ผลการประชุม กสทช. วันที่ 10 ต.ค. 2561
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า วันนี้ (10 ต.ค. 2561) ที่ประชุม กสทช. ได้พิจารณาการอุทธรณ์คำสั่งทุเลาการบังคับตามมติของ กสทช.เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษา เกี่ยวกับกรณีที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นฟ้อง กสทช. ต่อศาลปกครอง และศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ในกรณีคลื่น 900 MHz ไว้ โดยที่ประชุม กสทช. มีมติมอบหมายให้พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร ประธาน กสทช. เป็นผู้พิจารณาว่าจะยื่นอุทธรณ์ หรือไม่ยื่นอุทธรณ์ ในวันที่ 16 ต.ค. 2561
จากนั้น ที่ประชุม กสทช. ยังมีมติให้การสนับสนุนโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จำนวน 18 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 116,919,187.60 บาท ได้แก่
1.โครงการ ชูใจ : หุ่นยนต์ดูแลสุขภาพใจผู้สูงอายุ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วงเงิน 8,938,887 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 เดือน
2.โครงการสมุดบันทึกสุขภาพและอาหารปลอดภัยบนเพอร์มิชชั่นบล็อกเชน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วงเงิน 4,606,713.80 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เดือน
3.โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มการดูแลสุขภาพแบบปัจเจกบุคคลในลักษณะองค์รวม ของมูลนิธิดุลยภาพบำบัดเพื่ออายุและสุขภาพในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชร รัตนราชสุดา สิริโสภาพัณวดี วงเงิน 13,038,050 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เดือน
4.โครงการดูแลผู้สูงอายุ ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย วงเงิน 4,053,160 บาท
5.โครงการการใช้สมาร์ตโฟนเซนเตอร์ค้นหาภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตันเบื้องต้นในผู้สูงอายุที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วงเงิน 1,034,380 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เดือน
6.โครงการระบบติดตามตำแหน่งเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้สูงอายุในอาคาร ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วงเงิน 3,376,599 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เดือน
7.โครงการผลิตชุดความรู้สำหรับการสอนแพทย์ทางเลือก วิถีมะเก่า ชาวล้านนา ของศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ไทในล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วงเงิน 374,640 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เดือน
8.โครงการสำรวจทัศนคติและความต้องการของคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายต่อการนำเสนอรายการโทรทัศน์ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. วงเงิน 3,797,430 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 เดือน
9.โครงการการพัฒนาระบบเรดาร์ตรวจวัตถุระเบิดใต้ทางรถไฟเพื่อความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วงเงิน 11,309,900 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เดือน
10.โครงการบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0 ปฏิวัติอุตสาหกรรมการใช้ไฟฟ้าและการป้องกันภัย ของเรย์วิสาหกิจเพื่อสังคม วงเงิน 11,470,000 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 เดือน
11.โครงการพัฒนาต้นแบบ SMART Agriculture Platform ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกลร่วมกับแบบจำลอง AquaCrop ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วงเงิน 4,065,486.40 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เดือน
12.โครงการระบบบัญชีธุรกิจครัวเรือนอัจฉริยะเพื่อพัฒนาเกษตรกรไทยสู่ประเทศไทยยุค 4.0 ของมหาวิทยาลัยรังสิต วงเงิน 2,557,749.50 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เดือน
13.โครงการพัฒนาต้นแบบฟาร์มหมูอัจฉริยะด้วยเครือข่ายสื่อสาร LoRaWan ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วงเงิน 2,728,928 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เดือน
14.โครงการการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการแปลงหนังสือแบบเรียนเป็นสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการสื่อสารร่วมกับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนนักปฏิบัติแบบลำดับชั้นสำหรับบุคลากรครูสายปฏิบัติการสอนในพื้นที่ระเบียงการศึกษาห่างไกล ของวิสาหกิจเริ่มต้น วงเงิน 9,117,100 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เดือน
15.โครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาพัฒนาระบบออนไลน์ เพื่อสนับสนุนการสอนวิชาโครงงานด้วยฐานวิจัย บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วงเงิน 6,301,600 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เดือน
16.โครงการศึกษาและพัฒนาต้นแบบระบบตรวจจับและระบุตำแหน่งแหล่งสัญญาณที่ไม่ได้รับอนุญาตด้วยอากาศยานไร้คนขับ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วงเงิน 7,737,564 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เดือน
17.โครงการมิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์: ระบบตรวจวัดอุณหภูมิใบหน้าแบบไม่สัมผัสทีละหลายบุคคลและการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสาร ของห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ วงเงิน 15,411,000 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เดือน
18. โครงการถอดบทเรียนกรณีถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน: จริยธรรมของสื่อ ของกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อที่จะสร้างจริยธรรมให้กับสื่อ โดยการถอดบทเรียนจากกรณีดังกล่าวว่าเมื่อเกิดกรณีวิกฤติแบบนี้ ควรที่จะปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง ในวงเงินงบประมาณ 6,600,000 บาท
Create by - Khemakanit Sasilawan (10/10/2018 4:46:40 PM)
Download
เอกสารแนบ
Page views: 247