก้ไขข้อมูลการแจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนและแสวงหาเอกสาร ของสถานีวิทยุกระจายเสียงฯ คลื่นความถี่ 96.50 MHz และคลื่นความถี่ 88.75 MHz จังหวัดหนองคาย : กส.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมเห็นชอบการแก้ไขข้อมูลการแจ้งความประสงค์ประกอบกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชน คลื่นความถี่ 96.50 MHz และรับทราบการแสวงหาเอกสารของสถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นความถี่ 88.75 MHz จังหวัดหนองคาย ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  รับทราบรายงานการตรวจสอบข้อมูลของสถานีวิทยุกระจายเสียงฯ คลื่นความถี่ 88.75 MHz จังหวัดหนองคาย ซึ่งไม่ปรากฏเอกสารแจ้งความประสงค์ของ นางพงษ์ลัดดา  สุระขันธ์ ดังนั้น การยื่นคำร้องของนาง พงษ์ลัดดา  สุระขันธ์ จึงไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงว่าเป็นผู้แจ้งความประสงค์
2.  โดยที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า รายการ E0200690079 เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่มิได้ตัดรายการออกจากสาเหตุของความซ้ำซ้อนของข้อมูล ดังนั้น จึงให้ตัดข้อมูลสถานีวิทยุกระจายเสียงฯ คลื่นความถี่ 96.50 MHz เลขที่รับลงทะเบียน E0200690079 ซึ่งนายพงษ์พิพัฒน์  สุขะขันธ์ เป็นผู้แจ้งความประสงค์ออก เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนต่อไป ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ   
ระเบียบวาระที่  4.18  :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2554 (สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อสุขภาพ และสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนสหสัมพันธ์ล้านนา) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ให้แก่ผู้รับใบอนุญาต จำนวน 2 ราย ได้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อสุขภาพ คลื่นความถี่ 88.50 MHz อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และสถานีวิทยุกระจายเสียงสหสัมพันธ์ล้านนา คลื่นความถี่ 107.25 MHz อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ตามข้อ 8(4) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยกำหนดให้มีการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวนตามข้อ 8(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
     อนึ่ง การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เป็นการอนุญาตให้ใช้ทดลองเป็นการชั่วคราว และอาจปรับเปลี่ยนได้ตามแผนความถี่ รวมทั้งการอนุญาตไม่ก่อให้เกิดสิทธิถาวรกับผู้รับใบอนุญาตที่จะอ้างสิทธิได้
ระเบียบวาระที่  4.19  :  ผังรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนแปลงยาว คลื่นความถี่ 105.75 MHz เพื่อใช้ในการออกอากาศ และการพิจารณาแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน)  : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม    
1.  รับทราบการยื่นผังรายการที่จะออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนแปลงยาว ความถี่ 105.75 MHz อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 16 รายการ ซึ่งเป็นไปตามข้อ 10 และข้อ 13 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
2.  เห็นชอบการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.เสนอ ดังนี้
2.1  แต่งตั้งเลขาธิการ กสทช. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
2.2  แต่งตั้งพนักงานสำนักงาน กสทช. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจปฏิบัติหน้าที่เฉพาะอย่าง ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 2.1 มอบหมาย
ระเบียบวาระที่  4.21  :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2554  จำนวน 23 ราย (103 ใบอนุญาต) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม                
1.  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ จำนวน 23 ราย (103 ใบอนุญาต) ตามข้อ 7(3) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) โดยกำหนดให้มีการทดลองให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงเป็นเวลา 30 วัน ตามข้อ 7(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น และการขึ้นทะเบียนช่องรายการของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว ทั้งนี้ ตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1.1  บริษัท ซีเอ็นเอส มัลติมีเดีย ทีม จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 85 ช่องรายการ
1.2  ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.ที.เอส.คอมมูนิเคชั่น จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 48 ช่องรายการ
1.3  บริษัท รับความสุข จำกัด จำนวน 29 ใบอนุญาต/ 80 ช่องรายการ
1.4  บริษัท นิวเวฟเคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.5  บริษัท เวิลด์ เอนเตอร์เทนเมนท์ เทเลวิชั่น จำกัด จำนวน 4 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.6  บริษัท เอ็ม.เอส.เอส.ปทุมธานี เคเบิลทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.7  บริษัท เอ็ม.เอส.เอส.พิษณุโลก เคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน 4 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.8  บริษัท เอ็ม.เอส.เอส. นนทบุรี เคเบิลทีวี จำกัด จำนวน 5 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.9  บริษัท เอ็ม.เอส.เอส.เคเบิ้ล ทีวี จำกัด จำนวน 5 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.10 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ณรงค์เดชอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 1 ใบอนุญาต 40 ช่องรายการ
1.11 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวะเทรดดิ้ง นรา จำนวน 1 ใบอนุญาต 64 ช่องรายการ
1.12 บริษัท เอ็ม.เอส.เอส.กรุงเทพมหานคร เคเบิลทีวี จำกัด จำนวน 15 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.13 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เซาท์อีสเทอร์น สกายเน็ทเวิล์ก จำนวน 2 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.14 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค. วิชั่น จำนวน 1 ใบอนุญาต 40 ช่องรายการ
1.15 ห้างหุ้นส่วนจำกัด พัทลุง เคเบิลทีวี จำนวน 8 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.16 บริษัท เอ็ม.เอส.เอส.สมุทรปราการ เคเบิลทีวี จำกัด จำนวน 4 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.17 บริษัท บางละมุงเคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 96 ช่องรายการ
1.18 บริษัท นครเขื่อนขันธ์เคเบิลทีวี จำกัด จำนวน 6 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.19 ห้างหุ้นส่วนจำกัด จันทบุรีเคเบิ้ลทีวี โฮม จำนวน 1 ใบอนุญาต 36 ช่องรายการ
1.20 บริษัท ทรู พาวเวอร์ ไลน์ จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 64 ช่องรายการ
1.21 บริษัท เจทีวี บางกอก จำกัด จำนวน 5 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.22 บริษัท พีเอสพี คอมมิวนิเคชั่น จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.23 บริษัท เมจิก เคเบิ้ล จำกัด จำนวน 3 ใบอนุญาต 40 ช่องรายการ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุม (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปติดตามตรวจสอบช่องรายการของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทุกรายว่าได้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงเป็นไปตามที่อนุญาตไว้หรือไม่ด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกำกับดูแลมิให้มีการกระทำการใดๆ ที่ไม่เหมาะสม และ/หรือฝ่าฝืนกฎระเบียบที่กำหนดไว้ แล้วรายงานผลให้ทราบเป็นระยะๆ
ระเบียบวาระที่  4.22  :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลี่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 จำนวน 31 ราย (79 ใบอนุญาต) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม              
1.  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ จำนวน 31 ราย (79 ใบอนุญาต) ตามข้อ 7(3) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) โดยกำหนดให้มีการทดลองให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงเป็นเวลา 30 วัน ตามข้อ 7(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น และการขึ้นทะเบียนช่องรายการของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว ทั้งนี้ ตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1.1 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอส.พี. เคเบิ้ล ทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 70 ช่องรายการ
1.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.พี.เอส เคเบิลทีวี (สมุทรสงคราม) จำนวน 4 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดอนสัก เคเบิล ทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.4 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดี.พี.เคเบิลเน็ทเวิร์ค จำนวน 1 ใบอนุญาต 92 ช่องรายการ
1.5 บริษัท ปราการ เคเบิ้ล ทีวี จำกัด จำนวน 5 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.6 บริษัท โฮมเคเบิ้ล ซิสเท็มส์ จำกัด จำนวน 2 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.7 บริษัท ไบท์ลายน์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด จำนวน 4 ใบอนุญาต 73 ช่องรายการ
1.8 บริษัท ดิจิตอล เทเลวิชั่น เน็ทเวิร์ค จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.9 บริษัท ยื้อชึ้น เคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน 6 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.10 บริษัท เอส พี เอช เคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน 6 ใบอนุญาต 90 ช่องรายการ
1.11 บริษัท กาญจนบุรีโทรทัศน์ จำกัด จำนวน 3 ใบอนุญาต 63 ช่องรายการ
1.12 บริษัท เอส แอนด์ ซี คอมมิวนิเคชั่น  2001 จำกัด จำนวน 2 ใบอนุญาต 75 ช่องรายการ
1.13 ท่าวังผาเคเบิลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 30 ช่องรายการ
1.14 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ้านแหลมเพชรบุรีเคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 40 ช่องรายการ
1.15 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สล่าวัสดุก่อสร้าง จำนวน 7 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.16 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้นว่านเคเบิ้ลทีวี จำนวน 2 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.17 ห้างหุ้นส่วนจำกัด จอหอ เคเบิลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 68 ช่องรายการ
1.18 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปรัชญารุ่งเรือง จำนวน 1 ใบอนุญาต 40 ช่องรายการ
1.19 ห้างหุ้นส่วนจำกัด จันทบุรีเคเบิ้ลทีวี โฮม จำนวน 1 ใบอนุญาต 36 ช่องรายการ
1.20 บริษัท ไอซีทีวี จำกัด จำนวน 2 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.21 บริษัท นวภัณฑ์ จำกัด จำนวน 4 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.22 บริษัท เคเบิล มีเดีย เน็ตเวิร์ค จำกัด จำนวน 3 ใบอนุญาต 55 ช่องรายการ
1.23 บริษัท เขาหลัก เคเบิ้ล ทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.24 บริษัท ทีวีเอ ครีเอชั่น จำกัด จำนวน 8 ใบอนุญาต 90 ช่องรายการ)
1.25 บริษัท สยามฟันเคเบิ้ลทีวีเน็ทเวิร์ค จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 116 ช่องรายการ
1.26 บริษัท ตะวัน เคเบิล เน็ต จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 82 ช่องรายการ
1.27 บริษัท อาร์ซีบิสซิเนส จำกัด จำนวน 3 ใบอนุญาต 63 ช่องรายการ
1.28 ทุ่งช้างเคเบิลทีวี จำนวน 2 ใบอนุญาต 18 ช่องรายการ
1.29 บริษัท บูล ดอลฟินท์ เคเบิลทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.30 บริษัท นิว-ไฮเทค เคเบิล เทเลวิชั่น จำกัด จำนวน 2 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.31 บริษัท เมืองกาญจน์เคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุม (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)ไปติดตามตรวจสอบช่องรายการของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทุกรายว่าได้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงเป็นไปตามที่อนุญาตไว้หรือไม่ด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกำกับดูแลมิให้มีการกระทำการใดๆที่ไม่เหมาะสม และ/หรือฝ่าฝืนกฎระเบียบที่กำหนดไว้ แล้วรายงานผลให้ทราบเป็นระยะๆ
ระเบียบวาระที่  4.23  :  ผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันจันทร์ 22 สิงหาคม 2554 และครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ จำนวน 5 ราย (8 ใบอนุญาต) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม              
1.  รับทราบผลการตรวจสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณ เมื่อสถานี ทำการทดลองให้บริการ หรือแพร่ภาพกระจายเสียงของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 5 ราย (8 ใบอนุญาต) ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการรั่วไหลของสัญญาณ ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เสนอ ดังนี้
1.1 บริษัท โฮริซอน เคเบิ้ล คอมมูนิเคชั่น จำกัด (1 ใบอนุญาต/ 80 ช่องรายการ)
1.2 บริษัท ไทซิน แอดวานซ์ เทคโนโลยี่ จำกัด (1 ใบอนุญาต/ 102 ช่องรายการ)
1.3 บริษัท เมืองเพชรเคเบิ้ลทีวี จำกัด (1 ใบอนุญาต/ 53 ช่องรายการ)
1.4 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที.ที.เคเบิล (1 ใบอนุญาต/ 80 ช่องรายการ)
1.5 บริษัท พังงาเคเบิ้ล กรุ๊ป จำกัด (4 ใบอนุญาต/ 71 ช่องรายการ)
2.  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต จำนวน 5 ราย ตามข้อ 1 และการพิจารณาขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามข้อ 10 ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ทีมีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุม (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)ไปติดตามตรวจสอบช่องรายการของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทุกรายว่าได้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงเป็นไปตามที่อนุญาตไว้หรือไม่ด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกำกับดูแลมิให้มีการกระทำการใดๆ ที่ไม่เหมาะสม และ/หรือฝ่าฝืนกฎระเบียบที่กำหนดไว้ แล้วรายงานผลให้ทราบเป็นระยะๆ
ระเบียบวาระที่ 4.24  :  ผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2554 และครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ จำนวน 14 ราย (36 ใบอนุญาต) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม            
1.  รับทราบผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณ เมื่อสถานีทำการทดลองให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 14 ราย (36 ใบอนุญาต) ซึ่งไม่ปรากฏการรั่วไหลของสัญญาณ ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เสนอ ดังนี้
1.1  ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ พี ดี เทเลวิชั่น (1 ใบอนุญาต/ 50 ช่องรายการ)
1.2  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล นครปฐมเคเบิ้ลทีวี (2 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ)
1.3  บริษัท ราชบุรีเคเบิ้ล ทีวี จำกัด (1 ใบอนุญาต/ 63 ช่องรายการ)
1.4  บริษัท เฟรนลี่มายด์ จำกัด (5 ใบอนุญาต/ 86/52/42 ช่องรายการ)
1.5  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ด่านช้าง เน็ทเวิอร์ค (3 ใบอนุญาต/ 45 ช่องรายการ)
1.6  บริษัท ทิพย์เคเบิ้ลทีวี จำกัด (2 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ)
1.7  ห้างหุ้นส่วนจำกัด นาสาร อีเลคโทรนิคส์ (1 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ)
1.8  บริษัท เจริญยิ่ง(8888) จำกัด (3 ใบอนุญาต/ 80 ช่องรายการ)
1.9  ห้างหุ้นส่วนจำกัด สนุก เคเบิ้ล ทีวี (4 ใบอนุญาต/ 85 ช่องรายการ)
1.10 ห้างหุ้นส่วนจำกัด คลองใหญ่เคเบิ้ลทีวี (1 ใบอนุญาต/ 70 ช่องรายการ)
1.11 บริษัท เคเบิล ชลบุรี เน็ทเวิร์ค จำกัด (10 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ)
1.12 บริษัท โพนพิสัย เคเบิล ทีวี แอนด์ วิชั่น จำกัด (1ใบอนุญาต/ 59 ช่องรายการ)
1.13 บริษัท สตาร์ เคเบิ้ล ทีวี จำกัด (1 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ)
1.14 บริษัท กะรน เคเบิ้ล จำกัด (1 ใบอนุญาต/ 80 ช่องรายการ)
2.  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต จำนวน 14 ราย ตามข้อ 1 และการพิจารณาขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามข้อ 10 ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุม (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)ไปติดตามตรวจสอบช่องรายการของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทุกรายว่าได้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงเป็นไปตามที่อนุญาตไว้หรือไม่ด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกำกับดูแลมิให้มีการกระทำการใดๆที่ไม่เหมาะสม และ/หรือฝ่าฝืนกฎระเบียบที่กำหนดไว้ แล้วรายงานผลให้ทราบเป็นระยะๆ
ระเบียบวาระที่  4.25  :  การพิจารณาผังรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนเมืองลี้ คลื่นความถี่ 103.75 MHz อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เพื่อใช้ในการออกอากาศ : กส.           
มติที่ประชุม  เห็นชอบผังรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเมืองลี้ คลื่นความถี่ 103.75 MHz อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 44 รายการ ซึ่งเป็นไปตามกำหนดเวลาของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ข้อ 13 และมีสัดส่วนรายการเป็นไปตามข้อ 10 และข้อ 12 ของประกาศดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุม (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)ไปติดตามตรวจสอบการดำเนินรายการต่างๆ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเมืองลี้ด้วยว่าได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง และเป็นไปตามที่อนุญาตไว้หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกำกับดูแลมิให้มีการกระทำการใดๆที่ไม่เหมาะสม และ/หรือฝ่าฝืนกฎระเบียบที่กำหนดไว้
ระเบียบวาระที่  4.27  :  ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามบทเฉพาะกาลของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) : คณะทำงานด้านกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (กส.)
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามบทเฉพาะกาลของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามที่คณะทำงานด้านกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (กส.) ได้เสนอมา นั้น แม้ข้อ 21 ของประกาศ กทช. ดังกล่าวจะระบุว่า ให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ สิ้นสุดลงนับแต่วันที่คณะกรรมการขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เข้ารับหน้าที่ก็ตาม แต่ก็จะไม่กระทบถึงการดำเนินการที่ กทช. และคณะอนุกรรมการฯ ได้สั่งการหรืออนุมัติไว้เดิมในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 กอปรกับขณะนี้ใกล้จะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช.แล้ว ซึ่งเป็นอำนาจของ  กสทช. โดยแท้จริงตามกฎหมายที่จะต้องเป็นผู้พิจารณาการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก)  ดังกล่าว และเมื่อมี กสทช. เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เรียบร้อยแล้ว คณะอนุกรรมการฯ และบรรดาระเบียบ/ประกาศที่ออกไว้ตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ก็ต้องเป็นอันสิ้นผลลง ดังนั้น โดยหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เมื่อพิจารณาแล้วที่ประชุมจึงมีมติว่าไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องแก้ไขประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) โดยการตัดข้อ 21 ออก ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รีบนำเรื่องการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) เสนอต่อ กสทช. เพื่อพิจารณาออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งเป็นอำนาจของ  กสทช. โดยแท้จริงตามกฎหมายโดยด่วนต่อไป                   
ระเบียบวาระที่  4.29 :  แนวทางการขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลการแจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน : กส.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมให้ความเห็นชอบ (Endorse) ต่อแนวทางการขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลการแจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ควรยึดหลักการห้ามมิให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้คลื่นความถี่ตามมติ กทช. ในคราวการประชุมครั้งที่ 19/2553 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2553
2.  ในการพิจารณาคำร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงการใช้คลื่นความถี่ของผู้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว ให้พิจารณาตามลำดับ ดังนี้
2.1  พิจารณาสภาพปัญหาและเหตุผลของการขอเปลี่ยนแปลง โดยเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้คลื่นความถี่ที่จะพิจารณาให้ปรับเปลี่ยนการใช้คลื่นได้จะต้องเกิดจากสภาพปัญหาการรบกวนคลื่นความถี่ ทั้งนี้ ในเบื้องต้นให้นำเอาหลักเกณฑ์การแก้ไขสภาพปัญหาการรบกวนคลื่นความถี่ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) มาปรับใช้ ดังนี้
(1) กรณีสาเหตุเกิดจากการรบกวนคลื่นความถี่ระหว่างผู้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวกับวิทยุกระจายเสียงหลัก วิทยุการบิน และวิทยุคมนาคมให้ดำเนินการตามกระบวนการในประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ข้อ 35 ข้อ 37 และข้อ 38
(2) กรณีสาเหตุเกิดจากการรบกวนคลื่นความถี่ระหว่างกลุ่มผู้ทดลองออกอากาศด้วยกันเองให้ดำเนินการตามกระบวนการในประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ข้อ 36
2.2  เมื่อได้มีการดำเนินการตามข้อ 2.1  แล้ว ปรากฏว่ากระบวนการตามข้อ 2.1 ไม่สามารถแก้ไขสภาพปัญหาการรบกวนคลื่นความถี่ได้ และหากยังคงใช้คลื่นความถี่เดิมต่อไปอีกจะส่งผลกระทบต่อการออกอากาศของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ผู้รับอนุญาตให้ประกอบวิทยุกระจายเสียงตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 หรือผู้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว เห็นควรให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงการใช้คลื่นความถี่เป็นรายกรณีไป
3.  กรณีผู้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวตามบทเฉพาะกาลข้อ 18 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จะต้องดำเนินการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวภายใต้ขอบเขตและเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งภายใต้ขอบเขตและเงื่อนไขดังกล่าวมิได้กำหนดเกี่ยวกับการใช้คลื่นความถี่ไว้ นอกจากนี้ กทช. มิได้มีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่ ดังนั้น หากจะพิจารณาให้ผู้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวสามารถเปลี่ยนแปลงคลื่นความถี่ได้อาจจะเป็นการดำเนินการที่เกินขอบเขตอำนาจที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี การพิจารณากรณีการขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลการแจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนจะต้องคำนึงถึงกระบวนการ และแนวทางในการปฏิบัติ ทั้งนี้ หากจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว สามารถดำเนินการได้โดยการแก้ไขขอบเขตและเงื่อนไขของผู้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว ซึ่งการแก้ไขขอบเขตและเงื่อนไขดังกล่าวจะต้องมีเหตุผลที่คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของส่วนรวม มิใช่การดำเนินการเพื่อกลุ่มผู้ประกอบกิจการกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
ทั้งนี้  โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่อง แนวทางการขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลการแจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนดังกล่าวเสนอต่อ กสทช. ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจแท้จริงตามกฎหมายเพื่อพิจารณายืนยันอีกครั้งหนึ่งด้วย
ระเบียบวาระที่  4.30  :  การแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการสำหรับกรณีวิทยุกระจายเสียงเชิงประเด็น : กส.
มติที่ประชุม  โดยที่การดำเนินการกรณีวิทยุกระจายเสียง/วิทยุชุมชนเชิงประเด็น นั้น เป็นเรื่องเชิงนโยบาย กอปรกับขณะนี้ใกล้จะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช.แล้ว ดังนั้น ที่ประชุมพิจารณาแล้วจึงมีมติมอบหมายให้ สำนักงาน กสทช.นำเรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการสำหรับกรณีวิทยุกระจายเสียงเชิงประเด็น เสนอต่อ กสทช. เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.31  :  ผู้ร้องจำนวน 15 ราย ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้า ประสบปัญหาเนื่องจากได้ยกเลิกบริการและต้องการเงินที่ชำระล่วงหน้าคืน แต่ถูกผู้ให้บริการปฏิเสธการคืนเงิน (Prepaid ยกเลิกบริการ ขอเงินคืน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่  4.32  :  ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้า ประสบปัญหา เนื่องจากได้ยกเลิกบริการและต้องการเงินที่ชำระล่วงหน้าคืน แต่ถูกผู้ให้บริการปฏิเสธการคืนเงิน (Prepaid ยกเลิกบริการ ขอเงินคืน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่  4.33  :  ผู้ร้องจำนวน 70 ราย ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้า (prepaid) ประสบปัญหาเนื่องจากถูกกำหนดวันใช้งาน และถูกยึดเงินคงเหลือในระบบ : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.    สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่  4.34  :  ผู้ร้องจำนวน ๑๓ ราย ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้า ประสบปัญหาเนื่องจากถูกกำหนดระยะเวลาใช้บริการ (Prepaid ถูกกำหนดวันใช้งาน ขอให้เปิดสัญญาณและยกเลิกการกำหนดวัน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.    สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่  4.35  :  ผู้ร้องจำนวน 7 ราย ประสบปัญหาถูกกำหนดระยะเวลาใช้บริการ และปัจจุบันผู้ให้บริการได้นำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ร้องไปจำหน่ายต่อแล้ว ทั้งที่ยังไม่ครบกำหนด 180 วัน (Prepaid ถูกนำเบอร์ไปขายทั้งที่ยังไม่ครบกำหนด 180 วัน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่  4.36  :  ข้อร้องเรียนของนางกชนันท์ สุขคุณอมรรัตน์ กรณี บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด กรณีถูกกำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย, ถูกเรียกเก็บค่ารักษาเลขหมายเดือนละ 50 บาท : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
 
ระเบียบวาระที่  4.37   :  ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้า (prepaid) ประสบปัญหาเนื่องจากถูกกำหนดวันใช้งาน และถูกยึดเงินคงเหลือในระบบ : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่  4.38  :  ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้า ประสบปัญหา เนื่องจากถูกกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำอันมีลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด (Prepaid ถูกกำหนดวันใช้งาน ขอให้เปิดสัญญาณ และยกเลิกการกำหนดวัน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว 
ระเบียบวาระที่ 4.39 : การพิจารณาข้อร้องเรียนกรณีบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด ระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้บริการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ 
มติที่ประชุม   ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.    สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่ 4.40 :  ข้อร้องเรียนของนายไกรวัลย์ คทวณิช กรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ทำการระงับสัญญาณโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าว โดยไม่มีการแจ้งให้ผู้ร้องทราบล่วงหน้า ซึ่งสาเหตุตามที่ผู้ร้องแจ้งเกิดจากการที่ระบบชำระค่าบริการของบริษัทเกิดความผิดพลาด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่  4.41  :  ข้อร้องเรียนของนางสาวณัฐธยาณ์  อสุณี ณ อยุธยา กรณีบริษัท บริษัท ทรู มูฟ จำกัด เรียกเก็บค่าบริการหลังจากถูกระงับสัญญาณ : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่  4.42  :  ข้อร้องเรียนของนายอภิรักษ์  ชัมภล กรณีบริษัท ทรู มูฟ จำกัด มีการเรียกเก็บค่าบริการข้อความสั้นทั้งที่ไม่เคยสมัครใช้บริการ : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่  4.43  :  ข้อร้องเรียนของนางกัลยากร ตันศิริวงศ์ กรณีบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เรียกเก็บค่าบริการทั้งที่ผู้ร้องไม่มีการใช้บริการ และไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าบริการ : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว                                   
ระเบียบวาระที่  4.44  :  ข้อร้องเรียนของนางสาวปิตุภูมิ นิตยานันทะ กรณี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) คิดอัตราค่าบริการในรายการส่งเสริมการขาย “15 หยกๆ 16 หย่อนๆ” ขัดต่อคำสั่ง กทช. ที่ 19/2553 เรื่อง ห้ามเรียกเก็บค่าบริการในกิจการโทรคมนาคมจากผู้ใช้บริการในอัตราที่แตกต่างกันสำหรับบริการโทรคมนาคมลักษณะหรือประเภทเดียวกัน : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่ 4.45  :  ข้อร้องเรียนของนางสาวรัชฎาภรณ์  โนมูระ กรณีการให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของ บริษัท ทรู มูฟ จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2554 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่ 4.46  :  ข้อร้องเรียนของนางนพเก้า ไกรรักษ์ กรณีบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด ไม่ยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ต : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่  4.47  :  ข้อร้องเรียนของนางสาวสุชานันท์ พิสิษญ์โชค กรณี บริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด เรียกเก็บค่าบริการรายเดือนของบริการอินเทอร์เน็ตล่วงหน้า : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่  4.48  :  ข้อร้องเรียนของนายแพทย์สมศักดิ์ ลิรัฐพงศ์ กรณีสัญญาณ PCT ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่ได้มาตรฐานและเรียกเก็บค่าบริการผิดพลาด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. โดยกลุ่มภารกิจด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมตามขั้นตอนแล้ว เห็นชอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อาทิ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้น) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (หัวหน้าสายงาน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ /นายพิทยาพลฯ) พิจารณารายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนการพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยจะต้องคำนึงถึงแนวปฏิบัติตามหลักกฎหมายปกครอง กล่าวคือให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างแจ้งชัด นอกจากนี้ การทำคำสั่งทางปกครองหรือหนังสือไปยังบุคคลที่สามต้องได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งจาก ลสทช. ก่อน จึงจะกระทำได้ มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดอำนาจตามกฎหมายและรับผิดเป็นส่วนตัว
ระเบียบวาระที่  4.49  :  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  เห็นชอบและมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บริษัทซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด เพื่อยืนยันให้แก้ไขข้อความในหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.50  :  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  เห็นชอบและมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บจ.ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย เพื่อยืนยันให้แก้ไขข้อความในหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ    
ระเบียบวาระที่ 4.51 :  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  เห็นชอบและมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บจ.แอดวานซ์  โมบาย บรอดแบนด์ เพื่อยืนยันให้แก้ไขข้อความในหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.52  :  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท แอดวานซ์ อินเทอร์เน็ต เรโวลูชั่น จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  เห็นชอบและมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บจ.แอดวานซ์ อินเทอร์เน็ต  เรโวลูชั่น เพื่อยืนยันให้แก้ไขข้อความในหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.53  :  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  เห็นชอบและมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บจ.ดิจิตอลโฟน เพื่อยืนยันให้แก้ไขข้อความในหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียน และการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.54  :  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  เห็นชอบและมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บจ.แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่น เพื่อยืนยันให้แก้ไขข้อความในหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.55  :  พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  เห็นชอบและมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บจ.แอดวานซ์   ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค เพื่อยืนยันให้แก้ไขข้อความในหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.56  :  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด ได้ปรับแก้ไขหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามที่สำนักงาน กสทช. (กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม) แล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.57  :  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ บมจ.ทีโอที ได้ปรับแก้ไขหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามที่สำนักงาน กสทช. (กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม) แล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ของ บมจ.ทีโอที ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.58   :  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ปรับแก้ไขหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามที่สำนักงาน กสทช. (กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม) แล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ของ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.59  :  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ ได้ปรับแก้ไขหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามที่สำนักงาน กสทช. (กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม) แล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ของ บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.  สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.60  :  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท เอเชีย อินโฟเน็ท จำกัด (มหาชน) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ บมจ.เอเชีย อินโฟเน็ท ได้ปรับแก้ไขหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามที่สำนักงาน กสทช. (กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม) แล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ของ บมจ.เอเชีย อินโฟเน็ท ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.61  :  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ บจ.เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต ได้ปรับแก้ไขหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามที่สำนักงาน กสทช. (กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม) แล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ของ บจ.เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.62  :  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ บจ.ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย ได้ปรับแก้ไขหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 ตามที่สำนักงาน กสทช. (กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม) แล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ของ บจ.ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
หมายเหตุ สำหรับระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือ ได้แก่ วาระที่ 4.1 – 4.5, 4.11, 4.13 – 4.16, 4.20, 4.26 และ 4.28 สำนักงาน กสทช. จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
5.1    รายงานการเดินทางเข้าร่วมการอบรม เรื่อง Regulating Broadcasting Media : Promoting Fair Access ระหว่างวันที่ 17-27 พฤษภาคม 2554 ณ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา : กทช.สุธรรม
5.2   รายงานการประชุม ITU Asia-Pacific Regional Multi- stakeholder Forum on Emergency Telecommunications ระหว่างวันที่ 7 – 12 กรกฎาคม 2554 ณ ประเทศมองโกเลีย : กทช. พนา
5.3   รายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประจำเดือนสิงหาคม 2554 : กม.
5.4   การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการ (บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด ผู้ขายส่งบริการ กับบริษัท ทรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ผู้ขายต่อบริการ) : กม.
5.5   รายงานความก้าวหน้าและสถานการณ์ดำเนินคดีปกครองที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่กสทช. สำนักงาน กสทช., ลสทช., คณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานสำนักงาน กสทช. ถูกฟ้องต่อศาลปกครองประจำเดือนสิงหาคม 2554 : กม.
5.6   การประชุมคณะทำงานพิเศษ (STF) ครั้งที่ 5 และประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่วิทยุตามบริเวณชายแดนไทย – มาเลเซีย (JTC) ครั้งที่ 20 : รศ., วท.
5.7   การขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก เพิ่มเติม ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ : กบ.
5.8   การแจ้งเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด: ปก.
5.9   รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีความล่าช้าที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาต นำออกเครื่องวิทยุคมนาคม : ฉก.
5.10  รายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 : กส.
5.11  รายงานผลการดำเนินงานด้านการกำกับเนื้อหาโทรทัศน์ในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ ประจำเดือน มิถุนายน 2554 : กส.
5.12  รายงานผลการดำเนินงานด้านการกำกับเนื้อหาโทรทัศน์ในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ ประจำเดือน กรกฎาคม 2554 : กส.
5.13  รายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันจันทร์ 22 สิงหาคม 2554 (จำนวน 1 ราย 1 ช่องรายการ) : กส.
5.14  รายงานผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (จำนวน 16 ราย 39 ใบอนุญาต) : กส.
5.15  รายงานผลการดำเนินงานของสำนักกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในส่วนงานคุ้มครองผู้รับสื่อ : สท
ระเบียบวาระที่   5  :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่   5.1  :  รายงานการเดินทางเข้าร่วมการอบรม เรื่อง Regulating Broadcasting Media : Promoting Fair Access ระหว่างวันที่ 17 – 27 พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.

มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการเดินทางของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และคณะ ในการเข้าร่วมการอบรม เรื่อง Regulating Broadcasting Media : Promoting Fair Access ระหว่างวันที่ 17 – 27 พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามเอกสารที่ กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.2  :  รายงานการประชุม ITU Asia-Pacific Regional Multi - stakeholder Forum on Emergency Telecommunications ระหว่างวันที่ 7 - 12 กรกฎาคม 2554 ณ ประเทศมองโกเลีย : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการเดินทางของ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และคณะ ในการเข้าร่วมประชุม ITU Asia-Pacific Regional Multi- stakeholder Forum on Emergency Telecommunications ระหว่างวันที่ 7 - 12 กรกฎาคม 2554  ณ ประเทศมองโกเลีย ตามเอกสารที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่   5.3  :  รายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประจำเดือนสิงหาคม 2554 : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ (นายฐากรฯ), กม.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประจำเดือนสิงหาคม 2554 จำนวน 2 ราย ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  บริษัท ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด
2.  บริษัท ทริปเปิลทรี โกลบอลเน็ท จำกัด
ระเบียบวาระที่  5.4  :  การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการ (บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด ผู้ขายส่งบริการ กับบริษัท ทรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ผู้ขายต่อบริการ) : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ (นายฐากรฯ), กม.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า สัญญาของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ระหว่างบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด (ผู้ขายส่งบริการ) กับบริษัท ทรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (ผู้ขายต่อบริการ) ปรากฏแต่เพียงเงื่อนไขของสัญญาเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาและอัตราค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่จะเรียกเก็บเท่านั้น ตลอดจนข้อสัญญาดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศ กทช. เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด จึงยังไม่ปรากฏเหตุที่ กสทช. จะใช้อำนาจในการสั่งการแก้ไขสัญญาและเงื่อนไขเกี่ยวกับการขายส่งบริการตามข้อ 16 ของประกาศฯ ฉบับดังกล่าว ดังนั้น จึงมีมติอนุมัติสัญญาและเงื่อนไขการขายส่งบริการของทั้งสองบริษัทดังกล่าวข้างต้น ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ทั้งนี้ โดยให้สำนักงาน กสทช. จัดทำรายงาน Market Monitor ทุก 6 เดือน รวมทั้ง ให้จัดทำ TUSOR เพื่อรายงานให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทราบทุก 3 เดือน
ระเบียบวาระที่  5.5  :  รายงานความก้าวหน้าและสถานะการดำเนินคดีปกครองที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. สำนักงาน กสทช., ลสทช., คณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานสำนักงาน กสทช. ถูกฟ้องต่อศาลปกครองประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ (นายฐากรฯ), กม.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานความก้าวหน้า และสถานะการดำเนินคดีปกครองที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., สำนักงาน กสทช., ลสทช., คณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานสำนักงาน กสทช. ถูกฟ้องต่อศาลปกครอง ประจำเดือนสิงหาคม 2554 รวม 55 คดี ประกอบด้วย คดีที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ถูกฟ้องคดี จำนวน 43 คดี และคดีที่ สำนักงาน กสทช., ลสทช., คณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานสำนักงาน กสทช. ถูกฟ้อง จำนวน 12 คดี ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.6  :  การประชุมคณะทำงานพิเศษ (STF) ครั้งที่ 5 และประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่วิทยุตามบริเวณชายแดนไทย –มาเลเซีย (JTC) ครั้งที่ 20 : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายทศพรฯ), รศ., วท.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานสรุปผลการประชุมคณะทำงานพิเศษ ครั้งที่ 5 (The 5th Special Task Force for Broadcasting and Non-Broadcasting Services on Specific Issues Between Thailand and Malaysia : STF) ระหว่างวันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2554 และการประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่วิทยุตามบริเวณชายแดนไทย –มาเลเซีย ครั้งที่ ๒๐ (The 20th Joint Technical Committee on Coordination and Assignment of Frequencies along Thailand – Malaysia Common Border Meeting : JTC) ระหว่างวันที่ 27 – 29 กรกฎาคม 2554 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่นราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่   5.7  :  การขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก เพิ่มเติม ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม  รับทราบการอนุญาตให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก หมายเลข 1879 เป็นการชั่วคราว 1 ปี เพื่อบริการกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ตามมติ กทช. ครั้งที่ 45/2548 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2548 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่   5.8 :  การแจ้งเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  รับทราบการเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด จากเดิมนายพิษณุ สันทรานันท์ เปลี่ยนเป็น นางวิไลวรรณ ศรีสำรวล ซึ่งบริษัทฯ ได้รับรองการมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา 8 วรรคสาม (4)  แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับใบอนุญาตและกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม และเงื่อนไขการอนุญาต ใบอนุญาตฯ ที่เกี่ยวข้อง ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.9  :  รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีความล่าช้าที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาต นำออกเครื่องวิทยุคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม  รับทราบผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีความล่าช้าที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาต นำออกซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม ฉบับที่ 020153006653 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2553 และฉบับที่ 020153006655 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2553 ซึ่งออกให้กับบริษัท แอโร คอม จำกัด  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.10  :  รายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพ กระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพ กระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 1 ราย (1 ช่องรายการ) ได้แก่ บจ.มีเดีย สตูดิโอ ช่องรายการ Media Channel ทั้งนี้ ตามข้อ 10 ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.11  :  รายงานผลการดำเนินงานด้านการกำกับเนื้อหาโทรทัศน์ในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ ประจำเดือน มิถุนายน 2554 : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานด้านการกำกับเนื้อหาโทรทัศน์ในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ ประจำเดือนมิถุนายน 2554 จำนวน 25 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการบริหารกิจการเคเบิล จำนวน 16 เรื่อง และเนื้อหารายการวิทยุโทรทัศน์ จำนวน 9 เรื่อง ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.12  :  รายงานผลการดำเนินงานด้านการกำกับเนื้อหาโทรทัศน์ในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ ประจำเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๔ : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานด้านการกำกับเนื้อหาโทรทัศน์ในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ ประจำเดือนกรกฎาคม 2554 จำนวน 19 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการบริหารกิจการเคเบิล จำนวน 15 เรื่อง และเนื้อหารายการวิทยุโทรทัศน์ จำนวน 4 เรื่อง ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.13  :  รายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันจันทร์ 22 สิงหาคม 2554 (จำนวน 1 ราย 1 ช่องรายการ) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพ กระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 1 ราย (1 ช่องรายการ) ได้แก่ บจ.เจทีวี บางกอก ช่องรายการ J NEWS ทั้งนี้ ตามข้อ 10 ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2554 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.14  :  รายงานผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (จำนวน 16 ราย 39 ใบอนุญาต) : คณะอนุกรรมการวิทยุ กระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบผลการตรวจสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณ เมื่อสถานีทำการทดลองให้บริการ หรือแพร่ภาพกระจายเสียงของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 16 ราย (39 ใบอนุญาต) ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการรั่วไหลของสัญญาณ ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เสนอ ดังนี้
1.1  บริษัท อาร์ดี เคเบิ้ล ทีวี จำกัด (3 ใบอนุญาต/ 100 ช่องรายการ)
1.2  ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรินทร์ ทีวี เน็ทเวิค์ร (1 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ)
1.3  ห้างหุ้นส่วนจำกัด คำรณสื่อสาร (1 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ)
1.4  บริษัท แมคเวิลด์ เน็ทเวิร์ค ทีวี จำกัด (4 ใบอนุญาต/ 81 ช่องรายการ)
1.5  ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ้านไร่ เคเบิ้ลทีวี (1 ใบอนุญาต/ 20 ช่องรายการ)
1.6  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดี อาร์ ทเวนตี้ กรุ๊ป (1 ใบอนุญาต/ 55 ช่องรายการ)
1.7  บริษัท ภูเก็ตเคเบิ้ล จำกัด (3 ใบอนุญาต/ 80 ช่องรายการ)
1.8  บริษัท แฮปปี้โฮม เคเบิ้ลทีวี จำกัด (10 ใบอนุญาต/ 80 ช่องรายการ)
1.9  บริษัท เชียงใหม่ บิลดิ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด (2 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ)
1.10 บริษัท หาดใหญ่ เคเบิ้ล เทเลวิชั่น จำกัด (1 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ)
1.11 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลาดยาว เคเบิล นิวส์ (1 ใบอนุญาต/ 40 ช่องรายการ)
1.12 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกาะหลักวิทยุโทรทัศน์ (4 ใบอนุญาต/ 49 ช่องรายการ)
1.13 บริษัท พีทีวี สีชัง เคเบิล จำกัด (1ใบอนุญาต/ 80 ช่องรายการ)      
1.14 บริษัท หล่มสัก วีซี เคเบิล ทีวี จำกัด (2 ใบอนุญาต/ 65 ช่องรายการ)
1.15 บริษัท มหาชัย เคเบิลทีวี จำกัด (3 ใบอนุญาต/ 62 ช่องรายการ)
1.16 ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมายเคเบิ้ลทีวี (1 ใบอนุญาต/ 37 ช่องรายการ)
2.  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต จำนวน 16 ราย ตามข้อ 1 และการพิจารณาขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามข้อ 10 ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.15  :  รายงานผลการดำเนินงานของสำนักกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในส่วนงานคุ้มครองผู้รับสื่อ : สท.
มติที่ประชุม  รับทราบผลการปฏิบัติงานของสำนักกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในส่วนงานคุ้มครองผู้รับสื่อ ที่ดำเนินการตรวจสอบ วิเคราะห์เรื่องร้องเรียนจากช่องทางต่างๆ ประจำเดือนกรกฎาคม 2554 จำนวน 34 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 25 เรื่อง และอยู่ในระหว่างการดำเนินการ จำนวน 13 เรื่อง ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.16  :  โครงการจัดงานสัมมนาทางวิชาการประจำปี The NBTC Year End Conference 2011 : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม  รับทราบความคืบหน้าการทำงานของคณะทำงานจัดงานสัมมนาทางวิชาการประจำปี The NBTC Year End Conference 2011 ตามเอกสารที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
 ระเบียบวาระที่  5.17 :  การจัดทำร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ. .... - .... ) : คณะอนุกรรมการจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการจัดทำร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ. .... - .... ) ซึ่งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ได้นำความเห็นและข้อเสนอแนะจากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) รวม 4 ครั้ง และนำนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตามมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มาแก้ไขปรับปรุงตามที่คณะอนุกรรมการจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.18  :  รายงานการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาประจำ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ประจำเดือน กรกฎาคม ถึง สิงหาคม ๒๕๕๔ (พ.อ.นที  ศุกลรัตน์) : กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาประจำ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. (พันเอกนที  ศุกลรัตน์) จำนวน 3 ราย ตามเอกสารที่ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  รายงานผลการปฏิบัติงานของ พล.ต.ชาญชิต  เพียรเลิศ (ประจำเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2554)
2.  รายงานผลการปฏิบัติงานของ พลเอกสุเจตน์  วัฒนสุข (ประจำเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2554)
3.  รายงานผลการปฏิบัติงานของ นางจุฑารัตน์  ธนไพศาลกิจ (ประจำเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2554)
ระเบียบวาระที่  6  :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1  :  การพิจารณาผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่ง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (กรณีศึกษาการทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน) : คณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิค
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้รับฟังรายละเอียดรายงานการพิจารณาผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่ง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (กรณีศึกษาการทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน) ตามที่คณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 เสนอ และได้นำความเห็นและข้อวิเคราะห์ของคณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ไปพิจารณาร่วมกับวาระที่ 6.2 การทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถือหุ้นของกลุ่มบริษัท ฮัทชิสัน แล้วมีมติปรากฏรายละเอียดตามระเบียบวาระที่ 6.2
ระเบียบวาระที่  6.2  :  การทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถือหุ้นของกลุ่มบริษัทฮัทชิสัน : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม                
1.  ที่ประชุมได้พิจารณารายละเอียดผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และรายงานการศึกษาของกลุ่มทำงานเฉพาะกิจฯ ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหุ้นส่วน บริษัท กฎหมายการควบรวมกิจการ กฎหมายการแข่งขันทางการค้า และกฎหมายโทรคมนาคม แล้ว จึงมีมติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำความตกลงเพื่อควบรวมกิจการและการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้ จะต้องพิจารณาถึงความชอบด้วยกฎหมายของความตกลงดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 เนื่องจาก กทช. เป็นหน่วยงานทางปกครอง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบส่งเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาวินิจฉัยให้ความเห็นแนวทางการปฏิบัติภายใต้กฎหมายฉบับดังกล่าวต่อไป
2.  อย่างไรก็ดี โดยที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เป็นผู้มีสิทธิใช้ความถี่มาตั้งแต่ต้น ซึ่งในการให้ผู้อื่นร่วมประกอบกิจการโดยใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 46 คณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และกลุ่มทำงานเฉพาะกิจที่ กสทช. แต่งตั้งขึ้นเพื่อศึกษาเรื่องนี้ทั้งสองชุดมีความเห็นสอดคล้องกัน ว่ากรณีการทำความตกลงดังกล่าว อยู่ภายใต้มาตรา 46 เพียงแต่แตกต่างกันในรายละเอียด กล่าวคือ คณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มีความเห็นว่ามีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติมในเรื่องการแข่งขัน การให้บริการดังกล่าวจึงอาจขัดกับมาตรา 46 แต่กลุ่มทำงานเฉพาะกิจมีความเห็นว่า กรอบการดำเนินการตามความตกลงเป็นกรณีที่ขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน  นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นพิจารณาที่มีความสำคัญทั้งในส่วนการแข่งขันและความถูกต้องตามกฎหมาย ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องดังกล่าวเสนอที่ประชุม กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 นี้อย่างแท้จริง เป็นผู้พิจารณาเรื่องนี้ต่อไป
3.  ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำความตกลงเพื่อควบรวมกิจการโดยการเข้าซื้อหุ้นของกลุ่มฮัทชิสัน ซึ่งไม่ได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดในประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการควบรวมกิจการและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ที่ประชุมมีมติให้คู่กรณีตามความตกลงดำเนินการเสียให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 30 วัน
4.  ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อสัญญาที่มีเนื้อหาไม่ถูกต้องตาม ประกาศ กทช. เรื่องมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมมีมติให้คู่กรณีตามความตกลงดำเนินการแก้ไขเสียให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 30 วัน โดยข้อสัญญาที่จะต้องแก้ไขมีดังนี้
4.1  ข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นการปฏิเสธการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น (Refusal to Deal) ได้แก่ ข้อ 2.1  ของ สัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ CDMA ระหว่าง CAT กับ BFKT และข้อ 2.1  และข้อ 2.4/2 ของสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคม เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA ระหว่าง CAT และ BFKT
4.2  ข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นการกระทำอันจำกัดสิทธิบริการให้แก่ผู้ให้บริการเฉพาะราย (Exclusive Dealing) ได้แก่ ข้อ 1 ข้อ 3.1.3 ข้อ 3.1.4 และข้อ 3.2.3 ของสัญญาขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA ระหว่าง CAT กับ Real Move
4.3 ข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นการกีดกันการเข้าสู่ตลาด (Barrier to Entry) ได้แก่ ข้อ 3.4.1 ข้อ 3.4.2 และ ข้อ 3.4.3 ของสัญญาขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA ระหว่าง CAT กับ Real Move
5.  โดยที่ความชอบด้วยกฎหมายของความตกลงดังกล่าวภายใต้ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ยังไม่มีความชัดเจน ที่ประชุมมีมติให้แก้ไขการดำเนินการตามกรอบความตกลงดังกล่าวในส่วนที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อ 4 เพื่อป้องกันความเสียหายแก่ตลาดโทรคมนาคมและเพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนผู้ใช้บริการ
หมายเหตุ  สำหรับ ระเบียบวาระที่ 6.3 ที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการตามข้อ 9(5) ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยมาตรการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศ พ.ศ.2548        
ระเบียบวาระที่  6.4  :  รายงานความคืบหน้าการจัดทำไปรมาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นสำหรับการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานความคืบหน้าการจัดทำไปรมาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นสำหรับการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกำหนดการเดินทางเข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อร่างไปรมาฯ ฉบับที่ 1 ระหว่างวันที่ 5 - 7 ตุลาคม 2554 ณ University of California, Berkeley ประเทศสหรัฐอเมริกา และร่วมประชุมกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิจาก Blanquerna School of Communication ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2554 ณ ประเทศสเปน ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  6.5  :  รายงานการเดินทางเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ 22th EUROPEAN REGIONAL ITS CONFERENCE ณ กรุง บูดาเปส ประเทศฮังการี และการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบรายงานการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมรายงานสถานะการเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุม 19th  ITS Biennial Conference  2012 ณ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 และการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ 22th EUROPEAN REGIONAL ITS CONFERENCE ณ กรุง บูดาเปส ประเทศฮังการี ระหว่างวันที่ 18-21 กันยายน 2554 เพื่อสังเกตการณ์และประชาสัมพันธ์การประชุมสัมมนาที่สำนักงาน กสทช.   จะเป็นเจ้าภาพ
2. อนุมัติในหลักการ การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยอนุมัติกรอบวงเงินจำนวน 5,000,000 บาท เพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมในโครงการด้านวิชาการ ตามข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวข้างต้นในปี 2554 จำนวน 4 โครงการ 2 กิจกรรม ทั้งนี้ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กสทช. ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
2.1 โครงการจัดบรรยายแลกเปลี่ยนความรู้โดย Professor Roger Myerson, Glen A. Lloyd Distinguished Service Professor of Economics at the University of Chicago ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี พ.ศ.2550 จากผลงานวิจัยเกี่ยวกับทฤษฎีการประมูล (Auction and Mechanism Design) โดยจัดการบรรยายในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ.2555
2.2  โครงการจัดบรรยายแลกเปลี่ยนความรู้โดย Professor Robert M. Townsend, Elizabeth & James Killian Professor of Economics at Massachusetts Institute of Technology โดยจัดการบรรยายช่วงต้นปี พ.ศ.2555
2.3  โครงการความร่วมมือเพื่อจัดประชุมทางวิชาการ The 19th ITS Biennial 2012 Conference ระหว่างวันที่ 18 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
2.4  โครงการสำรวจข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจครัวเรือนแบบตัวอย่างซ้ำ (Thai Enterprise Panel Survey : TEPS) โดยสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
2.5  กิจกรรม Ph.D.Seminar โดยจัดขึ้นก่อนงานสัมมนาฯ ประมาณ 1 สัปดาห์
2.6  การจัดทำ Proceeding เพื่อรวบรวมบทความทางวิชาการฉบับสมบูรณ์ ภายหลังจากเสร็จสิ้นงานสัมมนาฯ
ระเบียบวาระที่  6.6  :  โครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ)
มติที่ประชุม  โดยที่สำนักงาน กสทช.ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ทช 1001/08466 ลงวันที่  5 กันยายน 2554 ถึงสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อขอให้ตรวจสอบและจัดทำคำชี้แจงกรณีการใช้เงินจำนวน 84 ล้านบาทตามวัตถุประสงค์โครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม ซึ่งหากเป็นการใช้จ่ายเงินดังกล่าวให้กับโครงการอิ่มบุญ 999 วัดฯ ซึ่งเป็นคนละโครงการ อาจต้องดำเนินการส่งเงินที่สำนักงานฯได้สนับสนุนไปคืนกลับมา และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ สว 004/5187 ลงวันที่ 9 กันยายน 2554 ชี้แจงมาแล้ว นั้น ที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้พิจารณาตามความเห็นสำนักงานฯ ซึ่งพิจารณาเห็นว่าวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินดังกล่าวยังมีความแตกต่างกันในหลายเรื่องอยู่ ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดปัญหาต่อเนื่องมากขึ้นไปอีก ที่ประชุมจึงมีมติในเบื้องต้นให้สำนักงาน กสทช. ทำเรื่องขอคืนเงินสนับสนุนโครงการดังกล่าวเต็มจำนวนวงเงินโครงการ และหากโครงการดังกล่าวได้มีการเบิกจ่ายเงินไปแล้ว หากยังมีเงินเหลืออยู่จำนวนเท่าใด ก็ให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาส่งเงินที่เหลือมาก่อนเพื่อบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง
หมายเหตุ ไม่มีเอกสารประกอบวาระ
ระเบียบวาระที่  6.7  :  การตรวจรับรองงบการเงินของสำนักงาน กสทช.ประจำปี 2553 โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช.      (นายฐากรฯ)
มติที่ประชุม            
1.  รับทราบกรณีสำนักงาน กสทช. ได้ประสานงานกับผู้บริหารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)  แจ้งให้ทราบว่า ทาง สตง.ได้ดำเนินการตรวจรับรองงบการเงินของสำนักงาน กสทช.ประจำปี 2553 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ) รายงานต่อที่ประชุม
2.  เพื่อให้การดำเนินการตามผลการตรวจรับรองงบการเงินของสำนักงาน กสทช.ประจำปี 2553 โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นไปอย่างถูกต้อง และเหมาะสม ที่ประชุมจึงมีมติเห็นควรว่า หากมีมติ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ใดที่เกี่ยวข้อง และอาจไม่สอดคล้องกับผลการตรวจรับรองงบการเงินฯ ดังกล่าวแล้ว ให้สำนักงาน กสทช. ไปพิจารณาและดำเนินการให้เป็นไปตามข้อแนะนำของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินต่อไป แล้วรายงานให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทราบ
หมายเหตุ ไม่มีเอกสารประกอบวาระ
ระเบียบวาระที่  6.8  :  การกำหนดแนวทางการกำกับดูแลเรื่องร้องเรียนกรณีผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 : กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.            
มติที่ประชุม  โดยที่ปัจจุบันมักมีปัญหาการร้องเรียนของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Prepaid ในหลายกรณี ซ้ำๆ และบ่อยครั้ง ซึ่งสมควรต้องพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังกล่าวให้หมดสิ้นไปอย่างชัดเจน ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาการร้องเรียนของผู้ใช้บริการที่ได้รับความเสียหายจากกรณีผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 กรณี Prepaid พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการกำกับดูแลเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาต่อไป ตามความเห็น กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
หมายเหตุ  ไม่มีเอกสารประกอบวาระ
ระเบียบวาระที่  6.9  :  การเชิญอดีตประธาน Regulator ของฮังการีเข้าร่วมการประชุมสัมมนา 19th ITS Biennial Conference 2012 ณ จังหวัดภูเก็ต : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม  รับทราบและเห็นชอบการเชิญ Dr.Krisztina Rozgonyi, Former Chairman of National Communications Authority of Hungary เข้าร่วมการประชุมสัมมนา The 19th ITS Biennial Conference 2012 ณ จังหวัดภูเก็ต ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รายงานให้ที่ประชุมทราบ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และมีหนังสือเชิญ   Dr.Krisztina Rozgonyi เข้าร่วมการประชุมฯ อย่างเป็นทางการด้วยต่อไป
หมายเหตุ  ไม่มีเอกสารประกอบวาระ

สร้างโดย  -   (23/2/2559 18:35:36)

Download

Page views: 328