สรุปมติที่ประชุม กสทช. 17/2554

รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 17/2554   วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554   เวลา 09.30 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ผู้เข้าประชุม 
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
 
1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์                ประพิณมงคลการ            ประธานกรรมการ
2.  รองศาสตราจารย์สุธรรม              อยู่ในธรรม                    กรรมการ 
3.  นายสุรนันท์                             วงศ์วิทยกำจร                 กรรมการ
4.  พันเอก นที                              ศุกลรัตน์                       กรรมการ 
5.  รองศาสตราจารย์พนา                ทองมีอาคม                    กรรมการ
6.  นายฐากร                                ตัณฑสิทธิ์                     รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.ปฏิบัติหน้าที่                                                                                                 เลขาธิการ กสทช.
 
เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.
1.  นายอารักษ์                       โพธิทัต                    ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักการประชุมและเลขานุการ
2.  นางดวงเดือน                      เสวตสมบูรณ์            ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการและติดตามประเมินผล
3.  นายบุญยิ่ง                        โหมดเทศน์               ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนมติและรายงานการประชุม
4.  นางอรุณ                           วงศ์ศิวะวิลาส            ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนงานวาระการประชุม
5.  นางนภาพร                        เก่งสาร                   ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
6.  นางสาวสุภาวดี                   สดศรี                     ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
7.  นางสาวจุฑาสินี                  คำบำรุง                   ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
8.  นางสาวกุลรดา                   ไชยสาร                  ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการประจำ ส่วนงาน กทช.สุธรรมฯ
 
ผู้ชี้แจง
1.  นายฉันทพัทธ์                   ขำโคกกรวด             ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารระดับต้นสำนักบริหารทั่วไป
2.  นางสาวนฤมล                   รอยลาภเจริญพร        ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูงสำนักทรัพยากรบุคคล         3.  นางสาวปุณรดา                 เตชะวนิช                  ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลางสำนักทรัพยากรบุคคล
 
ระเบียบวาระที่  1   :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.  มีหนังสือจาก Vice Minister for Policy Coordination กระทรวง Ministry of Internal Affairs and Communications (MIC) ของประเทศญี่ปุ่น แจ้งว่าต้องการจะมาทดสอบ ISDB-T ที่คลื่นความถี่ 702 – 710 MHz  Bandwidth ประมาณ 8 MHz  Channel ที่ 50  ที่ตรวจสอบแล้วก็มี Channel นี้ใช้งานอยู่ โดยจะใช้ Transmission Power 1 Kw พื้นที่ทดลองในกรุงเทพฯ ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน โดยดำเนินการเป็นลักษณะ G2G  สำหรับ Proposal จะส่งให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อไป โดยให้เสนอข้อคิดเห็นมาพร้อมกับทางด้านกลุ่ม DVB-T  ถ้าเขาจะทำการทดลองทดสอบด้วย ซึ่งวันนี้ (8 มิถุนายน 2554) จะมีการจัดสัมมนา Digital Video Broadcasting DVB-T and DVB-T2 ที่สำนักงาน กสทช.     
2.  กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า   เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้พระราชทานวโรกาสให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เข้าเฝ้า และพระราชทานของที่ระลึกในโอกาสที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. สนับสนุนการดำเนินงานของคณะอักษรศาสตร์และมูลนิธิจักรีสิรินธรซึ่งประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ได้กล่าวขอบคุณ กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ที่ได้ไปเป็นผู้แทน กสทช. เข้าเฝ้าและรับพระราชทานของที่ระลึก
3.  ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. (นายฐากร ตัณฑสิทธิ์)  ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบเรื่องศาลปกครองมีคำสั่งขอให้สำนักงาน กสทช.  จัดทำเอกสารหนังสือมอบอำนาจของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มอบอำนาจให้ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. เป็นผู้ลงนามในหนังสือแจ้งคำให้การ / คำขอขยายระยะเวลา จำนวน 5 คดี ซึ่งในวันนี้จะได้นำเรียน กทช. ทุกท่านเพื่อลงนามในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว
4.  กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ขอให้ ลสทช. เร่งรัดการจัดจ้าง บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย เนื่องจากการฟ้องร้องปัจจุบันนี้เปลี่ยนไป  โดยการฟ้องจะอ้างหลักการมาตรฐานยุโรปและการตัดสิน Case ต่างๆ ในต่างประเทศ  เพราะ กสทช. ไม่มี Local Capability  
     นอกจากนี้ ได้สอบถามความคืบหน้ากระบวนการสรรหา กสทช. ชุดใหม่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. ได้นำเรียนให้ที่ประชุมทราบว่าในวันที่ 8 มิถุนายน 2554 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้จัดให้มีการประชุมเพื่อคัดเลือกกันเอง (บัญชี 1)  สำหรับบัญชี 2 ยังไม่ทราบรายละเอียด  ทั้งนี้ ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าในการคัดเลือกกันเองในส่วนของกิจการโทรคมนาคมที่มาจากมหาวิทยาลัย มีผู้ได้รับการคัดเลือก 2 รายคือ รศ.อธิคม ฤกษบุตร สำหรับอีกรายจากสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบเรื่องกระทรวง Ministry of Internal Affairs and Communications (MIC) ของประเทศญี่ปุ่น แจ้งเรื่องการทดสอบ ISDB-T ตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ  
2.  รับทราบเรื่องการเข้าเฝ้าและรับพระราชทานของที่ระลึกจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แจ้งต่อที่ประชุม
3.  รับทราบเรื่องศาลปกครองขอให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เพื่อมอบอำนาจให้ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. เป็นผู้ลงนามในหนังสือแจ้งคำให้การ/คำขอขยายระยะเวลา จำนวน 5 คดี และการรายงานความคืบหน้ากระบวนการสรรหา กสทช. ชุดใหม่  ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. (นายฐากร ตัณฑสิทธิ์) รายงานให้ที่ประชุมทราบ
4.  มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. (นายฐากร ตัณฑสิทธิ์) เร่งรัดการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษากฎหมายให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากล่าช้ามามากแล้ว ตามข้อเสนอของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
ระเบียบวาระที่  2   :   เรื่องรับรองรายงานการประชุม รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 16/2554  วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2554 
มติที่ประชุม    รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ครั้งที่ 16/2554  วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2554  ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ  โดยมีข้อแก้ไขตามที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ขอปรับแก้ไข ดังนี้
1.  ระเบียบวาระที่ 4.24, 4.25, 4.29, และ 4.31–4.35  ให้สำนักงาน กสทช. ปรับแก้ไขเนื้อความของมติที่ประชุมในตอนท้ายของทุกวาระเรื่องข้างต้นที่เป็นความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ให้มีความครบถ้วน และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ขอให้แก้ไขตามบันทึกกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม) ที่ 394/2554 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2554 เรื่อง ความเห็นประกอบวาระการประชุม กสทช. ดังมีข้อความที่ได้ปรับแก้ไขใหม่ ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจาก กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แล้ว ดังนี้
     “ อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นสรุปได้ว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม  ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว  ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น   จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น ”
2.  เนื่องจาก กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้มีบันทึกกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม) ด่วนที่สุด ที่ 412/2554 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2554  เรื่อง ความเห็นส่วนตน ต่อมติที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 16/2554
ระเบียบวาระที่   6.1  :  ดังนั้น จึงให้ระบุเพิ่มเติมถึงกรณี กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นดังกล่าวเป็นหมายเหตุไว้ท้ายมติที่ประชุมของระเบียบวาระที่ 6.1 และแนบบันทึกดังกล่าวไว้กับรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 16/2554 วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2554 ด้วย 
หมายเหตุ   กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ไม่ขอรับการมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครองตามมติที่ประชุมในระเบียบวาระที่ 6.2 – 6.5  เนื่องจาก ขณะนี้มีคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบเป็นจำนวนมากแล้ว
ระเบียบวาระที่   3   :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 16/2554  วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2554
ระเบียบวาระที่   3   :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 16/2554  วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2554
 
มติที่ประชุม    รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช.  ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.   ครั้งที่ 16/2554 วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2554  ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4   :  เรื่องเพื่อพิจารณา  
กลุ่มเรื่องที่ กทช. เสนอ
4.1   การอนุมัติงบประมาณตามแผนดำเนินการ USO : กทช.สุธรรม
4.2   การดำเนินการ USO หลังจาก พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับ : กทช.สุรนันท์, ทถ.
4.3   โครงการศึกษาดูงานที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่มีมาตรฐานในระดับสากล CommunicaAsia2011 Enterprise IT 2011 : กทช.พนา
กลุ่มเรื่องที่สำนักงานฯ เสนอ
กลุ่มเรื่องกฎหมาย
4.4   การตีความ พ.ร.บ.องค์กรฯ พ.ศ. 2553 เพื่อวางนโยบายการกำหนดค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและค่าธรรมเนียมชำระรายปี : ศฐ.
4.5   ผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บริษัท ทรู มูฟ จำกัด จำนวน 2 ฉบับ  : กม.
กลุ่มเรื่องใบอนุญาต     
ก.  การขอรับใบอนุญาต/การขอขยายระยะเวลา
4.6   รายงานผลการดำเนินการและขอขยายระยะเวลาในการเปิดให้บริการของ บริษัท ดีแทค อินเตอร์เนต เซอร์วิส จำกัด : ปก.
4.7   บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตให้บริการต่อโดยไม่ยกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง (บริการ medium-MVNO) : ปก.
4.8   การขอขยายระยะเวลาการใช้บริการโครงข่ายระบบ GSM 900 MHz เพื่อให้ บริการโทรศัพท์ทางไกลชนบทระบบ Wireless Local Loop : WLL ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.9   การขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ ย่าน 470 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  : ปก.
4.10   บริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่นส์ แอนด์ เซลส์ จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการ สำหรับบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ภายใต้ใบอนุญาตประกอบ
กิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง : ปก.
ข. เรื่องอื่นๆ
4.11   การตรวจสอบการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่าย เป็นของตนเอง ของบริษัท สวัสดีช้อป จำกัด : ปก.
4.12   เงื่อนไขเฉพาะสำหรับใบอนุญาตแบบที่สามการให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ  (International Private Leased Circuit : IPLC) : ปก.
4.13   บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด แจ้งเปลี่ยนกรรมการบริษัท : ปก.
4.14   การกำหนดขอบเขตของการให้บริการเสียงผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ต : ปก.
4.15   วิธีการคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม : ปก.
4.16   การปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรคมนาคมและใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต : ปก.
4.17   หลักเกณฑ์การนำรายการ CDMA DATA Content มาขอหักลดหย่อน ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม : ปก.      
4.18   การตอบข้อหารือสิทธิการใช้คลื่นความถี่ 900 MHz ตามใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.19   ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายในการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมของบริษัท เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำกัด : ปก.
4.20   ขอความเห็นชอบการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับ (ร่าง) ประกาศหลักเกณณ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง พ.ศ. 2554 (Unified License) : ปก.
4.21   โครงการเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอ่าวไทย ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : ปก.
กลุ่มเรื่องการขอใช้ความถี่วิทยุ/ตั้งสถานีวิทยุ
4.22   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัท เอ็นเอ็นอาร์ โกลบอล โลจิสติคส์ (ประเทศไทย)) : ฉก.
4.23   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัทเชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด) : ฉก.
4.24   กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ขออนุญาตขยายระยะเวลา การใช้ความถี่วิทยุ : ฉก.
4.25   การยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตวิทยุคมนาคมที่ออกแทนฉบับเดิมที่หมดอายุ อันมีสาเหตุจากความล่าช้าภายในกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาต : ฉก.
4.26   การขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (จำนวน 5 เรื่อง) : ฉก.
  • บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน
  • บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม
  • องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ขออนุญาตสำรองการใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคม
  • กรมการทหารสื่อสาร ขออนุญาตใช้และนำเข้าเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์
  • กองทัพเรือ ขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบ FM จำนวน 3 เครื่อง4
4.27   บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานี วิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุเดิม และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเดิมที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว : ฉก.
4.28   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงและรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมให้บริษัท เค.ซี.เอส. (ประเทศไทย) จำกัด : ฉก.
4.29   การขออนุญาตใช้ย่านความถี่วิทยุ 7.5 GHz และตั้งสถานีวิทยุคมนาคมของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (จำนวน 1 เส้นทาง) : ฉก.
4.30   กองทัพเรือ ขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบ FM และรับรอง การนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮอทพอยท์เอ็นเตอร์ไพร์ส เพื่อทดแทนเครื่องเดิม : ฉก.
4.31   การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และยกเลิกใช้ความถี่วิทยุ (บริษัท น้ำตาลเกษตรไทย จำกัด และ บริษัท เกษตรไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล จำกัด) : ฉก.
4.32   การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุและเครื่องวิทยุ คมนาคม (บริษัท ขอนแก่นแอลกอฮอล์ จำกัด) : ฉก.
4.33   การจัดสรรคลื่นความถี่ทดแทนและยกเลิกการใช้ความถี่วิทยุ กรณีจัดสรร คลื่นความถี่วิทยุซ้ำระหว่างสำนักราชเลขาธิการกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ และกรมการสื่อสารทหารกับสำนักงานศาลยุติธรรม : ฉก.          
กลุ่มเรื่องการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม
4.34   การพิจารณาดำเนินการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการ โทรศัพท์สาธารณะ : กท.
4.35   ขออนุญาตควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด : พต.
กลุ่มเรื่องเลขหมาย
4.36   การพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอัตราที่เพิ่มขึ้น : กบ.,คกก.กำหนดค่าปรับทางปกครองฯ
4.37   การชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ สำหรับบริการเรียกออกต่างประเทศที่ใช้รหัสบริการ : กบ.    
4.38   มาตรการทางกฎหมายกับบริษัท ทรู มูฟ จำกัด กรณีไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดการไต่สวนข้อเท็จจริงที่ 1/2553 : ลสทช., คกก.ศึกษาและกำหนดค่าปรับทางปกครองฯ      
4.39   หลักเกณฑ์การใช้รหัสแสดงเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Network Code – MNC)                 
4.40   การพิจารณาคำขอรับจัดสรรเลขหมายฯ พิเศษของ บมจ. เอส ซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น : กบ.
กลุ่มเรื่องการบริหารงานของสำนักงานฯ
4.41   การตรวจสอบภายในของสำนักงาน กสทช. : ปต.         
4.42   การดำเนินการกรณีพนักงานไม่สามารถเลื่อนเงินเดือนประจำปี 2554 เนื่องจาก เงินเดือนเต็มขั้นสูงของตำแหน่ง หรือมีเงินเดือนใกล้เต็มขั้นสูงของตำแหน่ง : บค.
4.43   การชำระค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and Beyond) : รสทช.ประเสริฐ, คกก.ตรวจและรับมอบงานจ้างที่ปรึกษาฯ               
4.44      ข้อเสนอโครงการประเมินมูลค่าใบอนุญาตเทคโนโลยี 4G บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz ของประเทศไทย : ปธ.
4.45   ขอขยายเวลาการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บท กิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2553) : คณะกรรมการติดตาม ประเมินผลแผนแม่บทฯ      
4.46   โครงการนำร่องในการพัฒนาบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงในพื้นที่การให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ระยะที่ 1 : ทถ.
4.47   โครงการพัฒนาต้นแบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาการศึกษาและบริการสุขภาพ : ทถ.
4.48   การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฯ : พต.
กลุ่มเรื่องวิศวกรรมและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
4.49   การดำเนินการตามความตกลง Mutual Recognition Arrangement (MRAs) สาขาโทรคมนาคม : กร., วท.
4.50   รายงานการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมสารสนเทศ ครั้งที่ 8 : วท.
4.51   การเรียกคืนคลื่นความถี่ GSM 1900 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ตว.
4.52   รายงานผลการศึกษาเทคโนโลยีสำหรับคลื่นความถี่ใช้ร่วมสาธารณะ : คกก.กำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่
4.53   (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ เรื่อง เครื่องโทรศัพท์สาธารณะ : วท.
4.54   (ร่าง) ประกาศ กสทช. ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ เรื่องเครื่องโทรศัพท์ประจำที่, (ร่าง) ประกาศกสทช. ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์สำหรับ
คนพิการและผู้สูงอายุ เรื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่และร่างแผนการดำเนินการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ : คณะอนุกรรมการจัดมาตรฐานผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ, วท.
กลุ่มเรื่องสิทธิแห่งทาง/USO
4.55   ขออนุมัติจัดทำแนวทางการทำความตกลงเพื่อขอใช้สิทธิแห่งทางในการใช้ประโยชน์ ในที่ดินหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นในการให้บริการโทรคมนาคม : พต.
4.56   แนวทางการพาดสายโทรคมนาคมผ่านสะพานหรือโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงาน ของรัฐ : พต.
4.57   มาตรการช่วยเหลือการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ : ศฐ., ทถ., พต., สชท.
4.58   วิธีการคิดค่าธรรมเนียม USO เพื่อใช้กำหนดปริมาณภารกิจ USO ที่ต้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ USO ประจำปี 2553 ของ บมจ. ทีโอที และบมจ. กสท โทรคมนาคม : ทถ.
กลุ่มเรื่องการขอสนับสนุนงบประมาณ
4.59   การขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆ จำนวน 5 รายการ : กทช.บัณฑูร
4.60   การขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆจำนวน 2 รายการ : กทช.บัณฑูร
4.61   ขออนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณขอรับการสนับสนุนโครงการที่หลบภัยสึนามิและศูนย์เรียนรู้ภัยธรรมชาติเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ระยะที่ 2 : กจ.
4.62   ขออนุมัติงบประมาณดำเนินการโครงการ ประจำปี 2554 (จำนวน 4 โครงการ) : ปส.
4.63   พิจารณาอนุมัติให้บรรจุงบประมาณโครงการ “ส่งเสริม สนับสนุน การเผยแพร่การดำเนินงานของโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ในแผนงบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน กสทช. ประจำปี 2554 : ทถ.
4.64   พิจารณาสนับสนุนโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน ผ่านระบบออนไลน์ (E-Learning) และการศึกษาทางไกล (Tele-education) ภายใต้โครงการเครือข่ายสุขภาพ มารดา  และทารก เพื่อครอบครัวเด็กและ
เยาวชนไทย : ลสทช., บป., กจ.
4.65   ขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการสัมมนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับการดำเนินการกับสถานีวิทยุชุมชนและโทรทัศน์ชุมชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมกับ สำนักงาน กสทช. : บป.
4.66   ขอความอนุเคราะห์งบประมาณสนับสนุนการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ  i-CREATe 2011 : ปธ.
กลุ่มเรื่องกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
4.67   การทบทวนนโยบายในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์
4.68   นโยบายดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
 : กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
4.69   โครงการทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน : กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
4.70   ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตและการประกอบกิจการชั่วคราวในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ครั้งที่ 2 เมื่อวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2553 : กทช.พนา, กส.
กลุ่มเรื่องสถาบัน
4.71   การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี และการจ่ายค่าตอบแทนประจำปี 2552 ของผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ : คกก.กำกับการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ    
4.72   งบการเงินของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 19 ธันวาคม 2553 : สนง.กองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ
4.73   การต่อสัญญาการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มภารกิจเลขานุการกองทุนฯ : บค.
4.74   การแต่งตั้งเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมและให้สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเป็นฝ่ายธุรการของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
: กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.75   การต่ออายุสัญญาการปฏิบัติงานของ นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม : สพท.
4.76   การต่อสัญญาปฏิบัติงานรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม : สพท.
4.77   การประเมินผลคณะอนุกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) : กลุ่มภารกิจด้านการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม
4.78   เงื่อนไขการให้บริการคงสิทธิเลขหมายมีลักษณะที่ขัดต่อกฎหมาย : สบท.
4.79   โครงการพัฒนาศูนย์สาธิตอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคม สำหรับคนพิการและ ผู้สูงอายุ (โครงการต่อเนื่อง) : สบท.
4.80   โครงการสนับสนุนการรับเรื่องร้องเรียนและพัฒนาศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ปี 2554 : สบท.
กลุ่มเรื่องเสนอใหม่        
4.81    การขอรับนโยบายการชี้แจงเรื่องการซื้อเสียงล่วงหน้าของสมาชิกวุฒิสภา : กทช.สุธรรม
4.82   บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริหารชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 6/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2554 (จำนวน 18 สถานี) : กทช.พนา, กส.
4.83   รายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับ สมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 4/2554
เมื่อวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2554 และครั้งที่ 6/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2554 (จำนวน 3 ราย 7 ช่องรายการ) : กทช.พนา, กส.
4.84   การจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ 4 ภาคต่อร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กทช.พนา
4.85   คดีปกครองหมายเลขดำที่ 800/2554 : กม.
4.86   การแจ้งเตือนภัยพิบัติ : ปธ.
4.87    การประเมินผลตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPI) ของสำนักงานคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2553 : บค., พต.
4.88    ร่างระเบียบ กสทช. ว่าด้วยกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการงด หรือระงับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือ
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันประโยชน์สาธารณะ : กท.
4.89    การขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของ สมาคมปลอดภัยไว้ก่อน : กบ.
4.90   ขออนุมัติงบประมาณ ปี 2554 สำหรับโครงการเพิ่มศักยภาพระบบสนับสนุน การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม : ปก.
4.91   ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางและร่างหลักเกณฑ์การให้บริการเสริม ผ่านมือถือเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกรบกวนและเพื่อการกำกับดูแล  : สบท.
4.92   ข้อร้องเรียนของว่าที่ ร.ต.สุทธิพงศ์ สุรทศ กรณีบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เรียกเก็บค่าปรับในการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด : สบท.
4.93    ข้อร้องเรียนของนายศราวุฒิ จิตรเจริญ กรณีบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด เรียกเก็บค่าบริการทั้งที่แจ้งยกเลิกสัญญาการใช้บริการและคิดค่าปรับในการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด : สบท.
4.94   ข้อร้องเรียนของนายภูมิพัฒน์ ยิ่งวราศรีศิริ กรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เรียกเก็บค่าบริการทั้งที่แจ้งระงับบริการชั่วคราว  : สบท.
4.95   ข้อร้องเรียนของนางณัชกุลกาญจน์ โชติธนศาสตร์ กรณีบริษัท ทรูมูฟ จำกัด เรียกเก็บค่าบริการเสริมทั้งที่ไม่ได้มีการใช้บริการ : สบท.            
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่  4.1  :  การอนุมัติงบประมาณตามแผนดำเนินการ USO :  กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณาวาระนี้ร่วมกับวาระที่ 4.2 เรื่อง การดำเนินการ USO หลังจาก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มีผลใช้บังคับ ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ แล้ว มีมติดังรายละเอียดปรากฏตามมติที่ประชุมวาระที่ 4.2 เช่นเดียวกัน 
ระเบียบวาระที่  4.2  :  การดำเนินการ USO หลังจาก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553  มีผลใช้บังคับ : กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., ทถ. 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบผลการพิจารณาอนุมัติการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ USO ประจำปี 2553  ซึ่งกรรมการกลั่นกรอง กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ซึ่งได้รับมอบอำนาจตามมติ กทช.ครั้งที่ 8/2553  เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 และมติ กทช. ครั้งที่ 23/2553 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2553 โดยได้พิจารณาอนุมัติเพิ่มเติมจำนวน 3 เรื่อง ดังนี้
1.1 พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ USO ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ซึ่งประกอบด้วยการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้าน จำนวน 1,555 แห่ง และการจัดให้มีบริการศูนย์อินเทอร์เน็ตโรงเรียน จำนวน 235 แห่ง
1.2 การแก้ไขคุณลักษณะระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ของข้อกำหนดและเงื่อนไขการดำเนินการ USO ประจำปี 2553 ซึ่งได้มีการปรับปรุงข้อกำหนดคุณลักษณะของอุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
1.3  พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ USO ในการจัดให้มีบริการโทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 88 แห่ง เพิ่มเติมให้แก่ บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ และ บจ.จัสเทล เน็ทเวิร์ค
1.4  การดำเนินการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงตามแผนปฏิบัติการ USO ประจำปี 2553 เป็นการปฏิบัติงานตามกรอบเดิมไม่เกี่ยวพันด้านงบประมาณของสำนักงาน กสทช. และเป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่อง แผนปฏิบัติการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมประจำปี 2553 โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงงบประมาณใดๆ เพิ่มเติม อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 86 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 โดยแท้ และไม่เกิดภาระด้านงบประมาณแก่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และสำนักงาน กสทช.อย่างแน่นอน อย่างไรก็ดี สำหรับกรณีการแก้ไขข้อกำหนดและเงื่อนไขการดำเนินการ USO ประจำปี 2553 ในเรื่องคุณลักษณะระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) นั้น เพื่อความเหมาะสม และเป็นการเปิดกว้างให้มีความหลากหลาย (Variety) มากยิ่งขึ้น ให้ปรับเพิ่มเติมข้อกำหนดและเงื่อนไข โดยให้การนำระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) มาใช้ นั้น เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ให้บริการ (Operators) ที่จะพิจารณานำมาใช้ตามความจำเป็น มิใช่เป็นการแก้ไขข้อกำหนดและเงื่อนไขให้ต้องนำระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) มาใช้เท่านั้น
2.  ในส่วนของแผนปฏิบัติการ USO ประจำปี 2554 หลังจาก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับ นั้น ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ว่า พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543 จะสิ้นผลใช้บังคับไปแล้ว แต่ภารกิจการจัดให้มีบริการ USO ตามมาตรา 17 และ 18 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544  ยังคงมีผลใช้บังคับ กอรปกับ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีอำนาจหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ตามมาตรา 80 และมาตรา 27 (12) แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ดังนั้น ในระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านที่การกระบวนการคัดเลือกและแต่งตั้ง กสทช. ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินการภารกิจด้าน USO ให้สอดรับกับบทบัญญัติของกฎหมายตามมาตรา 50 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553  เพื่อส่งต่อให้ กสทช. ที่จะแต่งตั้งใหม่ ดังนี้
2.1  ให้ดำเนินการภารกิจด้าน USO ภายหลัง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับ โดยการจัดทำแผนแม่บท USO  ระยะ 5 ปี  (2554 – 2558)  เพื่อเตรียมการไว้ ให้พร้อมที่จะนำเสนอ กสทช. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติดำเนินการภายใต้สมมุติฐานว่า กสทช. ชุดใหม่จะสามารถเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้ประมาณเดือนกันยายน 2554 
2.2  ในการดำเนินการตามข้อ 1 ให้พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทาง กระบวนการ และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องตามที่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 กำหนด อาทิ การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามมาตรา 28 เป็นต้น รวมทั้งให้พิจารณานำผลการศึกษาของที่ปรึกษาจาก ITU มาประกอบการพิจารณาตามข้อเสนอแนะของที่ประชุม ตลอดจนการหารือร่วมกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมดำเนินการจัดทำแผนฯ ทั้งนี้ เพื่อให้แผนดังกล่าวสามารถนำไปปฏิบัติ (Implement) อย่างได้ผล และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
2.3  เมื่อดำเนินการจัดทำร่างแผนแม่บท USO ระยะ 5 ปี (2554 – 2558) แล้วเสร็จ ให้นำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาความเหมาะสมด้วยอีกครั้งหนึ่ง
2.4  อย่างไรก็ดี หากในช่วงเดือนกันยายน 2554 การแต่งตั้ง กสทช. ชุดใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ หรือไม่สามารถเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็อาจจำเป็นต้องพิจารณากำหนดแผนรองรับ (Contingency Plan) ในการดำเนินการด้าน USO ในปี 2554  ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ดังกล่าวต่อไปภายใต้กรอบแนวทางของแผนแม่บท USO  ระยะ 5 ปี (2554 – 2558)  ตามที่ได้เตรียมการจัดทำ ไว้แล้ว
3.  เพื่อให้การดำเนินงานด้าน USO ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุผลตามมติที่ประชุมข้างต้น ที่ประชุมจึงเห็นชอบ และยืนยันให้ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช เป็นผู้รับมอบอำนาจในการกำกับดูแลการดำเนินงานด้าน USO ต่อไป จนกว่า กสทช. ชุดใหม่จะได้รับแต่งตั้ง และเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ 
ระเบียบวาระที่   4.3  :  โครงการศึกษาดูงานที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่มีมาตรฐานในระดับสากล CommunicaAsia ๒๐๑๑ Enterprise IT 2011 : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม                  
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่การจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่มีมาตรฐานในระดับสากล CommunicaAsia ๒๐๑๑ Enterprise IT 2011 ตามที่เสนอมา นั้น มิได้ถูกกำหนดไว้ในโครงการฝึกอบรมทางวิชาการ หัวข้อ “สื่อสารมวลชนไทยภายหลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553” ตั้งแต่ต้นตามที่ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้มีมติอนุมัติไว้ การที่จะอนุมัติกิจกรรมการดูงานดังกล่าวในภายหลังตามที่ผู้เข้าอบรมร้องขอมานี้ จึงอาจไม่เหมาะสม และไม่สามารถพิจารณาให้ได้ตามที่เสนอขอ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติไม่อนุมัติให้การสนับสนุนงบประมาณในการศึกษาดูงานฯ ตามที่เสนอมาดังกล่าว
2.  อย่างไรก็ดี เนื่องจากโครงการฝึกอบรมทางวิชาการนี้ นับได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก สมควรมีการพัฒนาและดำเนินการต่อไปอีก ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้รับข้อเสนอการจัดให้มีการศึกษาดูงานองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่มีมาตรฐานในระดับสากลไว้ เพื่อบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการฝึกอบรมนี้ตั้งแต่ต้นในรุ่นต่อไปสำหรับให้ผู้เข้าอบรมจะได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับอย่างกว้างขวางมากขึ้น มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งควรพิจารณาการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิด้านนี้ (Tacit Knowledge) มาถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ผู้เข้าอบรมด้วย 
ระเบียบวาระที่   4.5  :  ผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บริษัท ทรู มูฟ จำกัด  จำนวน 2 ฉบับ  : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการภายหลัง (Post paid) และร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (Pre paid) ของ บจ.ทรูมูฟ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)   ซึ่งได้รับมอบอำนาจตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 12/2553  เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 และมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 31/2553 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553 ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับความเห็นดังกล่าวไปดำเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่   4.13  :  บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด แจ้งเปลี่ยนกรรมการบริษัท : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบในหลักการให้บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทฯ ได้ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช., กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาเห็นว่ารายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัทเป็นบุคคลสัญชาติไทย บริษัทยังมีสถานะเป็นนิติบุคคลไทย รวมทั้งสัดส่วนของผู้ถือหุ้นถ้ายังอยู่ในสัดส่วนตามการถือหุ้น และไม่เป็นการมีอำนาจการควบคุมเกินความเหมาะสมจึงสมควรอนุญาตได้ แต่ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กสทช. ไปตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ให้ครบถ้วน และรอบคอบยิ่งขึ้นก่อน โดยเมื่อผลการดำเนินการ และการตรวจสอบเป็นที่ถูกต้อง ชัดเจนแล้ว จึงอนุมัติให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงกรรมการได้ตามที่บริษัทฯ เสนอต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.18   :  การตอบข้อหารือสิทธิการใช้คลื่นความถี่ 900 MHz  ตามใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ปัจจุบัน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มีผลบังคับใช้แล้ว และอำนาจในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวเป็นของ กสทช. ดังนั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงยังไม่สามารถตอบข้อหารือในประเด็นดังกล่าวได้ในขณะนี้ ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งตอบ บมจ.ทีโอที ตามมติข้างต้นต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.23   :  การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การอนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุ 162.675 MHz ระบบ VHF/FM  ความกว้างแถบคลื่นไม่เกิน 16 kHz เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือแก่ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด  เป็นการขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยใช้ความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาตแล้วนำมาใช้งานซ้ำกับเครื่องวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในกิจการของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด โดยการเช่าใช้จาก บมจ. กสท โทรคมนาคม และความถี่วิทยุ 162.675 MHz  เป็นความถี่วิทยุในย่าน 156.8375-174 MHz ตามข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้ใช้ความถี่วิทยุในกิจการประจำที่ (Fixed Service) และกิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) เป็นภารกิจหลัก ซึ่งการใช้งานความถี่วิทยุของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ใช้ในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) ดังนั้น การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวจึงสอดคล้องกับข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และเป็นการใช้ความถี่วิทยุถูกต้อง ตามกิจการโทรคมนาคม และไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่น ซึ่งเป็นการอนุญาตตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498  และกฎหมายโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง  ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุ 162.675 MHz ระบบ VHF/FM  ความกว้างแถบคลื่นไม่เกิน 16 kHz เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือแก่ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด  ผู้เช่าใช้บริการ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช. พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยกำหนดเงื่อนไข ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่มีหนังสือแจ้งการอนุญาต ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขอใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
2.  ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ชนิดมือถือ กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ จำนวน 4 เครื่อง
3.  เครื่องวิทยุคมนาคมในข้อ 2 ต้องเป็นประเภทที่ผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) และเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
4.  ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
5.  บมจ.กสท โทรคมนาคม จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
6.  ให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ติดต่อสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าวให้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
     อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นสรุปได้ว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม  ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้นซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย  เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น
หมายเหตุ   ความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ข้างต้นสรุปจากบันทึก กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม) ที่ 394/2554   ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2554  เรื่อง ความเห็นประกอบวาระการประชุม กสทช. 
ระเบียบวาระที่    4.24   :  กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ  :  ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ  (นายประเสริฐฯ), ฉก. 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าการขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุครั้งนี้ เป็นการขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในเส้นทางเดิมที่เคยได้รับอนุญาตให้ใช้งานแล้ว ซึ่งกองทัพเรือ โดยกรมอุทกศาสตร์ ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวต่อไป เพื่อการรับ-ส่งข้อมูลแผ่นดินไหว ระหว่างสถานีหลักกับสถานีย่อยของสถานีวัดความสั่นสะเทือนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน ซึ่งการใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคมในครั้งนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางเทคนิคอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด จึงไม่มีผลกระทบกับสถานีวิทยุคมนาคมและไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อข่ายสื่อสารอื่น และสอดคล้องมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2554 เรื่องการพิจารณาอนุมัติใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม โดยใช้คลื่นความถี่เดิม ตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของกรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ   ที่ประชุมจึงมีมติ ดังนี้
1.  อนุญาตให้กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ 2374/2468 MHz และ 2382/2476 MHz  และตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station)  จำนวน 1 เส้นทาง  (2 สถานี) เพื่อใช้งานในระบบโครงข่ายวิทยุเชื่อมโยงรับส่งข้อมูลแผ่นดินไหว โดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และมีเงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตไว้เดิม ตามหนังสือสำนักงาน กทช. ที่ ทช 3200/2114 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2553  ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ จะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
2.  ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการกำหนด และจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่สำหรับย่านความถี่วิทยุ 2300-2400 MHz เมื่อ กสทช. ประกาศกำหนด   
ระเบียบวาระที่   4.28  :  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงและรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมให้ บริษัท เค.ซี.เอส  (ประเทศไทย)  จำกัด  :  ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ    (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
มติที่ประชุม                ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่สถานีวิทยุกระจายเสียงวิทยาลัยครูอาชีวศึกษา (ปัจจุบันเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) ได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ 89.5 MHz อันเป็นการใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับสิทธิที่มีอยู่เดิมแล้วเพื่อใช้ในกิจการด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ และการตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบ FM  ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นไปตามแผนความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบ FM ของประเทศ พ.ศ. 2528 (กรมไปรษณีย์โทรเลข) กอรปกับเป็นกรณีการทำ ใช้ และนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมแทนเครื่องเดิมที่ชำรุด อย่างไรก็ดี เนื่องจากได้มีการย้ายสถานีวิทยุกระจายเสียงมายังอาคารบริษัท ซี พี แลนด์ จำกัด โดยไม่ปรากฏหลักฐานการอนุญาตตั้งสถานี ดังนั้น เพื่อความรอบคอบ และถูกต้อง จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปดำเนินการตรวจสอบการรบกวนของการใช้งานคลื่นความถี่เสียก่อนตามความเห็นที่ประชุม โดยหากผลการตรวจสอบชัดเจนว่าไม่มีการรบกวนกัน จึงมีมติอนุญาตการตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงและการนำเข้าเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตามที่เสนอมาได้ ดังนี้
1.  อนุญาตให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบ FM ความถี่ ขนาด 5 KW ตราอักษร Eletronika จำนวน 1 ชุด เพื่อทดแทนเครื่องเดิมเพื่อใช้งาน ณ อาคาร ซี.พี.แลนด์ จำกัด ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง กรุงเทพฯ 
2.  อนุญาตให้ บริษัท เค.ซี.เอส. (ประเทศไทย) จำกัด นำเข้าเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบ FM  ความถี่ 89.5 MHz ขนาด 5 KW  ตราอักษร Eletronika 1 ชุด พร้อมอุปกรณ์ประกอบ เพื่อส่งมอบให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
     ทั้งนี้ โดยให้ดำเนินการตามที่อนุญาตในข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ให้เป็นไปตามกระบวนการ ขั้นตอน และเงื่อนไขการอนุญาตตามกฎระเบียบ และข้อบังคับของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.29    :  การขออนุญาตใช้ย่านความถี่วิทยุ 7.5 GHz และตั้งสถานีวิทยุคมนาคมของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (จำนวน 1 เส้นทาง) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก. 
มติที่ประชุม   ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz เป็นความถี่วิทยุที่ บมจ.ทีโอที ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้วและยังไม่ถูกยกเลิก และมีความสอดคล้องกับประกาศ กทช. ว่าด้วยแผนความถี่วิทยุ กิจการประจำที่ ความถี่วิทยุย่าน 7.5 MHz ลงวันที่ 20 กันยายน 2550 ถือเป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุถูกต้องตามกิจการโทรคมนาคม ซึ่งการอนุญาตใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz ตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station) โดยใช้เครื่องวิทยุคมนาคมสำรองที่ได้รับอนุญาตแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุเพื่อการขยายเครือข่ายให้บริการ สำหรับการใช้ความถี่วิทยุเชิงพาณิชย์ (Commercial Use) และมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อข้อกำหนดและคุณลักษณะทางเทคนิคหรือเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการเกินไปกว่าเดิม  ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ใช้ย่านความถี่วิทยุ 7.5 GHz และตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station) จำนวน 1 เส้นทาง เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงสัญญาณชุมสายในการให้บริการโทรศัพท์แก่ประชาชน โดยมีลักษณะทางเทคนิคของสถานีวิทยุคมนาคม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวได้ไม่เกินวันที่ 8 กันยายน 2554  ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
2.  หากการใช้ความถี่วิทยุก่อให้เกิดการรบกวนต่อข่ายสื่อสารอื่นที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จะต้องเป็นผู้แก้ไขการรบกวนหรือระงับการใช้งานทันที
3.  จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.  ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันทีเมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรความถี่วิทยุนี้
5.  ให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ติดต่อสำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและใบอนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคม แล้วแต่กรณี
     อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นสรุปได้ว่าได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม     และการประกอบกิจการโทรคมนาคม ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไป โดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น
หมายเหตุ   ความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ข้างต้นสรุปจากบันทึก กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม) ที่ 394/2554  ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2554 เรื่อง ความเห็นประกอบวาระการประชุม กสทช. 
ระเบียบวาระที่    4.30   :  กองทัพเรือขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงระบบ FM  และรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮอทพอยท์เอ็นเตอร์ไพร์ส  เพื่อทดแทนเครื่องเดิม : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก. 
มติที่ประชุม   ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากเป็นการอนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุ กระจายเสียง ระบบ FM พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 3 เครื่อง และนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อทดแทนเครื่องเดิมที่ใช้มานานและใกล้หมดอายุการใช้งาน ณ สถานที่ตั้งเดิมของกองทัพเรือ จังหวัดนครพนม หนองคาย และนราธิวาส  โดยใช้ความถี่วิทยุเดิมที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว  ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติ
1.  อนุมัติให้กองทัพเรือใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงระบบ FM ตราอักษร NAUTEL แบบ/รุ่น NV 3.5 จำนวน 3 ชุด เพื่อทดแทนเครื่องเดิมและใช้ความถี่วิทยุ 97.50, 95.75  และ 94.75 MHz กำลังส่งออกอากาศไม่เกิน 4kW (EIRP) เพื่อใช้ในราชการของสถานีวิทยุกระจายเสียงของกองทัพเรือ ส.ทร.7 นครพนม, ส.ทร.12 หนองคาย และ ส.ทร.15 นราธิวาส  ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)  โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.1  ห้ามมิให้ทำการส่งสัญญาณความถี่แฝง (Subcarrier) จนกว่ากองทัพเรือจะได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่แฝงดังกล่าว
1.2  จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.  อนุญาตให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮอทพอยท์เอ็นเตอร์ไพร์ส นำเข้าเครื่องวิทยุ 2 รายการ (เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงระบบ FM ตราอักษร NAUTEL Model NV 3.5, FM Broadcast Transmitter 2 kW and Hot Standby 2 kW Include Integral Digital Exciter จำนวน 3 ชุด และ Model NV-EX-R, Second Exciter จำนวน 3 ชุด) เพื่อส่งมอบให้กองทัพเรือนำไปใช้งาน ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 1 โดยให้ติดต่อสำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตให้นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.40  :  การพิจารณาคำขอรับจัดสรรเลขหมายฯ พิเศษ ของ บมจ. เอส ซี  แอสเสท คอร์ปอเรชั่น : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ) , กบ. 
มติที่ประชุม  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่ บมจ. เอส ซี  แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1749  ตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคมตามที่ กทช. สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ  ทั้งนี้ ให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 โดยเคร่งครัดต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.50  :  รายงานการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ด้านโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมสารสนเทศ  ครั้งที่ 8  :  ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ  (นายทศพรฯ), วท. 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเอเปค ด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมสารสนเทศ ครั้งที่ 8 (Eighth APEC Ministerial Meeting on Telecommunications and Information Industry – TELMIN 8) และการประชุมที่เกี่ยวข้องของ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และคณะ ระหว่างวันที่ 28-31 ตุลาคม 2553 ณ เมือง Okinawa ประเทศญี่ปุ่น  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่   4.77  :  การประเมินผลคณะอนุกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) : กลุ่มภารกิจด้านการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม 
มติที่ประชุม  เห็นชอบการประเมินผลคณะอนุกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.)  เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการปฏิบัติงานของคณะ อนุกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) ทั้ง 5 ราย เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนของหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.)ที่กำหนดไว้แล้ว  ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่กลุ่มภารกิจด้านการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่    4.82    :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริหารชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 6/2554  เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2554 (จำนวน 18 สถานี) :  กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ 
มติที่ประชุม   อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต จำนวน 18 สถานี ตามข้อ 8(4) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยกำหนดให้มีการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวน ตามข้อ 8(5) ของประกาศดังกล่าว ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ  ดังนี้
(1)    สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนอัตตัรเรดิโอ สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาของชาวนราธิวาส คลื่นความถี่ 104.00 MHz  จังหวัดนราธิวาส
(2)    สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนปฐมสาคร คลื่นความถี่ 106.25 MHz จังหวัดสมุทรสาคร
(3)    สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อนเกษตร คลื่นความถี่ 88.00 MHz  จังหวัดศรีสะเกษ
(4)    สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน อสม. สัมพันธ์ตำบลโคกล่าม คลื่นความถี่ 106.75 MHz  จังหวัดร้อยเอ็ด
(5)    สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนสื่อสร้างสรรค์คุณภาพเพื่อท้องถิ่น คลื่นความถี่ 90.75 MHz  จังหวัดเลย
(6)    สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนหนองโพรง คลื่นความถี่ 89.50 MHz  จังหวัดระยอง
(7)    สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนบ้านดอนพัฒนา คลื่นความถี่ 91.75 MHz  จังหวัดสมุทรสาคร
(8)    สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนวิทยุเชียงใหม่เมืองงาม จังหวัดเชียงใหม่ คลื่นความถี่ 90.50 MHz  จังหวัดเชียงใหม่
(9)    สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนรุ่นใหม่ คลื่นความถี่ 107.00 MHz จังหวัดพิษณุโลก
(10)  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนแฮปปี้โฮม เรดิโอ คลื่นความถี่ 96.75 MHz  จังหวัดสมุทรปราการ
(11)  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนรถไฟลำปลายมาศ (จ.บุรีรัมย์) ตะวันออกซุปเปอร์เรดิโอ FM 97.75 คลื่นความถี่ 97.75 MHz จังหวัดบุรีรัมย์
(12)  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนปากจั่น คลื่นความถี่ 102.75 MHz จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(13)  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนรักพัฒนา คลื่นความถี่ 94.00 MHz  จังหวัดลพบุรี
(14)  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู คลื่นความถี่ 93.00 MHz จังหวัดหนองบัวลำภู
(15)สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนตำบลป่าหุ่ง คลื่นความถี่ 102.50 MHz  จังหวัดเชียงราย
(16) สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อคนท้องถิ่น คลื่นความถี่ 90.25 MHz  จังหวัดสมุทรปราการ
(17)สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนแสงธรรมส่องใจคนพิชัยใสสว่าง คลื่นความถี่ 92.00 MHz  จังหวัดอุตรดิตถ์
(18)สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อประชาชนคนโก-ลก คลื่นความถี่ 101.50 MHz จังหวัดนราธิวาส
     อนึ่ง การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เป็นการอนุญาตให้ใช้ทดลองเป็นการชั่วคราวเท่าที่ไม่เป็นการรบกวนการใช้คลื่นความถี่ของผู้รับใบอนุญาตหรือบุคคลอื่นที่มีสิทธิในการใช้คลื่นความถี่โดยชอบด้วยกฎหมาย และอาจจะปรับเปลี่ยนได้ตามแผนความถี่  รวมทั้งการอนุญาตไม่ก่อให้เกิดสิทธิถาวรกับผู้รับใบอนุญาตที่จะอ้างสิทธิใดๆ ในคลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรสื่อสาร  ของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ และจะต้องคืนคลื่นความถี่เมื่อ กทช. มีมติให้คืนหรือปรับปรุง หรือเมื่อได้มีการแต่งตั้ง กสทช. 
ระเบียบวาระที่   4.83  :  รายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 4/2554    เมื่อวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2554 และครั้งที่ 6/2554  เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2554 (จำนวน 3 ราย 7 ช่องรายการ) : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการ แพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก)  ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและ   วิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 4/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2554 และครั้งที่ 6/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2554 ของผู้ประกอบกิจการ จำนวน 3 ราย 7 ช่องรายการ  ทั้งนี้ ตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  บริษัท ส่งความสุข (ช่องรายการ HD NEWS, ช่องรายการ ZOOM ZOOM ช่องรายการ 7 ZONE และช่องรายการ MEMBER TV)
2.  หจก. อำนาจเจริญเคเบิ้ลทีวี แอนด์ เทรดดิ้ง (ช่องรายการข่าวท้องถิ่น จังหวัดอำนาจเจริญ)
3.  หจก. เพชรบุรีเคเบิ้ลทีวี (ช่องรายการ เพ็ชร์บุรี /Phetburi Channel และช่องรายการ เอฟเอ็มเพชร/FMPhet) 
ระเบียบวาระที่   4.84   :  การจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ 4 ภาคต่อร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม  อนุมัติงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ 4 ภาค ภายในกรอบวงเงิน 3,126,500 บาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายงบกลางของสำนักงาน กสทช. ประจำปี 2554 ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.85  :  คดีปกครองหมายเลขดำที่ 800/2554  :  ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ),  กม. 
มติที่ประชุม                        
1.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. เป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครอง หมายเลขดำที่ 800/2554 ระหว่าง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1  ลทช. ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์  ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓
2.  เห็นชอบแนวทางการจัดทำคำให้การคดีปกครองหมายเลขดำที่ 800/2554  ระหว่าง บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1  ลทช. ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์  ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ  โดยมอบหมายให้สำนักกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการทางคดีต่อไป  
ระเบียบวาระที่   4.89   :  การขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของ สมาคมปลอดภัย ไว้ก่อน  : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ),  กบ. 
มติที่ประชุม  ไม่อนุมัติจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษให้แก่สมาคมปลอดภัยไว้ก่อน เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าปริมาณการใช้งานของเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่เฉลี่ยไม่เกิน 2 สาย/เลขหมาย/วัน และการใช้งานเลขหมายจำกัดเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครฯ ซึ่งไม่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์การจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษสำหรับนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่แสวงหากำไรทางธุรกิจ (มติ กทช. ครั้งที่ 37/2553 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553) ตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่   4.92  :  ข้อร้องเรียนของว่าที่ ร.ต.สุทธิพงศ์ สุรทศ   กรณี บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด  เรียกเก็บค่าปรับในการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด : สบท. 
มติที่ประชุม                        
1.  ที่ประชุมได้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นหลักกฎหมายแล้วเห็นว่า ผู้ใช้บริการมีสิทธิในการเลิกสัญญาตามกฎหมายโดยแจ้งให้ผู้ให้บริการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ (ข้อ 32 แห่งประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549) และผู้ให้บริการไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าปรับจากการเลิกสัญญาดังกล่าว เนื่องจากผู้ให้บริการไม่อาจกำหนดเงื่อนไขอันก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ใช้บริการหรือเรียกเก็บค่าปรับหรือค่าเสียหายจากการที่ผู้ใช้บริการเลิกสัญญาก่อนกำหนดมิได้ (ข้อ 15 แห่งประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549) ดังนั้น เมื่อที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้มีการวินิจฉัยในหลักกฎหมายข้างต้นเป็นที่ชัดเจนแล้ว จึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (สำนักกฎหมาย และสำนักกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม) ไปดำเนินการในขั้นตอนของการบังคับใช้กฎหมายหรือการ Enforcement (ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ ที่เกี่ยวข้อง) ให้เป็นผลตามข้อวินิจฉัยต่อไป  ทั้งนี้ โดยดำเนินการตรวจสอบ และแสวงหารายละเอียดข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน โดยให้บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ตามนัยมาตรา 48 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประกอบกับข้อ 13 ของประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ซึ่งหากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่าเป็นไปตามข้อร้องเรียนของ ว่าที่ ร.ต.สุทธิพงศ์ สุรทศ  แล้ว ให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เพี่อยกเลิกสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข 08 6324 7670 ระหว่างบริษัทฯ กับว่าที่ ร.ต.สุทธิพงศ์ สุรทศ ผู้ร้อง  โดยที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระค่าปรับในการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
2.  อย่างไรก็ดี เพื่อให้การเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่างๆ ของที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  สามารถใช้อำนาจดุลยพินิจตามหลักได้อย่างถูกต้อง โดยได้ผ่านตามกระบวนการและขั้นตอนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ให้เป็นที่ยุติเรียบร้อยก่อนโดยชัดแจ้งแล้ว จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำเสนอรายละเอียดข้อมูลของขั้นตอน และกลไกการดำเนินงานพิจารณาเรื่องร้องเรียนตลอดกระบวนการตั้งแต่ต้นจนถึงขั้นตอนการนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ให้ที่ประชุมทราบ และ/หรือพิจารณา ตามความเห็น กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ต่อไปด้วย 
ระเบียบวาระที่   4.93    :  ข้อร้องเรียนของ นายศราวุฒิ จิตรเจริญ กรณี บริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด เรียกเก็บค่าบริการทั้งที่แจ้งยกเลิกสัญญาการใช้บริการและคิดค่าปรับในการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด : สบท. 
มติที่ประชุม   ที่ประชุมได้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นหลักกฎหมายแล้วเห็นว่า ผู้ใช้บริการมีสิทธิ  ในการเลิกสัญญาตามกฎหมายโดยแจ้งให้ผู้ให้บริการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ (ข้อ 32 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549) และผู้ให้บริการไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าปรับจากการเลิกสัญญาดังกล่าว เนื่องจากผู้ให้บริการไม่อาจกำหนดเงื่อนไขอันก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ใช้บริการหรือเรียกเก็บค่าปรับหรือค่าเสียหายจากการที่ผู้ใช้บริการเลิกสัญญาก่อนกำหนดมิได้ (ข้อ 15 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549) ดังนั้น เมื่อที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้มีการวินิจฉัยในหลักกฎหมายข้างต้นเป็นที่ชัดเจนแล้ว จึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (สำนักกฎหมาย และสำนักกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม) ไปดำเนินการในขั้นตอนของการบังคับใช้กฎหมายหรือการ Enforcement  (ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ ที่เกี่ยวข้อง) ให้เป็นผลตามข้อวินิจฉัยต่อไป  ทั้งนี้  โดยดำเนินการตรวจสอบและแสวงหารายละเอียดข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน โดยให้ บริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด ยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าปรับในการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด รวมทั้งการคิดค่าบริการที่ได้แจ้งยกเลิกบริการแล้ว  ตามนัยมาตรา 48 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประกอบกับข้อ 13 ของประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ซึ่งหากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่าเป็นไปตามข้อร้องเรียนของ นายศราวุฒิ  จิตรเจริญ   ให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด เพี่อให้ยุติการเรียกเก็บค่าบริการรายเดือนนับแต่ นายศราวุฒิ  จิตรเจริญ  ผู้ร้อง ได้แจ้งยกเลิกสัญญาและคืนอุปกรณ์ให้ทางบริษัทฯ และให้บริษัทฯ ยกเลิกสัญญาการให้บริการอินเทอร์เน็ต ระหว่าง บริษัทฯ กับผู้ร้อง โดยที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระค่าปรับในการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด 
ระเบียบวาระที่   4.93  :  ข้อร้องเรียนของ  นายภูมิพัฒน์  ยิ่งวราศรีศิริ  กรณีบริษัท แอดวานซ์  อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เรียกเก็บค่าบริการทั้งที่แจ้งระงับบริการชั่วคราว  : สบท. 
มติที่ประชุม   ที่ประชุมได้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นหลักกฎหมายแล้วเห็นว่า การเรียกเก็บค่าบริการในระหว่างที่มีการขอระงับการใช้บริการชั่วคราวจากผู้ใช้บริการ เป็นการเรียกเก็บค่าบริการอันขัดกับข้อ 25 และ 26 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549  ซึ่งผู้ให้บริการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้ ประกอบกับข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าบริการผู้ให้บริการจึงมีหน้าที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าบริการภายใน 60 วัน มิเช่นนั้น ถือว่าผู้ให้บริการสิ้นสิทธิในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในจำนวนที่ผู้ใช้บริการได้โต้แย้ง (ข้อ 13 ของประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ และข้อ 22 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549) หากผู้ให้บริการไม่สามารถแสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวภายในระยะเวลา 60 วันตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ให้บริการจึงสิ้นสิทธิในการเรียกเก็บเงินจำนวนที่โต้แย้งดังกล่าว ดังนั้น เมื่อที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้มีการวินิจฉัยในหลักกฎหมายข้างต้นเป็นที่ชัดเจนแล้ว จึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (สำนักกฎหมาย และสำนักกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม) ไปดำเนินการในขั้นตอนของการบังคับใช้กฎหมายหรือการ Enforcement (ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ ที่เกี่ยวข้อง) ให้เป็นผลตามข้อวินิจฉัยต่อไป  ทั้งนี้  โดยดำเนินการตรวจสอบ และแสวงหารายละเอียดข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน          โดยให้ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าบริการในระหว่างที่มีการขอระงับการใช้บริการชั่วคราวจากผู้ใช้บริการ ตามนัยมาตรา 48 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประกอบกับข้อ 13 ของประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ซึ่งหากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่าเป็นไปตามข้อร้องเรียนของ นายภูมิพัฒน์ ยิ่งวราศรีศิริ  ให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส  เพี่อขอให้ยุติการเรียกเก็บค่าบริการในระหว่างที่นายภูมิพัฒน์  ยิ่งวราศรีศิริ ผู้ร้อง มีการขอระงับการใช้บริการชั่วคราว และให้บริษัทฯ ยุติการติดตามทวงหนี้จากผู้ร้อง  
ระเบียบวาระที่   4.95  :  ข้อร้องเรียนของนางณัชกุลกาญจน์ โชติธนศาสตร์ กรณีบริษัท ทรูมูฟ จำกัด เรียกเก็บค่าบริการเสริมทั้งที่ไม่ได้มีการใช้บริการ : สบท.   
มติที่ประชุม   ที่ประชุมได้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นหลักกฎหมายแล้วเห็นว่า การที่ผู้ใช้บริการประสงค์จะใช้บริการโทรคมนาคมหรือบริการเสริมจะต้องเป็นการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งว่าผู้ใช้บริการตกลงใช้บริการดังกล่าว (ข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549)  ประกอบกับ  ข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าบริการ ผู้ให้ บริการจึงมีหน้าที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องของการ เรียกเก็บค่าบริการภายใน 60 วัน มิเช่นนั้น ถือว่าผู้ให้บริการสิ้นสิทธิในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในจำนวนที่ผู้ใช้บริการได้โต้แย้งนั้น (ข้อ 13 ของประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ และข้อ 22 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549) หากผู้ให้บริการไม่สามารถแสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวภายในระยะเวลา 60 วันตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ให้บริการจึงสิ้นสิทธิในการเรียกเก็บเงินจำนวนที่โต้แย้งดังกล่าว  ดังนั้น เมื่อที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้มีการวินิจฉัยในหลักกฎหมายข้างต้นเป็นที่ชัดเจนแล้ว จึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (สำนักกฎหมาย และสำนักกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม) ไปดำเนินการในขั้นตอนของการบังคับใช้กฎหมายหรือการ Enforcement (ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ ที่เกี่ยวข้อง) ให้เป็นผลตามข้อวินิจฉัยต่อไป ทั้งนี้ โดยดำเนินการตรวจสอบและแสวงหารายละเอียดข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน  โดยให้ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด  ยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ตามนัยมาตรา 48 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประกอบกับข้อ 13 ของประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ซึ่งหากผลการตรวจ สอบข้อเท็จจริงปรากฏว่าเป็นไปตามข้อร้องเรียนของ นางณัชกุลกาญจน์  โชติธนศาสตร์  ให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บริษัท ทรูมูฟ จำกัด  เพี่อขอให้ปรับคืนค่าบริการเสริมที่ นางณัชกุลกาญจน์ โชติธนศาสตร์  ผู้ร้องได้มีการชำระไปแล้วให้กับผู้ร้องโดยเร็ว และแจ้งเตือนบริษัทฯ เพื่อส่งข้อความแจ้งเตือนก่อนที่จะมีการให้บริการเสริม   
หมายเหตุ    ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลืออยู่ทั้งหมดอีกจำนวน 72 เรื่อง สำนักงาน กสทช. จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
5.1  การใช้อำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการ โทรคมนาคม กทช. : กทช.สุธรรม
5.2  รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 : กม.
5.3  รายงานความก้าวหน้าและสถานะการดำเนินคดีปกครองที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., สำนักงาน กสทช., ลสทช., คณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ หรือ พนักงานสำนักงาน กสทช. ถูกฟ้องต่อศาลปกครองประจำเดือนเมษายน 2554 : กม.
5.4  การปฏิบัติตามประกาศ กทช. กรณีเกิดภัยพิบัติ : กท. 
ระเบียบวาระที่   5   :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่   5.1  :  การใช้อำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมของ กทช. : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม  รับทราบความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เรื่องการใช้อำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม รวมตลอดถึงการประกอบกิจการโทรคมนาคมของ กทช.  
ตามเอกสารที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่   5.2  :  รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498  : 
ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ),  กม. 

มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานตามที่ กสทช. ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต หรือมอบหมายให้ ลสทช. ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498  ประจำเดือนเมษายน 2554  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่   5.3  :  รายงานความก้าวหน้าและสถานะการดำเนินคดีปกครองที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., สำนักงาน กสทช., ลสทช., คณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานสำนักงาน กสทช. ถูกฟ้องต่อศาลปกครองประจำเดือนเมษายน 2554  : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ    (นายฐากรฯ), กม. 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานความก้าวหน้าและสถานะการดำเนินคดีปกครองที่  กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., สำนักงาน กสทช., ลสทช., คณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานสำนักงาน กสทช. ถูกฟ้องต่อศาลปกครอง ประจำเดือนเมษายน 2554 รวม 57 คดี ประกอบด้วย คดีที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ถูกฟ้องต่อศาลปกครอง จำนวน 43 คดี และคดีที่สำนักงาน กสทช., ลสทช., คณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานของสำนักงาน กสทช. ถูกฟ้องต่อศาลปกครอง จำนวน 14 คดี ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่   5.4  :   การปฏิบัติตามประกาศ กทช. กรณีเกิดภัยพิบัติ  : ปฏิบัติหน้าที่  รองเลขาธิการฯ  (นายประเสริฐฯ), กท.
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานผลการดำเนินการของผู้รับใบอนุญาต ตามข้อ 15 ของประกาศ กทช. 
เรื่อง เงื่อนไขมาตรฐานในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และข้อ 5 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียง กรณีเกิดอุทกภัยร้ายแรง ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่   5.5  :  นักเรียนทุนสำนักงาน กสทช. ขอเข้าพบ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เพื่อรายงานตัว  : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), บค.
มติที่ประชุม  รับทราบการเข้าพบของนักเรียนทุนสำนักงาน กสทช. ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว และที่กำลังจะเดินทางไปศึกษา จำนวน 5 คน เพื่อรายงานตัว และเข้ารับโอวาทจาก กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มีความกระตือรือล้นขวนขวาย รักในงานที่ทำ และมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนและพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าได้ยิ่งๆขึ้นไป ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ในการสนับสนุนให้ทุนการศึกษาแต่ละปีนั้น ควรต้องพิจารณาเตรียมการให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนตั้งแต่ต้นระหว่างผู้รับทุนกับสำนักงานฯ ผู้ให้ทุนด้วยว่า ในการเข้ารับทุน ผู้รับทุนควรต้องมุ่งเน้นหรือให้ความสำคัญกับการศึกษาในสาขาที่จำเป็นสำหรับการทำงานขององค์กรในอนาคต 
ระเบียบวาระที่  6   :   เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6   :   เรื่องอื่นๆ
 
ระเบียบวาระที่  6.1   :   ความเห็นส่วนตน ต่อมติที่ประชุม กสทช.  ครั้งที่ 16/2554 ระเบียบวาระที่ 6.1  (ร่าง) กรอบการพิจารณา กรณี บมจ. กสท โทรคมนาคม บจ. บีเอฟเคที (ประเทศไทย) และ บจ. เรียลมูฟ  : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม  รับทราบเรื่องความเห็นส่วนตน ต่อมติที่ประชุม กสทช.  ครั้งที่ 16/2554 ระเบียบวาระที่ 6.1 (ร่าง) กรอบการพิจารณา กรณี บมจ. กสท โทรคมนาคม บจ.บีเอฟเคที (ประเทศไทย) และ บจ.เรียลมูฟ  ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ระบุเพิ่มเติมถึงกรณี กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นดังกล่าวเป็นหมายเหตุไว้ท้ายมติที่ประชุมของวาระ 6.1 นี้ และแนบบันทึกรายละเอียดความเห็นดังกล่าวไว้กับรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.   ครั้งที่ 16/2554 ต่อไป 
ระเบียบวาระที่  6.2   :   ความล่าช้าในการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม   โดยที่มีกรณีตัวอย่างที่ศาลปกครองมีหมายแจ้งคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ 328/2554  กรณี บมจ.ทีโอที ฟ้อง กทช. ใช้ดุลพินิจไม่ชอบด้วยกฎหมายในการเรียกคืนคลื่นความถี่ 1900 MHz  อนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ยื่นคำให้การภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2554 และเป็นการอนุญาตครั้งสุดท้าย หากไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ให้ถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่ทำคำให้การโดยยอมรับข้อเท็จจริงตามข้อหาและพยานหลักฐานของผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งศาลจะพิจารณาพิพากษาต่อไปตามที่เห็นเป็นการยุติธรรม  กอรปกับปัจจุบันมีคดีปกครองฟ้องร้อง กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และสำนักงาน กสทช. อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตามขั้นตอนของศาลอีกเป็นจำนวนมาก แต่โดยที่ขณะนี้ยังมีความล่าช้าในการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย และได้ส่งผลเสียหายต่อ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้เลขาธิการ กสทช. ไปเร่งรัดดำเนินการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษากฎหมายให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ  
ระเบียบวาระที่   6.3  :   ข้อสังเกตเกี่ยวกับวาระการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยปฏิบัติ หน้าที่ด้านวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการจ่ายค่าตอบแทน   : กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม  โดยที่กรณีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยปฏิบัติหน้าที่ด้านวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการจ่ายค่าตอบแทน  ตามที่ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ได้พิจารณาและมีมติในคราวประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 14/2554 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 นั้น ยังอาจมีประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านกฎหมายที่จำเป็นต้องพิจารณาเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ เพื่อมิให้ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553  ดังนั้น เพื่อความรอบคอบและถูกต้อง ยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ส่งเรื่องการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยปฏิบัติหน้าที่ด้านวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และการจ่ายค่าตอบแทน พร้อมข้อสังเกตของ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ให้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายสำนักงาน กสทช. พิจารณาให้ความเห็นอีกครั้งหนึ่งในประเด็นตามข้อสังเกต และความเห็นเพิ่มเติมที่ ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช., กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีบันทึกแจ้งไว้ โดยเฉพาะในประเด็นที่อาจเป็น Conflict of Interest  กับพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 และหลักกฎหมายปกครอง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจน แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาต่อไป 
ระเบียบวาระที่  6.4   :  ผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวนในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการพิจารณาขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (จำนวน 19 ราย 50 ใบอนุญาต) :  กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวนเมื่อสถานีทำการทดลองให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงของผู้ได้รับใบอนุญาต จำนวน 19 ราย (50 ใบอนุญาต) ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เสนอ  
2.  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ประกอบการ จำนวน 19 ราย (50 ใบอนุญาต) ตามข้อ 7(7) ของประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. ดังกล่าวข้างต้น ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์  ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1)  บจ. อ่างทอง เคเบิลทีวี               จำนวน  1  ใบอนุญาต 49  ช่องรายการ
2)  บจ. ราไวย์ เคเบิ้ลทีวี                 จำนวน  2  ใบอนุญาต  80  ช่องรายการ
3)  หจก. เอ็มที เคเบิลทีวี                จำนวน  3  ใบอนุญาต 100  ช่องรายการ
4)  บจ. พี.ที.วี แหลมฉบัง                จำนวน  1  ใบอนุญาต  80  ช่องรายการ
5)  บจ. โกลเด้น ซีทีวี                     จำนวน  4  ใบอนุญาต  60  ช่องรายการ
6)  หจก. เกาะโพธิ์ เคเบิล 2007       จำนวน  1  ใบอนุญาต  40  ช่องรายการ
7)  หจก. หลังสวน เคเบิลทีวี            จำนวน  1  ใบอนุญาต   60  ช่องรายการ
8)  บจ. ไทยซุ่น เคเบิ้ลทีวี               จำนวน 13 ใบอนุญาต  98  ช่องรายการ
9)  หจก. โรงอัดมันเม็ดศรีวัน            จำนวน  1  ใบอนุญาต  50  ช่องรายการ
10)   หจก. วิชชุกร เคเบิลทีวี               จำนวน  1  ใบอนุญาต  52  ช่องรายการ
11)   บจ. บิ๊ก บี.เค.เค เคเบิ้ลทีวี           จำนวน  5  ใบอนุญาต  93  ช่องรายการ
12)   บจ. วิวอน เคเบิ้ลจำกัด               จำนวน  1  ใบอนุญาต  63   ช่องรายการ
13)   บจ. ซัน มัลติมีเดียซิสเต็ม           จำนวน  1  ใบอนุญาต  80  ช่องรายการ
14)   หจก. ทีทีซี เคเบิลทีวี เนทเวิร์ค     จำนวน  1  ใบอนุญาต  45  ช่องรายการ
15)   บจ. พี.ที.วี โทรทัศน์ทางสายศรีราชา  จำนวน 1 ใบอนุญาต  80  ช่องรายการ
16)   บจ. ไฮ-เทค เคเบิล เทเลวิชั่น      จำนวน  9  ใบอนุญาต    80  ช่องรายการ
17)   หจก. คลองหาด เคเบิ้ลทีวี          จำนวน  1  ใบอนุญาต   40  ช่องรายการ
18)   หจก. เอ็นทีวี สตูลเคเบิ้ล            จำนวน  1  ใบอนุญาต   80  ช่องรายการ
19)   บจ. เคเบิล ทีวี (ชลบุรี)              จำนวน  2  ใบอนุญาต  64  ช่องรายการ 
ระเบียบวาระที่  6.5  :  คำสั่งเรียกให้ทำคำให้การ คดีปกครองหมายเลขคดีดำที่ 889/2554 ระหว่าง บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท พีแพลนเนอร์ จำกัด ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดี)  :  ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม. 
มติที่ประชุม                
1.  มอบหมายให้ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. เป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครองหมายเลขคดีดำที่ 889/2554 ระหว่าง บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท พีแพลนเนอร์ จำกัด ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดี) 
2.  เห็นชอบแนวทางการจัดทำคำให้การคดีปกครองหมายเลขคดีดำที่ 889/2554  ระหว่าง บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) โดย บริษัท พีแพลนเนอร์ จำกัด ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดี) โดยมอบหมายให้สำนักกฎหมาย เป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการทางคดีต่อไป  ทั้งนี้  ให้อยู่ภายใต้  การกำกับดูแลของผู้รับผิดชอบคดี ตามข้อ 1 
ระเบียบวาระที่   6.6   :  การจัดทำไปรมาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นสำหรับการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (Broadcasting Media Regulation Primer)  :  กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม                  
1.  อนุมัติการจัดทำไปรมาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นสำหรับการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (Broadcasting Media Regulation Primer) และการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำหนังสือองค์ความรู้การกำกับดูแลสื่อ ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รับผิดชอบกำกับดูแลการดำเนินงานในเรื่องนี้ต่อไป รวมถึงมี ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เข้าร่วมด้วย
2.  อนุมัติค่าใช้จ่ายในการจัดทำไปรมาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นสำหรับการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (Broadcasting Media Regulation Primer)ภายในกรอบวงเงิน 5,454,000 บาท โดยเบิกจ่ายจากรายจ่ายงบกลาง ประจำปี 2554 ของสำนักงาน กสทช. ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่   6.7  :  โครงการปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน ASEAN Secretariat  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.     
มติที่ประชุม   อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการปฏิบัติงานของนางสาวศิริพร พุกกะเวส พนักงานตามสัญญาจ้าง สำนักกิจการกรรมการ  ตามโครงการปฏิบัติงาน  ณ  สำนักงาน ASEAN Secretariat  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  ออกไปอีก 3 เดือน (วันที่ 30 กันยายน 2554)  ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถส่งมอบงานในความรับผิดชอบให้แก่พนักงานสำนักงาน กสทช. ที่ได้รับการคัดเลือกให้ปฏิบัติงานในรุ่นต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ  ตามที่ กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ

สร้างโดย  -   (29/2/2559 17:13:03)

Download

Page views: 324