เลขาธิการ กสทช. นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมห้องประมูล 5G โชว์ความพร้อมสำหรับการประมูล 5G ในวันอาทิตย์ที่ 16 ก.พ.นี้

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า วันนี้ (14 ก.พ. 2563) สำนักงาน กสทช. นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมห้องประมูล 5G พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับกระบวนการประมูลและกฎการประมูล เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ และวิธีการประมูล ในส่วนของผู้เข้าร่วมการประมูล 5G สำนักงาน กสทช. จัดการชี้แจงกระบวนการและกฎการประมูล (Bidder information session) และการประมูลรอบสาธิต (Mock Auction) เป็นวันที่ 2
สำหรับสถานที่จัดการประมูล สำนักงานฯ ได้จัดห้องประมูลอยู่ที่อาคารอำนวยการ ชั้น 3 จำนวน 4 ห้อง จัดเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน Bidder 5 คน ชั้น 11 จำนวน 1 ห้อง จัดเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน Bidder 2 คน และจัดห้องประมูลสำรองไว้ที่ ชั้น 10 จำนวน 1 ห้อง โดยในห้องประมูลทุกห้องจะจัดแบ่งเป็น โซนประมูล โซนรับประทานอาหาร และห้องน้ำ โดยสำนักงาน กสทช. ได้จัดอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้ในห้องประมูล เช่น อุปกรณ์สำหรับการประมูล ได้แก่ คอมพิวเตอร์สำหรับประมูล 2 เครื่อง Notebook สำหรับคำนวณ 2 เครื่อง เครื่อง Printer 1 เครื่อง จอ Monitor 3 จอ เครื่องคิดเลข พร้อมจัดเตรียมคู่มือที่เกี่ยวข้อง ประกาศหลักเกณฑ์ฯ คู่มือปฏิบัติตน คู่มือการใช้ Software แบบคำร้อง รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องเขียนที่จำเป็นต่างๆ นอกจากนั้นสำนักงานฯ ยังได้จัดเตรียมเครื่องใช้และสิ่งของอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ตู้เย็น เครื่องชงกาแฟ ขนมขบเคี้ยว ยาสามัญประจำบ้าน หน้ากากอนามัย เอาไว้ให้ผู้เข้าร่วมการประมูล และได้จัดเตรียมแพทย์ จำนวน 1 คน และพยาบาล จำนวน 4 คน ประจำที่ห้องพยาบาลสำนักงาน กสทช. ตลอดการประมูล ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ได้จัดอาคารหอประชุมชั้น 1 เป็นสถานที่สังเกตการณ์การประมูล โดยจะมีจอแสดงผลการประมูล พร้อมเจ้าหน้าที่คอยบรรยายให้คำแนะนำประกอบตลอดการประมูล
นายฐากร กล่าวว่า การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz ในวันที่ 16 ก.พ. 2563 สำนักงาน กสทช. เลือกใช้วิธีการประมูลแบบ Clock Auction ในการประมูล นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเลือกใช้การประมูลรูปแบบนี้ เนื่องจากช่วยประหยัดเวลาในการดำเนินการประมูล เพราะการประมูลครั้งนี้เราวางแผนจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 4 คลื่นพร้อมกัน คือ คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz 1800 MHz 2600 MHz และ 26 GHz โดยเฉพาะคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz และ 26 GHz ซึ่งจำนวนชุดคลื่นความถี่ถึง 19 และ 27 ชุดตามลำดับ หากใช้การประมูลรูปแบบเดิมจะทำให้เวลาที่ใช้ในการประมูลยาวนานมาก นอกจากนี้ ระบบการประมูลแบบ Simultaneous Ascending Clock Auction ช่วยให้การระบุราคามีความยืดหยุ่นมากขึ้น ปัจจุบัน หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ก็เปลี่ยนรูปแบบการประมูลจาก Simultaneous Muti-Round Auction (SMRA) มาเป็นรูปแบบ Clock Auction เช่นกัน
การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz จะประมูลตามลำดับจากคลื่นย่านต่ำไปคลื่นย่านสูง โดยการประมูลแต่ละคลื่นความถี่จะประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการจัดสรรคลื่นความถี่ (Allocation Stage) ด้วยรูปแบบการประมูลแบบ Clock Auction และขั้นตอนการกำหนดย่านความถี่ (Assignment Stage) ซึ่งจะเปิดให้ผู้ชนะการประมูลแต่ละรายยื่นข้อเสนอสำหรับแต่ละทางเลือก (First-price Sealed-bid Auction)
เลขาธิการ กสทช. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การประมูลแบบ Clock Auction เป็นการเสนอจำนวนคลื่นความถี่ที่ต้องการ ณ ราคาประมูลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละรอบ โดยหลังจากการประมูลรอบแรกแล้ว ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถยืนยันจำนวนคลื่นความถี่ที่ต้องการในราคาที่เพิ่มขึ้น หรือลดจำนวนคลื่นความถี่ลง โดยจะต้องระบุราคาที่เต็มใจจ่ายทุกครั้งที่ลดจำนวนคลื่นความถี่ลง โดยการประมูลแบบ Clock Auction จะสิ้นสุดลงเมื่อความต้องการจำนวนคลื่นความถี่เท่ากับจำนวนคลื่นความถี่ที่เสนอขาย ทั้งนี้ หากในรอบแรก ความต้องการจำนวนคลื่นความถี่มีน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนคลื่นความถี่ที่เสนอขาย การประมูลจะจบในรอบแรก
สำนักงาน กสทช. พร้อมเต็มที่ สำหรับการประมูล 5G ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 16 ก.พ. นี้ เราได้ให้ความรู้และทำความเข้าใจกับผู้เข้าร่วมการประมูล เกี่ยวกับกฎการประมูล ซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการประมูล เปิดให้มี Mock Auction เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการใช้ซอฟท์แวร์การประมูล จัดเตรียมสถานที่ประมูล อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงแพทย์ พยาบาลกรณีเหตุฉุกเฉินไว้พร้อม นายฐากร กล่าว
***********************
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า วันนี้ (14 ก.พ. 2563) สำนักงาน กสทช. นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมห้องประมูล 5G พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับกระบวนการประมูลและกฎการประมูล เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ และวิธีการประมูล ในส่วนของผู้เข้าร่วมการประมูล 5G สำนักงาน กสทช. จัดการชี้แจงกระบวนการและกฎการประมูล (Bidder information session) และการประมูลรอบสาธิต (Mock Auction) เป็นวันที่ 2
สำหรับสถานที่จัดการประมูล สำนักงานฯ ได้จัดห้องประมูลอยู่ที่อาคารอำนวยการ ชั้น 3 จำนวน 4 ห้อง จัดเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน Bidder 5 คน ชั้น 11 จำนวน 1 ห้อง จัดเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน Bidder 2 คน และจัดห้องประมูลสำรองไว้ที่ ชั้น 10 จำนวน 1 ห้อง โดยในห้องประมูลทุกห้องจะจัดแบ่งเป็น โซนประมูล โซนรับประทานอาหาร และห้องน้ำ โดยสำนักงาน กสทช. ได้จัดอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้ในห้องประมูล เช่น อุปกรณ์สำหรับการประมูล ได้แก่ คอมพิวเตอร์สำหรับประมูล 2 เครื่อง Notebook สำหรับคำนวณ 2 เครื่อง เครื่อง Printer 1 เครื่อง จอ Monitor 3 จอ เครื่องคิดเลข พร้อมจัดเตรียมคู่มือที่เกี่ยวข้อง ประกาศหลักเกณฑ์ฯ คู่มือปฏิบัติตน คู่มือการใช้ Software แบบคำร้อง รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องเขียนที่จำเป็นต่างๆ นอกจากนั้นสำนักงานฯ ยังได้จัดเตรียมเครื่องใช้และสิ่งของอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ตู้เย็น เครื่องชงกาแฟ ขนมขบเคี้ยว ยาสามัญประจำบ้าน หน้ากากอนามัย เอาไว้ให้ผู้เข้าร่วมการประมูล และได้จัดเตรียมแพทย์ จำนวน 1 คน และพยาบาล จำนวน 4 คน ประจำที่ห้องพยาบาลสำนักงาน กสทช. ตลอดการประมูล ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ได้จัดอาคารหอประชุมชั้น 1 เป็นสถานที่สังเกตการณ์การประมูล โดยจะมีจอแสดงผลการประมูล พร้อมเจ้าหน้าที่คอยบรรยายให้คำแนะนำประกอบตลอดการประมูล
นายฐากร กล่าวว่า การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz ในวันที่ 16 ก.พ. 2563 สำนักงาน กสทช. เลือกใช้วิธีการประมูลแบบ Clock Auction ในการประมูล นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเลือกใช้การประมูลรูปแบบนี้ เนื่องจากช่วยประหยัดเวลาในการดำเนินการประมูล เพราะการประมูลครั้งนี้เราวางแผนจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 4 คลื่นพร้อมกัน คือ คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz 1800 MHz 2600 MHz และ 26 GHz โดยเฉพาะคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz และ 26 GHz ซึ่งจำนวนชุดคลื่นความถี่ถึง 19 และ 27 ชุดตามลำดับ หากใช้การประมูลรูปแบบเดิมจะทำให้เวลาที่ใช้ในการประมูลยาวนานมาก นอกจากนี้ ระบบการประมูลแบบ Simultaneous Ascending Clock Auction ช่วยให้การระบุราคามีความยืดหยุ่นมากขึ้น ปัจจุบัน หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ก็เปลี่ยนรูปแบบการประมูลจาก Simultaneous Muti-Round Auction (SMRA) มาเป็นรูปแบบ Clock Auction เช่นกัน
การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz จะประมูลตามลำดับจากคลื่นย่านต่ำไปคลื่นย่านสูง โดยการประมูลแต่ละคลื่นความถี่จะประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการจัดสรรคลื่นความถี่ (Allocation Stage) ด้วยรูปแบบการประมูลแบบ Clock Auction และขั้นตอนการกำหนดย่านความถี่ (Assignment Stage) ซึ่งจะเปิดให้ผู้ชนะการประมูลแต่ละรายยื่นข้อเสนอสำหรับแต่ละทางเลือก (First-price Sealed-bid Auction)
เลขาธิการ กสทช. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การประมูลแบบ Clock Auction เป็นการเสนอจำนวนคลื่นความถี่ที่ต้องการ ณ ราคาประมูลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละรอบ โดยหลังจากการประมูลรอบแรกแล้ว ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถยืนยันจำนวนคลื่นความถี่ที่ต้องการในราคาที่เพิ่มขึ้น หรือลดจำนวนคลื่นความถี่ลง โดยจะต้องระบุราคาที่เต็มใจจ่ายทุกครั้งที่ลดจำนวนคลื่นความถี่ลง โดยการประมูลแบบ Clock Auction จะสิ้นสุดลงเมื่อความต้องการจำนวนคลื่นความถี่เท่ากับจำนวนคลื่นความถี่ที่เสนอขาย ทั้งนี้ หากในรอบแรก ความต้องการจำนวนคลื่นความถี่มีน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนคลื่นความถี่ที่เสนอขาย การประมูลจะจบในรอบแรก
สำนักงาน กสทช. พร้อมเต็มที่ สำหรับการประมูล 5G ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 16 ก.พ. นี้ เราได้ให้ความรู้และทำความเข้าใจกับผู้เข้าร่วมการประมูล เกี่ยวกับกฎการประมูล ซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการประมูล เปิดให้มี Mock Auction เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการใช้ซอฟท์แวร์การประมูล จัดเตรียมสถานที่ประมูล อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงแพทย์ พยาบาลกรณีเหตุฉุกเฉินไว้พร้อม นายฐากร กล่าว
***********************
 

สร้างโดย  - ปฐมพงศ์  ศรีแสงจันทร์ (14/2/2563 13:53:05)

Download

Page views: 188