สุทธิพล ห่วงผู้บริโภค เร่งกระตุ้นจิตสำนึกค่ายมือถือ ผุดแผน CSR-คุ้มครองผู้บริโภค เข้มข้นก่อนเปิดบริการ 3จี

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ด้านกฎหมาย  เปิดเผยว่า ตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ฯย่าน 2.1 GHz นั้น

ก่อนที่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือ 3จี ทั้ง 3 ค่าย  จะเปิดให้บริการ 3 จี จะต้องส่งแผนความรับผิดชอบ

ต่อสังคม (Corporate Social Responsibility – CSR) มาให้บอร์ด กทค. พิจารณา ซึ่งแผนนี้จะต้องครอบคลุมถึงเรื่องการ

จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์  เนื่องจาก ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้แก่ซากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะแบตเตอร์รี่โทรศัพท์

มือถือที่ใช้แล้ว ประกอบไปด้วยสารเคมีที่มีพิษตกค้างยาวนานและสะสมในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งยังมีโลหะหนักต่างๆ เช่น ตะกั่ว

แคดเมียม ปรอท โครเมียม สารหน่วงการติดไฟ และสารเคมีอันตรายอื่นๆ ซึ่งสารเหล่านี้ ถือว่าเป็นสารอันตราย ถ้าหาก

ไม่มีระบบการจัดการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการก็จะมีการปนเปื้อนลงสู่ดิน แหล่งน้ำ น้ำใต้ดินและในบางกรณีแพร่กระจาย

ขึ้นสู่อากาศ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์โดยตรง โดยสารเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ และเกิดการสะสมใน

ระดับที่มากเกินควรก็จะก่อให้เกิดภาวะโรคภัยที่เป็นอันตรายรุนแรงโดยการไปทำลายระบบต่างๆในร่างกายของมนุษย์ และ

อาจพัฒนาไปสู่การเป็นโรคมะเร็งในที่สุด  ทั้งนี้ในแผน CSR ยังจะต้องคำนึงถึงสุขภาพของผู้ใช้บริการ  รวมไปถึงการจัดทำ

แผนความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้ความสำคัญในการคุ้มครองสุขภาพและความ

ปลอดภัยของผู้ใช้บริการและเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการกรณีมีการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยี โดยต้องคำนึงถึง

ความเป็นไปได้เพื่อให้เทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีเดิมสามารถใช้งานร่วมกันได้
       นอกจากนี้ประกาศ กสทช.ดังกล่าวยังกำหนดให้ค่ายมือถือทั้ง 3 ค่าย จะต้องจัดทำแผนคุ้มครองผู้บริโภค มาให้

บอร์ด กทค.พิจารณาก่อนเริ่มให้บริการ 3 จี  ซึ่งแผนนี้จะต้องครอบคลุมถึงเรื่องมาตรการการรับเรื่องร้องเรียนโดยไม่มี

ค่าบริการ  มาตรการจัดการกับบริการที่ไม่เหมาะสม และกระบวนการทำความเข้าใจกับประชาชนในการตั้งสถานีวิทยุ

คมนาคม ซึ่งเป็นแผนการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนของผู้ประกอบการ แต่ในส่วนของ กสทช.เองก็ได้ดำเนินการในเชิงรุก

เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยได้เพิ่มช่องทางการระงับข้อพิพาททางเลือก โดยออกระเบียบการไกล่เกลี่ยฯ ปรับปรุงกระบวน

การรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียน รวมทั้งให้ความสำคัญในการกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอย่างจริงจัง

       กรรมการ กสทช. ด้านกฎหมาย ในกิจการโทรคมนาคม กล่าวด้วยว่า  ขณะนี้ค่ายมือถือทั้ง 3 ค่ายที่ได้รับใบอนุญาต

ในการให้บริการ 3 จี ได้ส่งแผนดังกล่าวของแต่ละค่ายมาให้บอร์ด กทค.แล้ว ซึ่งจากการตรวจดู พบว่า แผนดังกล่าวมี

รายละเอียดที่แตกต่างกัน โดยบางบริษัทได้เสนอแผนที่ละเอียดชัดเจนและมีมาตรการที่เห็นเป็นรูปธรรม เช่น แผนการ

จัดเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์  ที่มีการวางมาตรการลงลึกถึงขั้นการตั้งจุดรับหรือทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ต่างๆ และ

กำหนดวิธีการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างชัดเจน  รวมทั้งแผนการคุ้มครองผู้บริโภคก็ครอบคลุมและมองเห็นภาพใน

การปฎิบัติได้เป็นอย่างดี ขณะที่บางบริษัทจัดทำแผนอย่างคร่าวๆและกว้างๆทำให้มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึง

ขอความร่วมมือจากค่ายมือถือทั้ง 3 ค่าย ที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการ 3 จี ให้ความสำคัญต่อการนำเสนอแผนความ

รับผิดชอบต่อสังคมและแผนคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความชัดเจนและสามารถนำไปปฎิบัติได้อย่างจริงจัง  เพราะถ้าหาก

ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการดำเนินธุรกิจ  เนื่องจากอาจถูกมองว่าขาดความ

รับผิดชอบต่อสังคมและมิได้คำนึงถึงผู้บริโภคที่ใช้บริการ 3 จี
      “ผมเชื่อว่า หากค่ายมือถือที่ให้บริการ 3 จี ในเมืองไทยดำเนินธุรกิจเพื่อตอบแทนสังคมและคุ้มครองผู้บริโภค ควบคู่

ไปกับการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของบริษัททุกกลุ่ม จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่าง

ผู้ประกอบการกับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ การประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการก็จะง่ายขึ้น

ส่งผลในการสร้างความสุขแก่สังคมไทยในภาพรวม ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ หากทุกค่ายมือถือให้ความสำคัญในการจัดทำและ

บังคับใช้แผนทั้งสองอย่างจริงจัง” ดร.สุทธิพล กล่าวทิ้งท้าย

สร้างโดย  -   (24/3/2559 18:04:27)

Download

Page views: 26