รสทช.พล.อ.ต.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ เป็นผู้แทน กสทช.เข้าร่วม Study visits for ASEAN's ATRC (ASEAN Telecommunication Regulator's Council) Senior Officials

                 รสทช.พล.อ.ต.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ เป็นผู้แทน กสทช.พร้อมด้วยอบภ.เสน่ห์ สายวงค์ ได้เข้าร่วม Study visits for ASEAN's ATRC (ASEAN Telecommunication Regulator's Council) Senior Officials ซึ่งทางสหภาพยุโรป (EU)โดยThe Regional EU-ASEAN Dialogue Instrument (READI) ได้เป็นเจ้าภาพในการเชิญและให้ทุนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานกำกับดูแลทางด้านโทรคมนาคมของประเทศอาเซียน มาศึกษาดูงานการบริหารจัดการคลื่นความถี่ (Spectrum Management)ของประเทศในสหภาพยุโรป ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการบริหารคลื่นความถี่และการกำกับดูแลในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทยในสหภาพยุโรปและประเทศใหม่อาเซียน 


              ตลอดระยะเวลา 4 วันเต็ม ได้ทีการทั้งรับฟังคำบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนการไปเยี่ยมชมและฟังคำบรรยายสรุปของสภายุโรป(European Parliament) และคณะกรรมาธิการคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Spectrum Committee: RSCOM)ตลอดจนคณะทำงานการกำหนดนโยบายด้านคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Spectrum Policy Group: RSPG) ที่ใช้สำหรับกิจการทั้งด้านกระจายเสียงและโทรคมนาคม รวมทั้งสหภาพกระขายเสียงยุโรป (European Broadcasting Union: EBU) ซึ่งประเทศในยุโรปไม่ใช่จะมีแค่คณะระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะ JC หรือ JTC เหมือนประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น แต่ยังมีคณะกรรมาธิการภายใต้สหภายุโรปตามที่ได้กล่าว นอกจากนั้นยังได้ไปเยี่ยมชม The Bundesnetzagentur(BNetzA) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศเยอรมนี ที่ได้ทำการประมูลคลื่นความถี่สำเร็จมาหลายครั้ง และเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่บริษัทโทรคมเยอรมัน (Deutsche Telekom) ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ของประเทศเยอรมัน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีอาเคน (RWTH Aachen University) ที่ได้รับทุนในการวิจัยและพัฒนาทางด้านคลื่นความถี่ทั้งจากสหภาพยุโรปและประเทศเยอรมนี 


               แม้ว่าประเทศไทยหรืออาเซียนจะไม่สามารถลอกเลียนแบบจากEU หรือประเทศในยุโรปโดยตรงได้ทั้งหมด แต่ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมาของยุโรป ทั้งในแง่Best pratice หรือ บทเรียนของประเทศในยุโรป ตลอดจนแรงบันดาลใจและความท้าทายที่่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ทางยุโรปได้กำหนดที่เกี่ยวกับคลื่นความถี่ เช่น การกำหนดเป้าหมายด้านความถี่ โดยให้มีความถี่สำหรับ Wireless Broadband (WBB) อย่างน้อย1,200MHz (ระหว่าง400MHz-6GHz) ภายในปีค.ศ.2015 และให้ครอบคลุมและมีความเร็วอย่างน้อย30Mbps ภายในปีค.ศ.2020 เป็นต้น 


               โดยเน้นการใช้ความถี่ร่วมกัน (Shared Spectrum Ues and Network Sharing) ให้มากที่สุด นอกจากนั้นสิ่งที่ กสทช. ต้องตระหนักและให้สำคัญกับบทบาทของประเทศใน ASEAN ที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลบริหารคลื่นความถี่ที่ทั้งประเทศเวียดนาม หรือ สิงคโปร์และมาเลเซีย ได้ต้องการเป็นผู้นำทางด้านนี้ดังจะเห็นจากการตอบรับการเป็นเจ้าภาพในการประชุม ASEAN Spectrum Policy Forum (ASPF) ครั้งที่ 1 ที่ได้รัยการสนับสนุนจาก EU ในการดำเนินการ ซึ่ง กสทช. หรือประเทศไทยสามารถที่จะแสดงบทบาทความเป็นผู้นำใน ASEAN ได้นอกเหนือจากบทบาทที่ กสทช. ดำเนินการอยู่ในเวที ATRC ภายใต้ TELMIN

 

สร้างโดย  -   (23/3/2560 10:16:57)

Download

Page views: 857