คาดการณ์งาน ITU Telecom World 2016 จะสามารถสร้างเงินสะพัดให้แก่เศรษฐกิจไทย อย่างน้อย 715.2 ล้านบาท จากการจัดงาน

คาดการณ์งาน ITU Telecom World 2016 จะสามารถสร้างเงินสะพัดให้แก่เศรษฐกิจไทย อย่างน้อย 715.2 ล้านบาท
จากการจัดงาน
งาน ITU Telecom World 2016 งานระดับโลกที่จัดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและโทรคมนาคม หรือ ไอซีที เพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ โดยมีหลายภาคส่วนทั้งผู้ประกอบการชั้นนำ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมและหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมงานในครั้งนี้ ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2559 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย โดยมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นเจ้าภาพในการจัดงานร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ International Telecommunication Union (ITU) งาน ITU Telecom World 2016 มีขึ้นเพื่อการสร้างสรรค์ต่อยอดพัฒนาไอเดียให้ก้าวไกลและพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และส่งผลให้โลกของเราดีขึ้นได้รวดเร็วกว่าเดิมได้ต่อไป

ในครั้งนี้ งานได้รับการประมาณการณ์ว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 25,000 คน โดยเป็นชาวต่างชาติจากทั่วทุกมุมโลกประมาณร้อยละ 40 และอีกร้อยละ 60 เป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่พำนักถาวรอยู่ในประเทศไทย ซึ่งจากการเข้าร่วมงานและการใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมทั้งหมดในงานนี้ของทั้งผู้ประกอบการ ชาวต่างชาติ ชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่พำนักถาวรอยู่ในประเทศไทย คาดการณ์ได้ว่า งานนี้จะสามารถช่วยสร้างผลประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจไทยในรูปแบบเงินสะพัดจากการใช้จ่ายของงานนี้ อย่างน้อย 715.2 ล้านบาท และก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประมาณ 299.8 ล้านบาท รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีสืบเนื่องจากการจัดงานถึง 22.3 ล้านบาทและจำนวนการจ้างงาน 1,529 งาน จากการประมาณการณ์ผลจากการจัดงาน ITU Telecom world 2016 โดยบริษัทวิจัยและที่ปรึกษาทางธุรกิจระดับโลก, ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน

นอกจากนั้น ผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการจัดงานที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านการจัดงานนิทรรศการ (Exhibition) เกี่ยวกับการให้บริการด้านดิจิทัลครบวงจร การประชุมเชิงวิชาการ (Forum) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่าย (Networking Activities) ในระดับประเทศ องค์กรและปัจเจกบุคคล รวมถึงการมอบรางวัล (Award Programme) ให้กับนวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับระดับโลก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และตื่นตัวเกี่ยวกับ

ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องด้านดิจิทัล เช่น เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลให้กับประชาชนชาวไทย การสนับสนุนและเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และธุรกิจ Start-Ups โดยความร่วมมือของเครือข่ายภาคธุรกิจ และการแบ่งปันไอเดียหรือความรู้ให้กับผู้เข้าร่วมงานทุกระดับ ยิ่งไปกว่านั้น งานนี้อาจจะสามารถช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศไทยในแง่ของศักยภาพที่มีในการจัดงานขนาดใหญ่ระดับโลกและการพัฒนานวัตกรรมและอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการจัดงานที่มีต่อประเทศไทยและโลกข้างต้น เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นการจัดงาน งานนี้ได้รับการคาดหวังว่า จะสามารถสร้างผลในเชิงตัวเลขต่อเศรษฐกิจได้มากกว่าตัวเลขที่ประมาณการณ์ไว้ในเบื้องต้นดังกล่าว รวมถึงการสร้างผลกระทบทางสังคม และประเทศไทยและผู้จัดงาน จะสามารถทราบถึงจุดแข็งและโอกาส เพื่อประโยชน์ในการจัดงานนี้อีกครั้งในอนาคตต่อไป

ที่มา: การวิเคราะห์และประมาณการณ์โดยฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน ปี 2559 – กรณี Base case

สร้างโดย  -   (15/11/2559 12:38:41)

Download

Page views: 66